ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ก.ค. หดตัว

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ก.ค.66 มูลค่า 585.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 0.38% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 806.76 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 24.26% รวม 7 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 7.76% รวมทองคำ ลด 16.47% แนะผู้ส่งออกปรับรูปแบบการขาย รับตลาดชะลอตัว เน้นทำสินค้าไม่เจาะจงเพศ ใช้งานได้หลากหลาย เสนอขายสินค้าบนมือถือ จับตาเศรษฐกิจโลก น้ำมันขึ้น ฉุดกำลังซื้อ

12 ก.ย. 2566 – นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนก.ค.2566 มีมูลค่า 585.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.38% ซึ่งถือว่าทรงตัว เมื่อเทียบกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าที่หลายประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว หากรวมทองคำ มีมูลค่า 806.76 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 24.26% และรวม 7 เดือน ของปี 2566 (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออก ไม่รวมทองคำ มีมูลค่า 4,784.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 7.76% และรวมทองคำ มูลค่า 8,168.41 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 16.47%

สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ พบว่า มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยฮ่องกง เพิ่ม 163.58% ญี่ปุ่น เพิ่ม 8.59% อิตาลี เพิ่ม 42.11% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 23.14% สิงคโปร์ เพิ่ม 67.62% ส่วนสหรัฐฯ ลด 11.06% เยอรมนี ลด 48.49% สหราชอาณาจักร ลด 11.88% สวิตเซอร์แลนด์ ลด 7.75% อินเดีย ลด 61.72%

ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยเครื่องประดับทอง เพิ่ม 31.18% เครื่องประดับแพลทินัม เพิ่ม 23.74% พลอยก้อน เพิ่ม 37.05% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 94.12% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่ม 147.06% เพชรก้อน เพิ่ม 10.85% ส่วนเพชรเจียระไน ลด 30.89% เครื่องประดับเงิน ลด 16.60% เครื่องประดับเทียม ลด 12.53% เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า ลด 19.30% และทองคำ ลด 36.63%

นายสุเมธกล่าวว่า แม้สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 7 เดือน จะยังขยายตัวได้จากปัจจัยบวกหลายประการ ทั้งจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดที่สำคัญ โดยเฉพาะภาคบริการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่แรงหนุนเริ่มมีการแผ่วตัวลงจากตลาดสำคัญหลายแห่งที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่พฤติกรรมการบริโภคสินค้าในปัจจุบัน ผู้ขายต้องลดอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อให้มีความลื่นไหล และรองรับการปรับเปลี่ยนตามกระแสได้อย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการควรตอบรับด้วยการสร้างรูปแบบสินค้าให้ปราศจากข้อจำกัดมากขึ้น อย่างเช่นสินค้าที่มีคอนเซ็ปต์ไม่จำกัดเพศ สามารถสวมใส่ได้ไม่ว่าจะเป็นเพศใด เพื่อตอบสนองกระแสการเปิดรับความมีเอกลักษณ์สร้างตัวตนในทุกรูปแบบ หรือเครื่องประดับที่มีการใช้งานได้หลากหลาย รวมไปถึงการออกแบบช่องทางการนำเสนอสินค้าบนสื่อออนไลน์ให้เหมาะกับทุกอุปกรณ์ โดยเฉพาะการแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้มากที่สุด เพราะสินค้าที่เข้าใจและเข้าถึงผู้บริโภค จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด

ทั้งนี้ สิ่งที่จะต้องจับตาต่อไป เพราะมีผลต่อกำลังซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ คือ ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวลงชัดเจน สะท้อนให้เห็นภาวะชะลอตัวจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ยังรุมเร้าหลายประเทศทั่วโลก ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของสถาบันการเงินทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป หรือปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ในจีน รวมถึงการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและกำลังซื้อของประชาชนในประเทศต่าง ๆ  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“Enchanted Hues – Unlocking the Secret of Primary Colors Theory”

24 เมษายน 2567: GIT จัดการแถลงข่าวโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory”

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ต.ค.66 มูลค่า 748.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 8.73% ฟื้นตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน หากรวมทองคำมีมูลค่า 1,576.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 30.69% เหตุส่งออกทองคำไปเก็งกำไร ยอด 10 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 9.05% รวมทองคำ ลด 6.76% คาดแนวโน้มส่งออกยังดีต่อเนื่อง หลังเข้าสู่เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ เผยผู้ผลิตไทยสุดเจ๋ง ทำสินค้าตอบโจทย์สายมูเตลู ดันออเดอร์พุ่ง

GIT จับมือ NGTC สร้างมาตรฐานระดับชาติ พร้อมยกระดับ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบไทยขึ้น ทะเบียนห้องปฏิบัติการ GIT Standard

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดพิธีลงนามความร่วมมือ The National Gems and Jewelry Testing Co. Ltd. (National Gemstone Testing Center) (NGTC),

GIT จับมือ World Gold Council และสมาคมผู้ค้าทองคำ จัดงาน THAILAND GOLD FORUM อย่างยิ่งใหญ่ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 68

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ร่วมกับ World Gold Council และสมาคมผู้ค้าทองคำ จัดงานประชุม THAILAND GOLD FORUM ครั้งแรกในประเทศไทยอย่างยิ่งใหญ่ ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 68

DITP จับมือ GIT ประกาศจัดงานใหญ่ที่สุดในไทยและเก่าแก่ที่สุดในเอเชีย “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 68 พร้อมเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ครบรอบ 40 ปี

8 สิงหาคม 2566 – นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และ นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT)