ประชุมหารือแนวทางสร้างความร่วมมือ พอช. และ มช.
เชียงใหม่ 0 22 มีนาคม 2568 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดประชุมหารือแนวทางสร้างความร่วมมือกันในขับเคลื่อน การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและพื้นที่ริมคลองแม่ข่า เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
การประชุมเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในครั้งนี้ นำโดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. และ รศ.ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากทั้งสองหน่วยงานเข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากทั้งสองหน่วยงาน
ทั้งสองหน่วยงานเห็นชอบร่วมกันที่จะดำเนินการโครงการศูนย์เด็กเล็กเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของประชากรตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต โดยจะขยายผลจากศูนย์เด็กเล็ก 60 แห่งที่พอช. ได้ดำเนินการมาแล้ว ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดเชียงใหม่
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า โครงการศูนย์เด็กเล็กได้นำร่องมาแล้ว และเห็นผลพอสมควร จาก 60 ศูนย์ ดังนั้นการขยายผลไปยังจังหวัดเชียงใหม่จะเกิดประโยชน์กับคุณภาพของเด็กเป็นอย่างมากโดยจะมีการบรรจุหลักสูตรพัฒนาเด็กเล็กให้เข้มข้นมากขึ้นกับคณะครุศาสตร์ เอกปฐมวัย ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาที่จบหลักสูตรสามารถปฏิบัติงานจริงที่ศูนย์เด็กเล็กได้ ในส่วนของงบประมาณนั้น จะประสานความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มาช่วยสนับสนุน
นายกฤษดา สมประสงค์
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวเพิ่มเติมว่า พอช. สนับสนุนพื้นที่ปฏิบัติการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาคเหนือรวม 17 ศูนย์ สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการ 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทัพไร่ เทศบาลตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม (ศูนย์ต้นแบบ) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอยเต่า ตำบลดอยเต่า อำเภอดอยเต่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่แอบ ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม โครงการนี้มุ่งหวังพัฒนาศักยภาพผู้นำฟันน้ำนมให้มีขีดความสามารถเป็นพลังพลเมืองที่ดีในอนาคต
ศูนย์เด็กนำร่อง โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนแบบไฮสโคป
นอกจากศูนย์เด็กเล็ก ทั้งสองหน่วยงานยังหารือการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่คลองแม่ข่า ซึ่งมีความยาวกว่า 5 กิโลเมตร โดยมีเป้าหมายให้เป็นพื้นที่การพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีในชุมชนริมคลองแม่ข่าและลำน้ำสาขาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนพื้นที่คลองแม่ข่า
โครงการนี้จะให้คนในชุมชน 20 ชุมชน 1,822 ครัวเรือน มีส่วนร่วมในการออกแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัย สร้างระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมใหม่ของชุมชน รวมถึงวางแผนด้านอาชีพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต โดยคงความเป็นอัตลักษณ์ของคนแม่ข่าไว้
รศ.ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต
การร่วมมือระหว่างพอช. และ มช. ในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น แต่ยังเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งในการดำเนินงานครั้งนี้มุ่งมั่นที่จะสร้างชุมชนเข้มแข็ง เริ่มต้นที่ศูนย์เด็กเล็กและคลองแม่ข่า เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่
ติดตามความคืบหน้าโครงการได้ที่: https://web.codi.or.th/
ที่ประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการขับเคลื่อนงานฯร่วมกัน
***************
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“เร่งฟื้นฟูชุมชนโรงธูป! ราชบุรี พอช. ผนึกภาคีท้องถิ่นช่วยผู้ประสบภัยไฟไหม้ วางแผนฟื้นฟูที่อยู่อาศัยทั้งระยะสั้น-ระยะยาว”
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. ผนึกกำลังภาคีท้องถิ่น-ชุมชน ร่วมวางแนวทางแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือน 17
เร่งแก้ปัญหาที่ดินรถไฟ! ลงพื้นที่ 5 ชุมชนสุไหงโก-ลก หาทางออกผู้อยู่อาศัยกว่า 700 ครัวเรือน
เดินหน้าพัฒนาชุมชนริมราง สุไหงโก-ลก เตรียมถกร่วมวางแผนแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย 5 ชุมชนเดือดร้อน
ผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ต้องมีวุฒิฯ! เปิดหลักสูตรปริญญาโทเทียบโอนประสบการณ์จริง
พอช. x NIDA จับมือสร้างความเปลี่ยนแปลง "ผู้นำชุมชนพันธุ์ใหม่ ต้องมีวุฒิฯ! "เปลี่ยนโฉมพัฒนาชุมชนด้วยวิชาการ! หลักสูตรปริญญาโทสำหรับผู้นำชุมชนโดยเฉพาะ วิจัยแก้จนจากข้อมูลจริงในพื้นที่อีสาน เตรียมขยายผลสู่นวัตกรรมพัฒนาทั่วประเทศ!"
พลังหญิงไทย ขับเคลื่อนอนาคต สร้างชุมชนเข้มแข็ง
วันที่ 4 เมษายน 2568 เครือข่ายผู้หญิงไทย 77 จังหวัด ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. จัดเวที สัมมนาเครือข่ายผู้หญิงไทย 77 จังหวัด
"เปลี่ยนขยะเป็นทอง" กองทุนสวัสดิการภาษีเจริญ 1 ใน 8 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (4)
เมื่อพูดถึง “ขยะ” หลายคนอาจเห็นเป็นเพียงปัญหาที่ก่อให้เกิดมลภาวะและความเดือดร้อน แต่สำหรับ “กองทุนสวัสดิการชุมชน เขตภาษีเจริญ”
"ข้าวเม่าเงินล้าน" ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่ตลาดโลก
ในยุคที่อาหารสมัยใหม่เข้ามามีบทบาท แต่ที่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ กลับมีชุมชนที่พลิกโฉม "ข้าวเม่า" อาหารพื้นบ้านธรรมดา ให้กลายเป็น