จับชีพจรอนาคตวิถีคนคลองฝั่งธนฯ

ภาพจำของฝั่งธนบุรีในสายตาของใครหลายคนจะคุ้นเคยกับพระปรางค์วัดอรุณที่โดดเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา หรือพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ ไปจนถึงกุ้ยช่ายตลาดพลู แป้งบาง ไส้เยอะ อร่อยจนต้องยืนรอต่อคิว ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเมืองเก่าและมากด้วยเรื่องราวในพื้นที่ประวัติศาสตร์

แต่อีกแง่มุมที่หลายคนไม่รู้จัก ฝั่งธนบุรีมีพื้นที่สีเขียวมากมายที่เป็นเรือกสวนไร่นา จนถึงพื้นที่รกร้างเขียวครึ้ม หลงเหลือรอดพ้นจากการเปลี่ยนไปเป็นบ้านจัดสรรและคอนโดนิเนียมรองรับการขยายตัวของเมืองกรุงเทพฯ    รวมถึงชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีที่ยังผูกพันกับกับการอยู่อาศัย มีอาชีพ และความเป็นอยู่ตามวิถีชาวคลองแบบดั้งเดิม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฝั่งธนบุรีเหมือนเหรียญสองด้านเป็นทั้งโอกาสและปัญหาสำหรับพื้นที่ ทำให้เกิดโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีด้วยเครือข่ายคลังสมองของพื้นที่และแผนผังภูมินิเวศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน (Green Thonburi) ซึ่งเป็นความร่วมมือของนักวิจัยจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สถาบันคลังสมองของชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) สถาบันอาศรมศิลป์ และมหาวิทยาลัยสยาม  เป้าหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้พื้นที่คลอง พื้นที่สีเขียว และวิถีชีวิตชาวฝั่งธนฯ ไม่เลือนหายไป

โครงการนี้นำร่องพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ 4 แห่ง ได้แก่ ชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ ชุมชนตลาดพลู เขตธนบุรี ชุมชนคลองบางประทุน เขตจอมทอง และชุมชนคลองบางมด เขตทุ่งครุ-บางขุนเทียน ส่วนระดับกลุ่มชุมชนโฟกัสพื้นที่ชุมชนและคลองเชื่อมต่อระหว่าง 4 เขตดังกล่าว

จากการรวบรวมองค์ความรู้และข้อมูลของทีมผู้วิจัย ฝั่งธนฯ ในปัจจุบันยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของกรุงเทพฯ มีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 4,000 ไร่  และมีสวนเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานหลายแห่ง  โดยเฉพาะในพื้นที่เขตทวีวัฒนา  ตลิ่งชัน หนองแขม ทุ่งครุ รวมถึงบ่อปลา-นากุ้งเขตบางขุนเทียน           หลายชุมชนริมคลองฝั่งธนฯ ยังรักษาวิถีวัฒนธรรมเกษตรสายคลอง รวมถึงการเป็นย่านพาณิชยกรรมดั้งเดิม และย่านพหุวัฒนธรรมจีน ไทย มอญ มุสลิม

ขณะเดียวกันช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ตามแนวรถไฟฟ้า ทำให้พื้นที่เกษตรลดลง หลายคูคลองถูกกลบทับหรือเป็นที่ระบายน้ำเสีย  ชุมชมจำเป็นต้องเปลี่ยนอาชีพตัดขาดจากพื้นที่

เบญจมาส โชติทอง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการและแผนงาน สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า ฝั่งธนฯ ในปัจจุบันมีส่วนผสมที่ชัดเจนทั้งพื้นที่กึ่งชนบท พื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่เกษตร และที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรลดน้อยลงและเหลือกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ คนในชุมชนริมคลองฝั่งธนฯ ส่วนผู้อยู่อาศัยใหม่หรือชุมชนคอนโดฯ  หันหลังให้คลองพร้อมสร้างกำแพงกั้น ทำให้ชุมชนใหม่ละเลยและไม่เห็นความสวยงามของวิถีชาวคลอง เมื่อไม่ได้ประโยชน์ รับรู้คุณค่า ความตระหนักดูแลรักษาคูคลองก็น้อยลง แต่อีกด้านหนึ่งผู้อาศัยใหม่มีศักยภาพเป็นตลาดสำคัญสำหรับชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคคนเมืองรุ่นใหม่ ขณะที่หลายชุมชนริมคลองรักษาอัตลักษณ์สังคมวัฒนธรรมไว้ นี่เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในการพัฒนา

 “ พื้นที่เกษตรในชุมชนริมคลองฝั่งธนฯ ไม่เพียงเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยใกล้เมือง แต่มีศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตร  สวนเกษตรและสายคลองเป็นพื้นที่สีเขียวช่วยปรับอุณหภูมิให้เมืองเย็นลง เป็นพื้นที่สีเขียวที่ใช้ได้จริงต่างจากสวนสาธารณะ จากการทำงานยังพบริมคลองตามธรรมชาติที่เต็มไปด้วยพืชพรรณและสัตว์น้ำ ไม่ใช่โครงสร้างแข็งที่พบทั่วไปริมคลองในกรุงเทพฯ “ เบญจมาศให้ภาพในพื้นที่

4 ชุมชนเป้าหมาย ผู้อำนวยการคนเดิมบอกว่ามีบทบาทเป็นพื้นที่เกษตรใกล้เมือง มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม และที่สำคัญมีผู้นำท้องถิ่น และชาวบ้านมีความรู้ในพื้นที่ของตัวเองอย่างดี  มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวทั้งสินค้าเกษตรและบริการท่องเที่ยว  ทำให้เกิดรายได้พึ่งพาตนเอง ซึ่งบางชุมชนลุกขึ้นมาทำท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรแล้ว พื้นที่ทั้ง 4 เชื่อมโยงกันทางสายคลอง และระบบขนส่งมวลชน เป็นโอกาสการพัฒนาระดับกลุ่มชุมชนเครือข่ายคลองฝั่งธนฯ หนุนให้เกิดกลุ่มเศรษฐกิจ โดยนักวิจัยจากทั้ง 5 สถาบันเข้ามาเติมเต็ม ให้ชุมชนเป็นฐาน ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้สำคัญมากที่ชุมชนจะพัฒนาในรูปแบบที่ดูดซับประโยชน์จากการพัฒนาหรือเป็นผู้ได้รับผลกระทบเหมือนที่ผ่านมา

แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว  4 พื้นที่นำร่อง ชุมชนตลาดพลู เขตธนบุรี เป็นชุมชนพาณิชยกรรม มีของดี เช่น กุ้ยช่าย ก๋วยเตี๋ยว ขนมไทยต่างๆ นอกจากอาหาร ยังเต็มไปด้วยมรดกวัฒนธรรม เช่น วัดอินมาราม หรือวัดพระเจ้ากรุงธนบุรี  วัดราชคฤห์ประวัติเกี่ยวข้องพระยาพิชัยดาบหัก  ศาลเจ้ากวนอู  วัดปากน้ำภาษีเจริญ  มีท่องเที่ยวโดยกลุ่มตลาดพลูดูดี จะพัฒนาท่องเที่ยวเชื่อมโยงต้นทุนวัฒนธรรมของชุมชน

ชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ  ส่งเสริมทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี ผลิตสินค้าปลอดภัยสู่ผู้บริโภค และพัฒนาพื้นที่ตลาดเชิงอนุรักษ์วิถีคนคลอง  เกิดการกระจายรายได้   ส่วนชุมชนคลองบางมด เขตทุ่งครุ-บางขุนเทียน  มีทั้งส้มบางมดและมะพร้าวน้ำหอมริมคลองบางมด วางแนวทางท่องเที่ยวชุมชนและเกษตรปลอดภัย หนุนการผลิตผลผลิตการเกษตรที่หลากหลาย หนุนท่องเที่ยวสีเขียวเชื่อมกิจกรรมที่มีอยู่ในพื้นที่โดยรอบ  

ชุมชนคลองบางประทุน เขตจอมทอง ในพื้นที่มีจุดขายผักสวนครัวและผลไม้ นอกจากผลิตส่งขายตลาด มีแนวทางแปรูปเป็นยาจากสมุนไพร และขนมจากผลไม้ สร้างมูลค่ามากขึ้น มีสร้างแบรนด์ชุมชน ทำโมเดลทางธุรกิจ   ผู้คนมีรายได้จะยังอยู่ในพื้นที่  

การนำเศรษฐกิจสีเขียวขับเคลื่อนคลอง  เบญจมาศ กล่าวในท้ายว่า เป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ชุมชนริมคลองฝั่งธนฯ พัฒนาบนต้นทุนทางวัฒนธรรมและสภาพธรรมชาติที่มี ชุมชนต้องตั้งรับและปรับตัวกับสังคมยุคใหม่ ทั้งนี้ ปัจจัยความยั่งยืน  คือ การเสริมสร้างศักยภาพจากภายในชุมชน ในการพัฒนาผลผลิตและบริการที่สอดคล้องความต้องการของผู้บริโภค  หากชุมชนมีทางเลือกในการพัฒนา เชื่อว่าจะอยู่รอดและแก้ปัญหาอื่นๆ ในพื้นที่ได้ ขณะเดียวกันเสน่ห์ของคนริมคลองฝั่งธนฯ จะไม่สูญหายไป อยากให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน เพราะหากสูญเสียไปแล้ว ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้

อยากรู้จักฝั่งธนบุรีและชุมชนริมคูคลองฝั่งธน ชวนมาชมนิทรรศการ”คูคู่บ้าน คลองคู่เมือง”  จัดขึ้นโดยเครือข่าย Green Thonburi และชุมชนริมฝั่งคลอง ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ม.ค.2565 ที่โถงชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายในนิทรรศการเล่าถึงศักยภาพย่านคลองฝั่งธนบุรี  ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม  และการสัญจรทางล้อ ราง เรือ  จนเป็นพื้นที่คุณภาพขับเคลื่อนเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ทุกเสาร์-อาทิตย์มีตลาดสินค้าชุมชน

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ปชป.’ ปราศรัยใหญ่ฝั่งธนฯ ‘จุรินทร์’ ชู ‘4ทำ 3ไม่’ มั่นใจแลนด์สไลด์ไม่มีอยู่จริง

ที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ กรุงเทพมหานคร(กทม.) เวลา 17.00 น. พรรคประชาธิปัตย์ จัดเวทีปราศรัยใหญ่มีแกนนำร่วมการปราศรัยเป็นจำนวนมาก

ปชป. เตรียมเปิดเวทีปราศรัยใหญ่ฝั่งธนบุรี 23 เม.ย. 'เดียร์' โวมีเซอร์ไพรส์แน่นอน

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมือง ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานนโยบาย กทม. และ นายชยิน พึ่งสาย ผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขตราษฎร์บูรณะ - ทุ่งครุ

‘เศรษฐา’ นำทีม ‘เพื่อไทย’ บุกฝั่งธนฯ เมินคำพูด ‘บิ๊กตู่’

“เศรษฐา” นำทีม “เพื่อไทย” บุก 3 ตลาดเช้าย่านฝั่งธนฯ เมิน “บิ๊กตู่” ขู่ แลนด์สไลด์ออกนอกเลนระวังเจ็บตัว มองฝ่ายบริหารแยกนิติบัญญัติดีกว่า

ปชป. ผนึกตระกูล 'ม่วงศิริ' ชิง ส.ส.ฝั่งธนฯ 'สุวัฒน์' แจงแล้วเหตุทิ้ง พปชร.

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งนายสากล นายสาทร นายสารัช และน.ส.วณิชชา ม่วงศิริ

'ชัชชาติ' เผยจุดแข็ง กทม. มีเขื่อนริมเจ้าพระยายาวตลอด มีปัญหาแค่จุดฟันหลอ ปชช.ไม่ร่วมมือ

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำริมเจ้าพระยา ที่มีน้ำหนุนเข้าท่วมบริเวณชุมชนใต้สะพานซังฮี้ ว่า เข้าใจว่าสะพานซังฮี้ มี 2 ฝั่ง ฝั่งธนคือฝั่งขนาบน้ำ ซึ่งเราปิดล้อมได้ค่อนข้างดี มีน้ำซึมก็ใช้วิธีการปั้มดูดออก และตรงวัดราชผาติการาม