‘สวนดุสิตโพล’ เผยคะแนนนิยม 'เพื่อไทย' นำโด่งก่อนยุบสภา ตามด้วยก้าวไกล 

26 มี.ค. 2566 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศกรณี “คนไทยนิยมพรรคการเมืองใด” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,614 คน (สำรวจทางภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 1-17 มีนาคม 2566 ก่อนที่จะประกาศยุบสภาพบว่าพรรคที่คนไทยนิยมเป็นอันดับ 1 คือพรรคเพื่อไทยร้อยละ 46.16 รองลงมาคือพรรคก้าวไกลร้อยละ 15.43 พรรคภูมิใจไทยร้อยละ 11.12 พรรครวมไทยสร้างชาติร้อยละ 8.73 และพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 7.71 เมื่อจำแนกตามอายุพบว่ากลุ่มอายุ 18 – 30 ปีนิยมพรรคก้าวไกลมากที่สุดร้อยละ 37.85 ส่วนกลุ่มอายุ   อื่นๆนิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุดเมื่อจำแนกตามภูมิภาคพบว่ากรุงเทพฯภาคกลางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมพรรคเพื่อไทยมากที่สุดส่วนภาคใต้นิยมพรรคประชาธิปัตย์มากที่สุดร้อยละ 24.71 ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทยร้อยละ 21.72  

คะแนนความนิยมของพรรคเพื่อไทยยังคงพุ่งแรงและได้รับการตอบรับอย่างดีจากแทบทุกกลุ่มอายุแม้กลุ่มอายุ 18 – 30 ปีจะนิยมพรรคก้าวไกลมากที่สุดแต่รองลงมาก็เป็นพรรคเพื่อไทยสะท้อนให้เห็นว่าแคมเปญ “แลนด์สไลด์” หรือ “เลือกตั้งแบบมียุทธศาสตร์” อาจจะกำลังเห็นผลจากการที่คนต้องการเปลี่ยนแปลงและวิธีการที่จะมีเสียงข้างมากในสภาก็คือต้องรวมกันให้ได้มากกว่าเสียงส.ว. ผลโพลครั้งนี้คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยจึงครอบคลุมแทบทุกพื้นที่ถึงแม้ภาคใต้พรรคประชาธิปัตย์ยังคงกอดด้ามขวานไว้แน่นแต่ก็ต้องยอมรับว่าคะแนนนิยมนั้นลดลงทุกพรรคการเมืองจึงต้องเร่งทำคะแนนชิงพื้นที่กันมากขึ้นเพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ใครๆก็อยากกินข้าวร่วมโต๊ะเป็นรัฐบาลร่วมกัน   

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรศักดิ์ มั่นศิลป์ รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมืองมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า จากผลโพลจะเห็นได้ว่าพรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมเป็นอันดับ 1 คือพรรคเพื่อไทยสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนในแง่ที่ว่าต้องการความเปลี่ยนแปลงจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเดิมรวมทั้งประชาชนอาจมีความชื่นชอบนโยบายของพรรคเช่นเรื่องค่าจ้าง 600 บาทต่อวันเงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาทในส่วนพรรคที่ได้คะแนนนิยมอันดับ 2 คือพรรคก้าวไกลซึ่งถือว่าเป็นขวัญใจของคนรุ่นใหม่โดยพรรคมุ่งเน้นลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการขจัดการสืบทอดอำนาจส่วนพรรคการเมืองอื่นๆก็มีนโยบายที่มุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในระดับรากหญ้าเช่นการพักหนี้ 3 ปีของพรรคภูมิใจไทยบัตรสวัสดิการพลัส 1,000 บาทต่อเดือนของพรรครวมไทยสร้างชาติการประกันรายได้พืชผลทางการเกษตรของพรรคพรรคประชาธิปัตย์การเพิ่มวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 700 บาทต่อเดือนของพรรคพลังประชารัฐเป็นต้นคงต้องมาลุ้นภายหลังการเลือกตั้งว่าพรรคการเมืองใดจะได้จัดตั้งรัฐบาลและมาบริหารประเทศของเราต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิธา' เมิน 'ส.ว.สมชาย' แฉขบวนการข่มขู่โหวตเลือกนายกฯ อ้างยังไม่เห็นรายละเอียด

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี​ของพรรค กล่าวถึงนโยบายขึ้นค่าแรง 450 บาทต่อวัน ว่าให้คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจหารือกันและจากการหารือเบื้องต้นกับสภาอุตสาหกรรม

'ชลน่าน' โชว์หวาน! ให้สัญญาใจเราจะอยู่ด้วยกันตลอดไป เพื่อตั้งรัฐบาลให้ได้

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมร่วม 8 พรรคการเมืองจัดตั้งรัฐบาล ที่มีการตั้งคณะกรรมการประสานงานเปลี่ยนผ่านรัฐบาลขึ้นมา ว่า ในส่วนความเชื่อมั่นของประชาชน

ชื่นมื่น! 8 พรรคร่วม ตั้งคณะกรรมการประสานงานช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล

8 พรรคร่วมเคาะตั้ง คณะกรรมการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล "พิธา" เป็นประธานฯ และกรรมการมาจากตัวแทน 8 พรรคร่วม เผยยังไม่มีการหารือเรื่องตำแหน่งประธานสภาฯ ยันไม่เป็นอุปสรรคในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน หวัง กกต.รับรอง ส.ส.โดยเร็วเพื่อตั้งรัฐบาล

ปั้นมากับมือ! 'ธนาธร' ออกโรงการันตี 'ศิริกัญญา' จะเป็นรัฐมนตรีคลังที่ดี

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ศิริกัญญา ที่ผมรู้จัก – เธอจะเป็นรัฐมนตรีคลังที่ดี สมัยตั้งพรรคอนาคตใหม่ หนึ่งในเรื่องปวดหัวของผมคือการเสาะหาผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งผู้อำนวยการนโยบายของพรรค สัมภาษณ์ไปหลายคนจนเพื่อนในแวดวงวิชาการคนหนึ่งแนะนำคุณไหมให้ผมรู้จัก

'ประชาชาติ' หนุนพรรคอันดับ 1 เป็นประธานสภาฯ มั่นใจก้าวไกล-เพื่อไทยตกลงกันได้

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวถึงการประชุม 8 พรรคร่วมรัฐบาลว่า วาระการประชุมในวันนี้คงจะมาคุยเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลใหม่ ในการประชุมพรรคก้าวไกลมาใช้สถานที่พรรคประชาชาติ