24 เมษายน 2567: GIT จัดการแถลงข่าวโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory” เฟ้นหาศักยภาพของนักออกแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์โดดเด่นเหนือจินตนาการ พร้อมยกทีมผู้เชี่ยวชาญร่วมตีโจทย์ยกระดับต่อยอดการออกแบบสู่สากล ณ โรงแรม เลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ กรุงเทพฯ
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT กล่าวว่า
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ สินค้าส่งออกในอันดับที่ 2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.59 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย โดยมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 ขยายตัวตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 1,927.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 3,031.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,822.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 14.78 ซึ่งเห็นได้ว่าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเผชิญอยู่กับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้น
สถาบันมีภารกิจในการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ เข้าสู่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนารูปแบบเครื่องประดับขึ้นในวงการอัญมณีและเครื่องประดับอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้นักออกแบบรุ่นใหม่และผู้สนใจในการออกแบบเครื่องประดับได้มีโอกาสนำเสนอผลงานตลอดจนให้มีการนำผลงานออกแบบไปผลิตชิ้นงานจริง และสร้างความตื่นตัวในเรื่องการออกแบบ สำหรับโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 ได้กำหนดหัวข้อการประกวดภายใต้หัวข้อ “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory” การออกแบบที่ต้องผสมผสานอัญมณีธรรมชาติ 3 สี ได้แก่ ทับทิม ไพลิน และบุษราคัม ผสมผสานองค์ประกอบของศิลปะ หลอมรวม ความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ สู่การออกแบบเป็นคอลเลกชั่น High Jewelry ที่เต็มไปด้วยจินตนาการและนวัตกรรมเป็นเครื่องประดับที่มีความสวยงามและน่าหลงใหลอย่างแท้จริง
ซึ่งการประกวดครั้งนี้ เปิดโอกาสให้กลุ่มนักออกแบบมืออาชีพและรุ่นใหม่ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจทั่วโลกได้มีเวทีในการแสดงศักยภาพแห่งความคิดสร้างสรรค์ นำไปสู่ทิศทางด้านการออกแบบฉายภาพแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (Jewelry Design Trend) โดยนักออกแบบจะต้องส่งแบบวาดไม่จำกัดเทคนิค หรือภาพเขียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีแนวคิดการออกแบบสอดคล้องกับหัวข้อการประกวด จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ชิ้นใน 1 ชุด (คอลเลคชั่น) โดยในชุดนั้นจะต้องมีสร้อยคอเป็นเครื่องประดับหลักและเครื่องประดับอื่นๆ เช่น ต่างหู แหวน กำไล เป็นต้น
ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 เหรียญสหรัฐ โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 3,000 เหรียญสหรัฐ รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัลมูลค่า 2,000 เหรียญสหรัฐ รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 1,000 เหรียญสหรัฐ รางวัลชมเชย เงินรางวัล 500 เหรียญสหรัฐ และรางวัล GIT Popular Design เงินรางวัล 500 พร้อมโล่เกียรติยศ โดยสถาบันจะประกาศผลการตัดสินรอบแรกจากแบบวาดในวันที่ 11 มิถุนายน นี้ โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ และผู้ที่คร่ำหวอดในวงการเครื่องประดับจากทั่วโลก
และพิเศษสำหรับปีนี้ GIT ได้วางแผนในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้กับผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด โดยนักออกแบบสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Community Platform : GIT Jewelry Design Gallery ซึ่งเป็นช่องทางในการเชื่อมโยงระหว่างนักออกแบบและผู้ประกอบการในการพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องประดับให้ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับนักออกแบบ และ 4 ผลงานที่ได้รับคัดเลือกเป็นคะแนนสูงสุด จะได้ผลิตเป็นเครื่องประดับจริงเพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป
สำหรับผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด สามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2567 ผ่านทางเว็บไซต์ www.gitwjda.com หรือส่งผลงานพร้อมใบสมัครทางไปรษณีย์ หรือส่งผลงานด้วยตัวเองที่ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เลขที่ 140 อาคารไอทีเอฟ – ทาวเวอร์ ชั้น 3 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการ โทร. +66 2 634 4999 ต่อ 301-306 และ 311-313 หรือ LineOA: @gittrainingcenter และดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่ www.gitwjda.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
GIT ร่วมกับภาครัฐและเอกชน "ปลุกยักษ์" จัดเทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” ฟื้นเศรษฐกิจถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับ บางรัก สัมพันธวงศ์ พระนคร
เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วกับ “เทศกาล BANGKOK JEWELRY WEEK 2024 by GIT” งานพัฒนาต่อยอดเครื่องประดับเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเก่าแก่เชิงสร้างสรรค์บนถนนสายอัญมณีและเครื่องประดับในกรุงเทพมหานคร
GIT ดันผู้ประกอบการหน้าใหม่ขยายตลาดโกอินเตอร์ ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 70
12 กันยายน 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GITดันผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขยายตลาดออกร้านในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์
DITP และ GIT เตรียมจัด “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 70 สุดอลังการ ตอกย้ำจุดเด่นไทยในฐานะศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับโลก
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT พร้อมคณะอำนวยการจัดงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ก.ค. หดตัว
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ก.ค.66 มูลค่า 585.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 0.38% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 806.76 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 24.26% รวม 7 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 7.76% รวมทองคำ ลด 16.47% แนะผู้ส่งออกปรับรูปแบบการขาย รับตลาดชะลอตัว เน้นทำสินค้าไม่เจาะจงเพศ ใช้งานได้หลากหลาย เสนอขายสินค้าบนมือถือ จับตาเศรษฐกิจโลก น้ำมันขึ้น ฉุดกำลังซื้อ
GIT จับมือ NGTC สร้างมาตรฐานระดับชาติ พร้อมยกระดับ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบไทยขึ้น ทะเบียนห้องปฏิบัติการ GIT Standard
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดพิธีลงนามความร่วมมือ The National Gems and Jewelry Testing Co. Ltd. (National Gemstone Testing Center) (NGTC),