ประกวด'ผ้าไทยใส่สบาย'สลัดมายาคติเก่า เข้าถึงคนทุกวัย

ผลงานการดีไซน์ผ้าไทยจากผู้เข้าประกวดในปีที่แล้ว

ทั้งผ้าจก ผ้าแพรวา ผ้ามัดหมี่ ผ้าไหมเกาะหรือล้วง ผ้ายก ผ้าซิ่นตีนจก ผ้าบาติก ซึ่งชนิดของผ้าที่ใช้ก็มีทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย  และอีกมากมาย ถูกรวมเรียกว่า”ผ้าไทย”ซึ่งเป็นศิลปะและภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น ที่สอดแทรกเทคนิคการทอ และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาคไว้ ตั้งแต่อดีตและได้รับการสืยทอดสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน


แต่สิ่งที่ผ้าไทยต่อสู้กับกระแสโลกสมัยใหม่ มาอย่างยาวนานนั้นก็คือ การทำให้ผ้าไทยได้รับการยอมรับในวงกว้าง หรือมีผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทยในโอกาสต่างๆมากมาย ในกลุ่มผู้คนหลากหลายกลุ่ม ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้สูงอายุ หรือกลุ่มข้าราชการเท่านั้น
การปรับตัวเพื่อให้ผ้าไทยยืนหนึ่งในอาภรณ์ที่ควรค่าแก่การสวมใส่ และลบภาพมายาคติ ว่าเป็นผ้าของผู้สูงอายุ คนเก่าคนแก่ออกไป ทำให้ปัจจุบันการออกแบบผ้าไทย ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง  ร่วมถึงการสร้างสรรค์ไอเดียเพื่อประยุกต์ให้ผ้าไทยสามารถใส่ได้ในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะใส่ทำงาน หรือใส่เที่ยว เกิดการผสมผสานกันระหว่างวิถีดั้งเดิมและวิถีแบบร่วมสมัย   นับเป็นการขับเคลื่อนวัฒนธรรมไทย และรายได้ให้ชุมชน เปิดทางให้ผ้าไมยโบยบินไปสู่ระดับสากลได้อีกด้วย

ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย  ได้เปิดตัวโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย (Contemporary Fashion Competition 2022) ภายใต้แนวคิด “ไทยใส่สบาย” พร้อมกับลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 6 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านศิลปะร่วมสมัย สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย สร้างการรับรู้และตระหนักถึงคุณค่าของผ้าไทยที่ใส่ได้ในทุกโอกาส

โกวิท ผกามาศ ผอ. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และผู้แทนทั้ง 6 สถาบันการศึกษา

โกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า จุดประสงค์ในการจัดการประกวดการออกเครื่องแต่งกายร่วมสมัย ในแนวคิด ไทยใส่สบาย เพื่อเป็นการสนับสนุนทุนทางวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนในประเทศไทย ที่มีเอกลักษณ์ผ้าไทยที่งดงาม อีกทั้งผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่นถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่สำคัญ เพราะบ่งบอกได้ถึงความเป็นไทย และยังเป็นการถ่ายทอดสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าให้แก่คนรุ่นหลัง ดังนั้นผู้เข้าประกวดทุกคนจะต้องนำผ้าไทย มาเป็นวัตถุดิบในการออกแบบ ใส่ได้ทุกกลุ่มวัย

“ในโอกาสนี้ยังเป็นการให้ผู้ประกอบการเกี่ยวผ้าไทย ได้นำเสนอถึงความพิเศษ เส้นใย กรรมวิธีในการผลิต สีสัน และลวดลาย ในอนาคตมีแนวคิดในการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มคนทำงานวัย 30-40 ปี หรือกลุ่มผู้บริหาร เพื่อให้ผ้าไทยเข้าถึงทุกกลุ่มวัยมากขึ้น สำหรับในปีนี้นอกจากกลุ่มนิสิต นักศึกษาแล้ว กลุ่มนักออกแบบเครื่องแต่งกาย และประชาทั่วไปก็สามารถเข้าร่วมการประกวดได้ด้วย เพื่อให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่จำกัด เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียง 12 คนที่จะเข้าไปสู่ในรอบตัดสิน” โกวิท กล่าว

.เหล่าคณะกรรมการเขิญชวนดีไซเนอร์ร่วมเข้าประกวด

บัญชา ชูดวง ดีไซเนอร์และที่ปรึกษาโครงการประกวดออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัยด้านคณะกรรมการ กล่าวว่า ในปีนี้อยากจะเห้นผู้เข้าประกวดทุกคนในการนำเสนอแนวคิดให้มีความแตกต่างจากปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการเลือกใช้ผ้า การดีไซน์ และการเข้าถึงชุมชนใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีการหยิบนำผ้าของชุมชนนั้นมาออกแบบ เพราะปีนี้ไม่จำกัดพื้นที่การใช้ผ้า สามารถเลือกผ้าไทยได้จากทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย

ผู้ชายก็ใส่ผ้าไทยได้เท่ๆ

ศิริชัย ทหรานนท์ เจ้าของแบรนด์เธียเตอร์(THEATRE) กล่าวว่า เนื่องจากคอนเซ็ปการประกวดในปีนี้คือ ไทยใส่สบาย ดังนั้นการออกแบบผ้าไทยก็จะเน้นส่วมใส่ได้จริง มีความคล่องตัว และสบาย เหมาะในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญเวทีนี้เป็นอีกหนึ่งการแสดงศักยภาพของดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ที่จะเติบโตในวงการดีไซเนอร์

ธีระ ฉันทสวัสดิ์ เจ้าของแบรนด์ T-RA กล่าวเสริมว่า การออกแบบผ้าไทยในบางครั้งอาจจะดูมีขั้นตอน หรือมีการดีไซเนอร์ซับซ้อนเยอะไปหมด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการส่วมใส่แต่ละวาระโอกาส ผู้เข้าประกวดจึงต้องตีโจทย์ในปีนี้ให้แตกและสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้ใส่ได้จริง และยังคงมีความสวยงามของผ้าไทยแฝงด้วยเอกลักษณ์ของดีไซเนอร์

ดีไซน์ร่วมสมัยใส่ไปเที่ยวได้

เอก ทองประเสริฐ เจ้าของแบรนด์ EkThongprasert ได้แสดงความเห็นว่า ผ้าไทยนั้นมีความสวยงามอย่างมาก และในแต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องใส่ใจคือเรื่องโครงสร้างของชุด เพราะบางครั้งดีไซเนอร์อาจจะมีการออกแบบโครงสร้างชุดแบบตะวันตก ซึ่งผู้เข้าประกวดอาจจะต้องตีความหมายและคำจำกัดความของผ้าไทยร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นการลงพื้นที่ไปศึกษาผ้าไทยที่สนใจ ศึกษาจุดเชื่อมโยงของชุมชนและความเป็นมาของผ้าชนิดนั้น เพื่อจะได้เข้าใจและหลุดออกจากกรอบเดิมๆของการดีไซน์ และได้ชุดที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ผู้หญิงยิ่งใส่ผ้าไทยยิ่งดูมีสไตล์

อย่างไรก็ตามนิสิต นักศึกษา นักออกแบบ และประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถส่งผลงานแบบร่างได้ทาง www.ocac.go.th ตั้งแต่วันนี้ – 6 พฤษภาคม 2565 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 02 209 3753

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย

นิทรรศการผลงาน '12ศิลปินแห่งชาติ'

12 ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2565  ร่วมงานวันศิลปินแห่งชาติ น้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ในวันที่ 24  กุมภาพันธ์ และแสดงผลงานทรงคุณค่าในนิทรรศการเผยแพร่ประวัติ

Soft Power ไทยในเวที FIFA Congress 2024

เพื่อให้การเตรียมการแสดงในการประชุมใหญ่สามัญของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ครั้งที่ 74 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสร้างความประทับใจให้กับนานาประเทศ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมจัดประชุมสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ FIFA (Federation Internationale de Football Association)

ปลื้ม! สื่ออินเดียยกย่อง'สงกรานต์ในไทย' 1 ใน 9 สุดยอดเทศกาลระดับโลก

21 ก.พ.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า รัฐบาลมุ่งขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ ด้านเฟสติวัลและด้านการท่องเที่ยวรองรับนโยบาย Thailand Creative Content Agency (THACCA) และ วธ. มีนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ สร้างเสน่ห์วิถีไทย