รัฐบาลเตือนระวัง 5 โรค 3 ภัยช่วงฤดูร้อน

รัฐบาลเตือนประชาชนระมัดระวังโรคและภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อน แนะผู้ปกครองดูแลลูกหลานใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เล่นน้ำลำพัง เผยสถิติย้อนหลัง 10 ปี ไทยเสียชีวิตจากการจมน้ำถึง 35,915 คน

09 มี.ค.2565 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าจากที่กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ เรื่อง การป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 โดยได้แจ้งเตือนถึง 5 โรค และ 3 ภัยสุขภาพที่ประกอบด้วยโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ 5 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย โรคอาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค และ โรคไวรัสตับอักเสบ เอ ส่วน 3 ภัยสุขภาพ ได้แก่การเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน ผลกระทบจากหมอกควัน และการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจมน้ำ รัฐบาลขอให้ประชาชนใช้ความระมัดระวังพร้อมกับปฏิบัติตามข้อแนะนำของกรมควบคุมโรคในการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคและการสูญเสีย เพราะหลายโรคที่มาพร้อมกับฤดูร้อนเป็นโรคตามฤดูกาลที่รักษาหายได้ แต่ภัยสุขภาพบางประเภทก็นำมาซึ่งความสูญเสีย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในส่วนของการเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนนั้น ข้อมูลของกรมควบคุมโรคระบุว่า ช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. ของทุกปีจะมีประชาชนเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน ซึ่งในปี2558-2564 มีผู้เสียชีวิต 56,60,24,18,57,12 และ 7 คนตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตเป็นเพศชาย เช่นในปี 2564 ผู้เสียชีวิตทั้ง 7 รายทั้งหมดเป็นเพศชาย โดยปัจจุบันสภาพของอุณหภูมิโลกได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและระยะเวลาฤดูร้อนยาวนานขึ้น จะต้องมีการดูแลสุขภาพให้ปรับให้ทันต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยงดการออกกำลังกายหรือทำงานกลางแดดเป็นเวลานาน ดูแลร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ง่าย ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพยาเสพติดในช่วงที่มีอากาศร้อน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ขณะที่การจมน้ำก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดการเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2555-2564) ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำถึง 35,915 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมากถึงร้อยละ 20.5 (7,374คน) โดยเด็กช่วงอายุ 5-9 ปี เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุดที่ 2,867 คน และช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค.เป็นช่วงที่เสียชีวิตมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 32.7 ของการจมน้ำเสียชีวิตตลอดทั้งปี ทั้งนี้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพังที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติไม่มีผู้ใหญ่ดูแล ซึ่งการป้องกันนั้นทั้งผู้ปกครองและคนในชุมชนต้องร่วมกันสอดส่อง ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด จัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น สร้างรั้ว ติดป้ายคำเตือน จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยงสำหรับการช่วยเหลือ และเมื่อพบเห็นคนตกน้ำ ให้รีบโทรแจ้ง 1669 และหาอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้หรือเสื้อชูชีพ โยนให้คนที่ตกน้ำจับพยุงตัว เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

14 พ.ค.ได้ลุ้น คกก.ค่าจ้างฯ ถกค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ

'คารม' ย้ำขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค.นี้ คกก.ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ

รัฐบาลกวักมือเรียกผู้กู้ กยศ.ที่ถูกดำเนินคดีเร่งปรับโครงสร้างหนี้ด่วน!

รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน

ไฟเขียวเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติฯ ไม่ถือเป็นวันลา!

รัฐบาลร่วมแสดงความจงรักภักดี และถวายพระราชกุศล เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติฯ โดยไม่ถือเป็นวันลา

รัฐบาลห่วงยอดโควิดพุ่ง แต่ขอให้มั่นใจโรงพยาบาลพร้อมรับมือ!

'เกณิกา' เผยรัฐบาลห่วงใยยอดโควิดยังพุ่งหลังสงกรานต์ ขอให้ประชาชนมั่นใจโรงพยาบาลทุกแห่งมีความพร้อมรับมือผู้ป่วยโควิด แนะใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่แออัด รีบตรวจ ATK หากมีอาการคล้ายหวัด