GIT จับมือ NGTC สร้างมาตรฐานระดับชาติ พร้อมยกระดับ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบไทยขึ้น ทะเบียนห้องปฏิบัติการ GIT Standard

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดพิธีลงนามความร่วมมือ The National Gems and Jewelry Testing Co. Ltd. (National Gemstone Testing Center) (NGTC), Beijing, China เพื่อร่วมสร้างมาตรฐานการตรวจสอบระดับสากล พร้อมยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับผ่าน GIT Standard ณ ห้อง 211A – 211C ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT เปิดเผยว่า The National Gems and Jewelry Testing Co. Ltd. (National Gemstone Testing Center) (NGTC), Beijing, China ถือได้ว่าเป็นห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับชั้นแนวหน้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในการตรวจสอบหยก เพื่อร่วมสร้างมาตรฐานการตรวจสอบร่วมกันระหว่างประเทศไทย และ จีน สถาบันจึงได้จับมือกับ NGTC เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการตรวจสอบอัญมณีระหว่างกัน โดยได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 68

นอกจากยังได้จัดพิธีการลงนามความร่วมมือและพิธีมอบใบรับรองการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ GIT Standard ในปี 2566 ให้กับห้องปฏิบัติการตรวจสอบจำนวน 5 แห่ง ได้แก่

  1. ศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  2. สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  3. ห้องปฎิบัติการ TGL Thailand Gemological Laboratory
  4. ห้องปฎิบัติการ MGL – Mining Gems and Jewelry Laboratory
  5. ห้องปฎิบัติการ บริษัท บางกอกแอสเสย์ออฟฟิศ จำกัด

เพื่อสร้างมาตรฐานการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยให้มีมาตรฐานเดียวกัน และเป็นสากล สถาบันจึงได้จัดทำระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการด้านอัญมณีและเครื่องประดับ หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า  GIT STANDARD ขึ้นโดยครอบคลุมด้านมาตรฐานห้องปฏิบัติการ และด้านระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งบูรณาการมาจากห้องปฏิบัติการอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติมาเป็นแหล่งอ้างอิงทางเทคนิค และวิชาการ เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ และเปิดโอกาสให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับขนาดเล็กสามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับให้มีมาตรฐานด้านการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบเป็นมาตรฐานเดียวกัน สร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในฐานะการเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“Enchanted Hues – Unlocking the Secret of Primary Colors Theory”

24 เมษายน 2567: GIT จัดการแถลงข่าวโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 18 “Enchanted Hues – Unlocking the Secrets of Primary Colors Theory”

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือน ก.ค. หดตัว

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ก.ค.66 มูลค่า 585.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 0.38% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 806.76 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 24.26% รวม 7 เดือน ไม่รวมทองคำ เพิ่ม 7.76% รวมทองคำ ลด 16.47% แนะผู้ส่งออกปรับรูปแบบการขาย รับตลาดชะลอตัว เน้นทำสินค้าไม่เจาะจงเพศ ใช้งานได้หลากหลาย เสนอขายสินค้าบนมือถือ จับตาเศรษฐกิจโลก น้ำมันขึ้น ฉุดกำลังซื้อ

GIT จับมือ World Gold Council และสมาคมผู้ค้าทองคำ จัดงาน THAILAND GOLD FORUM อย่างยิ่งใหญ่ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 68

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ร่วมกับ World Gold Council และสมาคมผู้ค้าทองคำ จัดงานประชุม THAILAND GOLD FORUM ครั้งแรกในประเทศไทยอย่างยิ่งใหญ่ ในงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 68

DITP จับมือ GIT ประกาศจัดงานใหญ่ที่สุดในไทยและเก่าแก่ที่สุดในเอเชีย “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 68 พร้อมเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ครบรอบ 40 ปี

8 สิงหาคม 2566 – นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และ นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT)