ฝ่าขวากหนามสู่ผ้าร่วมสมัยชายแดนใต้

กว่า 6 ปีที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ร่วมพัฒนาสิ่งทอในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นบทพิสูจน์ความร่วมมือกับชุมชนในการก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ  ตั้งแต่เทคนิค ลวดลาย เทรนด์การออกแบบเครื่องแต่งกายผ้าไทย ตลาดสินค้าบนแพลตฟอร์มดิจิทัล  ซึ่งเป็นการปรับตัวของแวดวงสิ่งทอ มีชุมชนจำนวนมากที่ต้องเลิกอาชีพทอผ้า เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ทันตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป  ภารกิจส่งเสริมมรดกทางภูมิปัญญาประเภทสิ่งทอของ สศร. ภายใต้โครงการผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้นี้ ยึดหลัก”การผสานภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นเมืองกับศิลปะร่วมร่วมสมัยอย่างมีคุณค่าเผยแพร่สู่สากล “  ขณะนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ชมผลงานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากลายผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ผ่านโซเชียลมีเดีย

เกษร  กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการฯ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า มรดกทางภูมิปัญญาประเภทสิ่งทอเป็นหนึ่งในคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) และ 4 อำเภอของสงขลา (จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย) สศร. จัดทำโครงการ อบรมและพัฒนา ศิลปะลายผ้าร่วมสมัยให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผ้าพื้นเมืองในชุมชนต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน

ออกแบบต่อยอดผ้าบาติกให้สู่สากล 

จุดแข็งเชิญเหล่านักออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกายมืออาชีพ ผู้มีความสามารถโดดเด่นทั้งในระดับประเทศและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากล ได้แก่ ธีระ ฉันทสวัสดิ์  วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ธันย์ชนก ยาวิลาศ  หิรัญกฤษฏิ์ ภัทรบริบูรณ์กุล  เอก ทองประเสริฐ ปัญจพล กุลปภังกร ศรัณย์ เย็นปัญญา ศรันรัตน์ พรรจิรเจริญ ดาเนียล ซู ปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ และเอ็ดวิน อาว เป็นต้น มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ เทคนิคและประสบการณ์ให้แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากชุมชนต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อพลิกโฉมผ้าแดนใต้ 

“นอกจากความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยแล้ว ผู้เข้าอบรมยังสามารถนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์ไปต่อยอดในการพัฒนาลายผ้ารูปแบบใหม่ๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์จากลายผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแฟชั่นเครื่องแต่งกายทั้งภายในและภายนอกประเทศ    เสริมสร้างรายได้และความภาคภูมิใจจากการผสมผสานภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นเมืองเข้ากับแนวทางศิลปะร่วมสมัยได้อย่างเป็นรูปธรรม “ เกสรย้ำถึงผลจากการพัฒนา 

 

สวยเก๋! กระเป๋า-หมวกลายผ้าไทยร่วมสมัย

จากที่พัฒนาเกิดผลิตภัณฑ์เก๋ๆ ปั้นช่างทอที่มีหัวใจสร้างสรรค์เข้ากับเทรนด์คนยุคนี้  เพื่อเป็นแรงผลักดันและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการสิ่งทอร่วมสมัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของวงการ  สศร. นำข้อมูลและภาพผลงานการออกแบบผ้าไทยในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ ปี 2558 ,โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบลายผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้’(Contemporary Southern Batik by OCAC) ปี พ.ศ. 2562 และโครงการพัฒนาการออกแบบลายผ้าร่วมสมัยไทยชายแดนใต้สู่สากล ปี พ.ศ. 2563 โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการอบรมฯ ได้แก่ รายาบาติก บาติกเดอนารา ตันหยงปาตานี ศรียะลาบาติก อาดือนันบาติก เก๋บาติก อิบรอเฮงบาติก ซาโลมา ปาเต๊ะ บาติกบ้านบาโง อ่าวมะนาวบาติก อัลฮามีนบาติก มีดีที่นาทับ เป็นต้น นำมาเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามชมได้ทางเพจสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

 เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไฮไลต์ 3 วัน เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง 2024

เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง Phetchaburi Harmony Puppet Festival 2024 กลับมาอีกครั้ง ภายใต้การออกแบบเฟสติวัลที่เชื่อมโยง คำว่า “หนัง” ที่สื่อถึงตัวหนังที่แกะขึ้นเป็นภาพ ภาพบนตัวหนังที่เคลื่อนไหวใช้ชักเชิด ต่อมาวิวัฒนาการเป็นภาพยนตร์  มีการชมหนัง  ปีนี้

5 งานอาร์ตจัดเต็มที่หอศิลป์ร่วมสมัยฯ

ใครอยากเพลิดเพลินใจกับงานศิลปะที่คัดมาแล้วว่าสุดเจ๋ง!  ต้องแวะไปที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินอาร์ตสเปซที่ตอบโจทย์ทั้งสายอาร์ตและมือสมัครเล่นหัดดูงานศิลปะใจกลางเกาะรัตน์โกสินทร์ ซึ่งเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ ชวนมาเสพอาร์ตยาวๆ

กราฟิกอัตลักษณ์'น่าน' เพิ่มเสน่ห์เที่ยวเมืองรอง

จ.น่าน เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มอิทธิพลของลุ่มน้ำโขงและกลุ่มอิทธิพลล้านนา นครแห่งนี้สะสมบ่มเพาะปัญญาจากหลากทิศทางจนสามารถสร้างรูปแบบอัตลักษณ์อันเป็นฐานรากสำคัญนครน่านขึ้นมาได้ อัตลักษณ์น่านเติบโตโดยได้รับอิทธิพลสกุลช่าง

เปิดโลกศิลปะที่บ้านสวนสมพงษ์ Art Space

เข้าสู่ช่วงเดือนที่สามของ“Thailand Biennale Chiangrai 2023” ซึ่งประสบผลสำเร็จมีผู้คนสนใจเดินทางไปชมมหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติครั้งนี้อย่างคึกคัก ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญช่วยเปิดโลกศิลปะวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ชาวโลกได้รับรู้

'ศิลปะบนนาข้าว'ดังระดับโลก

1 ก.พ.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมตามกรอบนโยบายหลัก “วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ”พร้อมทั้งขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก โดยการสำรวจรวบรวมทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภา

ผลงานศิลปะ 80 ปี กมล ทัศนาญชลี

ครบ 80 ปี ศิลปินแห่งชาติ กมล ทัศนาญชลี จัดใหญ่จัดเต็มขนผลงานศิลปะสุดล้ำค่ามาจัดแสดงให้คนรักงานศิลปะชื่นชมผ่านนิทรรศการ “ผลงานศิลปะ 80  ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ” ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน งานแสดงเดี่ยวครั้งนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 11 ก.พ.2567