วธ.ชวนชม ‘ทัดมาลา’ มิวสิคัล ตื่นตาการแสดงมวยไทยผสานวรรณกรรมอมตะโรมิโอ-จูเลียต

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับมูลนิธิธรรมไทย เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการจัดการแสดงละครเพลง “ทัดมาลา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความพิเศษของการแสดงละครเพลงในครั้งนี้เป็นการผสมผสานศิลปะการต่อสู้มวยไทย มรดกภูมิปัญญาของชาติ อันเป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจของประเทศไทย บวกกับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรมรักอมตะระดับโลกอย่างโรมิโอและจูเลียต (Romeo and Juliet) ของวิลเลียม เชกสเปีย ผสานเข้ากับ โดยการสร้างสรรค์บทประพันธ์คำร้อง ประพันธ์และเรียบเรียงบทเพลง เพื่อจัดแสดงในรูปแบบละครเพลง The Musical ซึ่งเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ทั้งนี้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และตื่นตัวกับมวยไทยผ่านสื่อการแสดงที่เข้าถึงง่ายและน่าสนใจ

รมว.วธ. กล่าวว่า ละครเพลง "ทัดมาลา" นำดนตรีร่วมสมัยมาผสมผสานกับดนตรีไทยในการแสดง ถือเป็นการสร้างความหลากหลายและน่าตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชม โครงการนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม Soft power ของประเทศไทยสู่สายตาชาวโลก และสร้างความภาคภูมิใจใหกับคนไทยทุกคน นำแสดงโดย พีค ภีมพล พาณิชย์ธำรง เอมิเลีย เลียน  ซาน อัศรัญ มะ  มาริลิน เคท การ์ดเนอร์  คอนเซปต์การแสดงโดย ภัสสร์ภวิศา จิวพัฒนกุล  ดนตรีโดย จารุณี หงส์จารุ บทละครโดย เกียรติภูมิ นันทานุกูล, เสฎฐวุฒิ อินบุญ คำร้องโดย ดนัย เมตไตรย์ เรียบเรียงบทโดย คานธี วสุวิชย์กิต, สิรดนัย เหลืองอรุณ  กำกับการแสดงโดย ประดิษฐ์ ประสาททอง  กำกับลีลาโดย นภัส รอดบุญ กำกับการต่อสู้โดย อรรถพ สุวรรณ ออกแบบฉากโดย  มนต์สุนทร สุราช  ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย บรรดิษฐ์ วรานุยุตร ออกแบบแสงโดย สุพัตรา เครือครองสุข  อำนวยการแสดงโดย อรุณวดี ลีวะนันทเวช  อำนวยการบริหารโดย วิวรรณ กรรณสูต 

สำหรัละครเพลง“ทัดมาลา” เสนอเรื่องราวเมื่อความรักที่งดงามของวัยหนุ่มสาวต้องถูกทดสอบโดยความชัง ความแค้น และกติการะหว่างครอบครัวที่ตนไม่ได้ร่วมสร้างขึ้น การฝ่าฟันอุปสรรคครั้งนี้จะเป็นอย่างไร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งของละครเพลง ทัดมาลา เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลนี้ กำหนดจัดการแสดงให้ ชมฟรี ระหว่างวันเสาร์ที่ 3 – อาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 รอบเวลา 14.00 และ 19.30 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำรองที่นั่งได้ทาง www.ticketmelon.com ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจกรมส่งเสริมวัฒนธรรม หรือ www.culture.go.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

พิกัด 11 วัด งานอารามอร่ามประดับไฟรับปีใหม่

เพื่อส่งมอบความสุขปลายปีและเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดกิจกรรม “อารามอร่าม 11 วัด 1  โบสถ์พราหมณ์1 พิพิธภัณฑ์ ประดับไฟฉลองต้อนรับเทศกาลปีใหม่ 2568 “ ถือเป็นอีกหมุดหมายที่ห้ามพลาดและไม่ได้จัดเป็นประจำ เพราะ

บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ

10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม

สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง

นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558  ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10  ธันวาคม 2567

ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม

โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List