'อัษฎางค์' ฟาด 'วิโรจน์' สนามหลวงไม่ใช่สวนสาธารณะ กรมศิลป์ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อ 13 ธ.ค. 20

'อัษฎางค์' ฟาด 'วิโรจน์' อ่านหนังสือให้เกิน 8 บรรทัด ชี้ สนามหลวงไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นโบราณสถาน กรมศิลป์ขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 13 ธ.ค. 20 ย้ำสนามหลวงเป็นสมบัติของชาติแล้วจะทวงคืนจากใคร? ไปให้ใคร

25 มี.ค.2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณี นายวิโรจน์​ ลักขณาอดิศร​ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ พรรคก้าวไกล​ ทวงคืนท้องสนามหลวง​ มีเนื้อหาดังนี้

ไม่มีวัวปน
"สนามหลวง ไม่ใช่สวนสาธารณะ แต่เป็นโบราณสถาน"
………………………………………………………………….
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
24 มีนาคม 2565 นายวิโรจน์​ ลักขณาอดิศร​ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ พรรคก้าวไกล​ เรียกร้องว่า​
"การมีรั้วมากั้นบริเวณท้องสนามหลวง​นั้นตนไม่เห็นด้วย​ เพราะเป็นการทำลายทัศนียภาพ​ ทำลายเสน่ห์​ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะได้ใช้พื้นที่​"
นายวิโรจน์ ยังกล่าวต่อว่า
"ทำไมไม่มีโต๊ะม้าหิน​ แท่นน้ำดื่ม​ มีแค่รถสุขา​ จะจัดสุขาให้เป็นสัดส่วนได้หรือไม่​ เสน่ห์คนที่มาเล่นหมากรุก​ เปิดสภากาแฟ​ ​ หรือแม้แต่เปิดเวทีไฮด์ปาร์ค​ จัดกิจกรรมทางการเมือง พูดประเด็นการเมืองและสังคม​ มันหายไปหมด​ ทั้งนี้อย่าอ้างพ.ร.บ.โบราณ​สถาน​มั่ว ๆ​ "
นายวิโรจน์​ ลักขณาอดิศร​ เป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร​ จากพรรคก้าวไกล ที่อาสามาบริหารจัดการเมืองกรุง แต่ดันไม่เข้าใจและแยกแยะเรื่องเล็กๆ แค่นี้ไม่ออกว่า สวนสาธารณะและโบราณสถาน มีการใช้ประโยชน์ต่างกันอย่างไร แล้วปัญหาใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ที่มีมากมายจะเข้าใจและมีปัญญาอะไรไปดูแล, แก้ไขและบริหารจัดการ
ผมถือโอกาสสอนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้ให้กับ"ว่า"ที่ผู้สมัครผู้"ว่า"ฯ ที่สมควรโดน"ว่า" เนื่องจาก"ว่า"ไม่เข้าใจเรื่องเล็กๆ แบบนี้
………………………………………………………………….
อ่านช้าๆ ดีๆ น่ะวิโรจน์น่ะ อ่านให้เกิน 8 บรรทัด แล้วกลับไปหาปี๊บคลุมหัวไว้ตอนหาเสียงในวันต่อๆ ไป
สวนสาธารณะ หมายถึงบริเวณสาธารณะที่ภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จัดให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนตามชุมชนและเมืองต่าง ๆ โดยรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแลรักษา
สิ่งที่นายวิโรจน์​ แหกปากเรียกร้องว่า "ให้คนมาเล่นหมากรุก​ เปิดสภากาแฟ​ เปิดเวทีไฮด์ปาร์ค​ จัดกิจกรรมทางการเมือง พูดประเด็นการเมืองและสังคม" นั้นมันต้องเป็นสวนสาธารณะ ไม่ใช่โบราณสถาน ฮ่วย!!
………………………………………………………………….
ที่นี่ตามมาดูว่าโบราณสถานมีลักษณะอย่างไร ต่างจากสวนสาธารณะอย่างไร!
พระราชบัญญัติโบราณสถาน ฯ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๔ ระบุว่า
"โบราณสถาน” หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย

ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน “สนามหลวง” สนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นที่ 74 ไร่ 63 วา เป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2520

ดังนั้น ถ้านายวิโรจน์​ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ จากพรรคก้าวไกล อ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่เข้าใจ ก็ไปลาออกจากการเป็นว่าที่ผู้ว่าฯ เสีย มันขายหน้าตัวเองและพรรค ที่บอกกับคนไทยว่าจะมาเปลี่ยนประเทศและสังคม
จะเอาปัญญาอะไรไปเปลี่ยนประเทศและสังคม หรือแก้ปัญหา กทม. ในเมื่อ คำแค่สองคำ ยังไม่เข้าใจ แล้วกรุงเทพฯ มีแต่ปัญหาใหญ่ๆ จะเอาปัญญาที่ไหนไปแก้ นอกจากแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ
………………………………………………………………….
แล้วถ้า...วิโรจน์ ยังอยากจะให้คนมาเล่นหมากรุก​ เปิดสภากาแฟ​ เปิดเวทีไฮด์ปาร์ค​ จัดกิจกรรมทางการเมือง ก็อ่านบทลงโทษผู้ที่คิดจะฝ่าฝืนหรือบุกรุก เข้าไปในสนามหลวง ซึ่งเป็นโบราณสถานเสียด้วย
พระราชบัญญัติโบราณสถานคุ้มครอง ได้กำหนดโทษผู้ใดฝ่าฝืนหรือบุกรุก ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังต่อไปนี้ (ขอยกตัวอย่างพอสังเขป)

“มาตรา ๓๒ ผู้ใดบุกรุกโบราณสถาน หรือทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดแสนบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําต่อโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหน่ึงล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๓๓ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่า ทําให้ไร้ประโยชน์หรือทําให้ สูญหายซึ่งโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหน่ึงล้านบาท หรือท้ังจําทั้งปรับ”
ฮ่วย!!! นี่อ่ะน่ะ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพฯ จากพรรคก้าวไกล นี่ยังก้าวไปไม่ไหนไกลก็ตกท่อ กทม.ซะแล้ว
………………………………………………………………….
กรงเทพฯ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย และใหญ่ระดับต้นๆ ของโลก และด้วยความเป็นเมืองใหญ่ระดับโลกนี้ ทำให้มีปัญหาร้อยแปดพันเก้า แต่...ก้าวแรกของว่าที่ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล ก็ก้าวไม่ไปไหนไกลแล้ว
รู้สึกอายบ้างมั้ย ถามจริงๆ
สนามหลวงเป็นสมบัติของชาติ ชาติเป็นของประชาชน แล้วจะทวงคืนสนามหลวงจากใคร? ไปให้ใคร?
………………………………………………………………….
ประวัติสนามหลวง: https://www.facebook.com/100566188950275/posts/264232169250342/?d=n

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ'โกลเด้นบอย'ที่สหรัฐ ก่อนส่งคืน

26 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุประติมากรรมสำริด 2 รายการ ซึ่งมีหลักฐานว่าถูกนำออกจากประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย

อนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน 2 รัชกาล วัดราชประดิษฐฯ

คัมภีร์ใบลานที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตร คัมภีร์โบราณนี้มีความสำคัญเทียบเท่ากับวัด ซึ่งเป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  เป็นคัมภีร์ใบลานที่เคยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมตั้งแต่สมัย ร.  4 ถือว่าเป็นคัมภีร์ใบลานฉบับหลวง

งานสงกรานต์ สนามหลวงประสบความสำเร็จ นักท่องเที่ยวเข้าร่วมเฉียด 8 แสน

โฆษกรัฐบาลเผยผลสำเร็จการจัดงานเย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ 2567 มีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมกว่า 7 แสน 8 หมื่นคนยอดขายในงานกว่า 9 ล้านบาท

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สรงน้ำพระธาตุ-เทวดานพเคราะห์ เทศกาลสงกรานต์

เนื่องในเทศกาลสงกรานต์สงกรานต์ กรมศิลปากรขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2567  เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน