สิทธิที่ต้องรู้ เมื่อผู้ประกันตนทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีใดบ้าง ?

สำนักงานประกันสังคม ตระหนักถึงการดูแลช่วยเหลือผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองชีวิตอย่างมีคุณภาพ เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ชีวิตการทำงานของผู้ประกันตน โดยหากเกิดเหตุไม่คาดฝันในชีวิต ทำให้ผู้ประกันตนต้องสูญเสียสมรรถภาพทั้งร่างกายและทางจิตใจจนต้องกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ สำนักงานประกันสังคมยังคงให้ความคุ้มครองดูแลผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า สำหรับผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนกลายเป็นผู้ทุพพลภาพ ทางสำนักงานประกันสังคมจะคุ้มครองดูแลและช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ โดยจะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ซึ่งจะได้รับประโยชน์เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้ กรณีทุพพลภาพรุนแรง ได้รับในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต และกรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯ กำหนด นอกจากนี้ยังได้รับค่าบริการทางการแพทย์ ดังนี้ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ ประเภทผู้ป่วยนอก จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ถ้าเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรค (DRGs) ส่วนกรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของเอกชน ประเภทผู้ป่วยนอก จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ถ้าเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท อีกทั้งยังได้รับค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท และได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ รวมถึงผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานของสำนักงานประกันสังคม โดยที่สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพให้ตามหลักเกณฑ์ประกาศฯ กำหนด

ทั้งนี้ หากเกิดกรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท รวมทั้งเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตายผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ดังนี้ สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยสองเดือน ส่วนผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยหกเดือน

สำหรับการยื่นคำขอฯ เพื่ออนุมัติให้เป็นทุพพลภาพ ผู้ประกันตนจะต้องใช้หลักฐานเพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน ประกอบด้วย แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ สำเนาเวชระเบียน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ถ้าเป็นกรณีขอรับเงินทางธนาคาร ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถดำเนินการยื่นคำขอได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 บริการ 24 ชั่วโมง ทาง Line@ssothai หรือเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขาธิการ สปส. มารศรี ลงพื้นที่ จ.ชลบุรี ตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ ในโครงการ สปส. มอบสุข

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ในโครงการ

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน

ประกันสังคมเผย เปิดรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 วันแรก 1 พ.ย. 2567 ผู้ประกันตนให้ความสนใจเกือบเต็มโควตา ยื่นขอรับสิทธิกว่า 9,000 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 นี้ จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงร้อยละ 1.59 ต่อปี

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ

สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน

วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน