'เอ็ดดี้' สงสัยปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ จะเป็นเรื่องไสยศาสตร์ที่ชัชชาติแก้ไม่ได้แล้ว

8 ก.ย.2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กว่า Now and then ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ “สงสัยว่าปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพจะเป็นเรื่องไสยศาสตร์ที่ชัชชาติแก้ไม่ได้ซะแล้ว” จากผู้สมัครผู้ว่าฯ ถึงผู้ว่าฯ กทม. ตอนเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เสนอโครงการและแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาพใหญ่ที่ดูขึงขังจริงจังอย่างเป็นระบบ หลังจากได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าแล้ว แนวทางจัดการกับปัญหาน้ำท่วมที่หาเสียงไว้ได้ทำหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน อย่างไร ไม่ทราบ

แต่มีข้อแนะนำหนึ่งที่น่าทึ่งให้กับประชาชนว่า ถ้าอยู่บ้าน Work From Home ได้ก็จะช่วยลดปัญหาการติดขัดอยู่บนท้องถนนได้ แต่ใครจำเป็นต้องมาทำงาน ก็ให้รีบกลับบ้านเร็วไปตั้งหลักที่บ้าน ถ้าน้ำเข้าบ้านก็วิด

3 ต.ค.63 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ โพสต์เฟซบุ๊ก
หลักการระบายน้ำของ กทม. คือระบายลงท่อระบายน้ำ ลงสู่คลอง และออกแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ต่ำต้องมีระบบปิดล้อมและใช้เครื่องสูบน้ำทำการสูบน้ำออก มีระบบอุโมงค์ยักษ์ในบางจุดเพื่อเป็นทางลัดช่วยพาน้ำไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยาให้เร็วขึ้น และมีแก้มลิงในบางพื้นที่ เพื่อชะลอน้ำให้เข้าสู่ระบบระบายน้ำช้าลง

การแก้ปัญหาน้ำท่วมจึงต้องทำทั้งระบบตั้งแต่เส้นเลือดฝอย คือระบบท่อระบายน้ำ การสูบน้ำ การดูแลขยะ จนไปถึงเส้นเลือดใหญ่ คือระบบอุโมงค์ยักษ์ การขุดลอกคลอง การดูแลระดับน้ำ ประตูน้ำ

23 เม.ษ.65 “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8 เสนอแนวทางแก้ปัญหา “น้ำท่วมซ้ำซาก” ใน กทม. เสนอใช้งบไม่เกิน 300 ล้านลอกคูคลอง-ท่อระบายน้ำอย่างจริงจัง พร้อมเสนอสร้างแก้มลิงเพิ่ม

นายชัชชาติ ได้เปิดเผยถึง แนวทางการป้องกันปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในกทม.ว่า ท่อระบายน้ำในกรุงเทพฯ มีความยาว ประมาณ 6,000 กิโลเมตร และมีคูคลองประมาณ 2,600 กิโลเมตร จากข้อมูลที่มี พบว่า ที่ผ่านมามีการลอกคลองประมาณ10 % ต่อปี ลอกท่อระบายน้ำไม่มาก ดังนั้น ต้องเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยนายชัชชาติกล่าวว่า ในส่วนของคูคลองต้องลอกอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง และเพิ่มพื้นที่ความจุของน้ำ ส่วนท่อระบายน้ำในกทม. ควรลอกอย่างน้อยปีละ 3,000 กิโลเมตร คาดว่าจะต้องใช้เงินในการดำเนินการไม่เกิน 300 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเห็นว่าต้องสร้างแก้มลิงเพิ่มเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรองรับและระบายน้ำในการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ของสำนักวิจัยซูเปอร์โพลซึ่งเผยแพร่ในวันที่ 23 เม.ย.พบว่านายชัชชาติ หมายเลข 8 ยังคงมีคะแนนนำ

17 พ.ค.65 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ลุยน้ำท่วมเสนอแนวคิด กทม. ต้องเร่งหาทางป้องกันน้ำท่วมทั้งระบบโดยเร่งด่วนตั้งแต่ระบบคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน ลดจุดเสี่ยงน้ำท่วม ขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ก่อสร้างคันกั้นน้ำให้แล้วเสร็จโดยเฉพาะ “จุดฟันหลอ” เพื่อเพิ่มศักยภาพการไหลของน้ำสู่อุโมงค์ยักษ์และให้ กทม. ทบทวนการใช้งบประมาณลงทุนโครงการใหญ่ แล้วจัดสรรงบมาแก้ไขปัญหาพื้นที่ตรอกซอยที่น้ำท่วมซ้ำซาก เพื่อให้การใช้งบประมาณจากภาษีประชาชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน ต้องเตรียมพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติสำหรับรับน้ำฝน เช่น บ่อน้ำในสวนสาธารณะและสถานที่ราชการ ปัจจุบัน กทม. มีพื้นที่แก้มลิงที่สามารถรับน้ำได้ประมาณ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร เสนอให้เพิ่มเติมอีกประมาณ 6-7 ลูกบาศก์เมตร

21 ก.ค.65 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์ฝนตกต่อเนื่องจนเกิดเหตุน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ กว่า 20 จุด โดยยอมรับว่า สถานการณ์ในตอนนี้ยังคงหนักอยู่
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ให้ข้อแนะนำประชาชนว่า “ฝากประชาชนโดยเฉพาะที่อยู่ในฝั่งตะวันออก ให้เตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงนี้ ให้กลับไปตั้งหลักที่บ้านของตนเอง คอยรับฟังข่าวสารสม่ำเสมอ ขอแนะนำให้เก็บขยะถุงพลาสติกหน้าบ้านเข้ามาไว้ก่อน หากมีฝนตกจนน้ำท่วมขัง เพื่อป้องกันการอุดตันท่อระบายน้ำ”

นายชัชชาติยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “สิ่งที่กทม.เป็นห่วงมาก คือ การที่ประชาชนติดขัดอยู่บนท้องถนนเป็นเวลานาน เนื่องจากในตอนเย็นฝนตกหนักทุกวันในช่วงนี้ จึงอยากขอความร่วมมือประชาชน”

“หากใครสามารถทำงานที่บ้านหรือ Work From Home ได้ ก็จะเป็นการลดปัญหาการติดขัดอยู่บนท้องถนนได้ หรือใครจำเป็นต้องมาทำงาน หากสามารถกลับบ้านเร็วได้ก่อน ขอให้รีบกลับก่อน อย่างน้อยเรากลับไปดูแลที่บ้านและรับฟังข่าวสารจากทางกทม.”

"ถ้ากลับบ้านเร็วได้กลับก่อน ผมว่าไปตั้งหลักที่บ้าน ถ้าน้ำเข้าบ้านก็วิดนะ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เผยสาเหตุเกิด 'พายุฤดูร้อน' ถล่มอีสาน เตือน 42 จังหวัดระวังฝนตกใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ) บริเวณภาคอีสาน (จ.เลย อุดรธานี บึงกาฬ หนองคาย ร้อยเอ็ด นครราชสีมา) เมื่อวานที่ผ่านมา (28/3/67)

กรมอุตุฯ เตือน 47 จังหวัด ระวังอันตรายฝนฟ้าคะนองใน 24 ชม.ข้างหน้า เมฆล้อม กทม.แล้ว

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้แล้ว

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)

ส่องสุขภาพ'มอเตอร์ไซด์รับจ้าง'ใน กทม.

“มอเตอร์ไซด์รับจ้าง” เป็นอาชีพที่ใกล้ชิดกับชาวกรุงเทพฯ ทั้งรับส่งผู้โดยสารและเอกสาร ผลจากปัญหาจราจรและความเร่งรีบในการเดินทางของคนเมือง  แม้จะเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตรายบนท้องถนนกรุงเทพฯ แต่พวกเขาก็ไม่บอกลางานอิสระนี้ เพราะประกอบอาชีพได้ง่าย

กรมอุตุฯ เผยอากาศกลับมาร้อนอีกครั้ง ก่อนจะมีฝนเพิ่มขึ้น 27-31 มี.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 22-31 มี.ค. 67 init. 2024032112 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)