การพัฒนานำพลังงานความเย็นที่ได้จากกระบวนการเปลี่ยนสถานะของก๊าซธรรมชาติเหลว ที่ถูกแปรสภาพโดยการลดอุณหภูมิเหลือ -160°C โดยความเย็นที่ได้จากกระบวนการแปรสภาพของก๊าซธรรมชาติเหลวมาใช้ในระบบการผลิตไม้ดอกและพืชเมืองหนาว เป็นการต่อยอดการเกษตรนวัตกรรมในพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง ยกระดับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โดยในปี 2562 ได้จัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการใช้พลังงานความเย็นทางการเกษตร ภายในสถานีแอลเอ็นจี มาบตาพุด แห่งที่ 1 ใน ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อ “ศูนย์เลิศพัฒนพฤกษ์” หมายถึง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและขยายพันธุ์พืช เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562
นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการ กปร. เปิดเผยว่าการลงนามความร่วมมือแล้ว 2 ครั้ง และล่าสุดเป็นฉบับที่ 3 ระหว่างสำนักงาน กปร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ในการพัฒนาต้นแบบการผลิตพืชที่มีศักยภาพสูงในรูปแบบ Smart Farming เช่น ทิวลิปที่ปลูกได้ในประเทศไทย และที่แรกในอาเซียน และในอนาคตจะขยายผลสู่เกษตรกร เพื่อพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป
ด้านศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยว่า การดำเนินโครงการเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ และคณะเกษตรศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยพืชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในพัฒนาการปลูกพืชเมืองหนาวหลายชนิดและกำลังขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่
ส่วนนายรัตติกูล ปิยะวงค์วาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด กล่าวว่า ตลอดมาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายด้วยดี ในครั้งนี้มีเป้าหมายจะผลิตดอกทิวลิปให้มากถึง 6 ล้านดอกต่อปี พร้อมการขยายการตลาดในประเทศให้มากขึ้น
สำหรับในระยะที่ 3 ปี 2567-2570 เป็นการต่อยอดการใช้ประโยชน์ของความเย็นเหลือทิ้งมาใช้ในกระบวนการผลิตพืชเมืองหนาว และเป็นการสืบสานตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รักษาความสมดุลของน้ำใต้ดิน ด้วยระบบกักเก็บน้ำในถ้ำ เพิ่มน้ำต้นทุนพื้นที่ต้นน้ำ
“นับเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ที่ทำให้พื้นที่สูงในพื้นที่ภาคเหนือมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ทั้งน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน มีหนึ่งเดียวในประเทศไทย ทำให้ทุกคนมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีอย่างเพียงพอทั้งอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร สร้างความชุ่มชื้นและความสมบูรณ์ให้พื้นที่เพาะปลูกได้เป็นอย่างดี” นางสาวนภัสสร เมืองเมา หนึ่งในเกษตรกรผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ
บ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยดำ จ.เชียงใหม่ อารยธรรมต่างชนเผ่า ทำกินอยู่อาศัยในถิ่นเดียวกัน
โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ดอยดำ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ โครงการฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี เกษตร GAP และนวัตกรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( สำนักงาน กปร.) เป็นประธานในพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติพร้อมประกาศนียบัตร ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ 2567