
23 ต.ค.2565-นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Fuangrabil Narisroj ว่า ผมเคยทำงานที่ลาว 2 วาระ ครั้งแรกเมื่อปี 2550-2554 และครั้งที่ 2 เมื่อปี 2558-2560
งานในหน้าที่ส่วนนึงก็คือดูแลเกี่ยวกับความช่วยเหลือสปป.ลาวในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา และด้านการแพทย์ เพราะไทยเราถือว่า สปป.ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสำคัญที่สุดในทางยุทธศาสตร์ และมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทางประวัติศาสตร์และสายเลือดแบบตัดกันไม่ขาด
ถึงแม้ไทยกับ สปป.ลาวจะมีระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคขวางกั้นสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและลาวได้เลย การช่วยเหลือสปป.ลาวนั้น นอกเหนือจากในส่วนของภาครัฐบาลที่ดำเนินการช่วยเหลือผ่าน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ( หรือเดิมชื่อ กรมวิเทศสหการ) หน่วยงานจากกระทรวงทบวงกรมอื่นๆแล้ว ในส่วนของ “สถาบัน” ก็มีส่วนช่วยเหลือสปป.ลาวอย่างต่อเนื่องเสมอมา โดยเฉพาะ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ ฯ นั้น ทรงห่วงใยและพระราชทานสิ่งของช่วยเหลือ โรงเรียนและโรงพยาบาลต่างๆในสปป.ลาวตลอดมามิได้ว่างเว้น และทุกครั้งที่สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการนำสิ่งของช่วยเหลือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์การศึกษา ไปให้พี่น้องชาวลาวตามเมือง ตามแขวง ต่างๆ ไม่ว่าหนทางจะยากลำบากแค่ไหน เราก็ต้องฝ่าฟันกันไปให้ถึง
สถานทูตไทยที่เวียงจันทน์มีพาหนะสำหรับการบุกเข้าไปในถิ่นทุรกันดารของลาว เป็นรถจี๊ป 4WD และรถตู้บรรทุกของ เส้นทางที่เข้าไปทุลักทุเลสุดๆ จนทำให้รถจี๊ป 4WD และรถตู้พังต้องซ่อมตลอดหลังจากบุกป่าฝ่าดงกันเข้าไป และเมื่อเราได้มอบสิ่งของความช่วยเหลือแล้ว เราก็ยังต้องเฝ้าติดตามและให้ฝ่ายลาวรายงานผลที่ได้รับการช่วยเหลือให้เราทราบ ซึ่งเมื่อทุกอย่างสัมฤทธิ์ผลแล้ว พี่น้องชาวลาวได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งของที่เรามอบให้ แค่นี้หัวใจเราก็ “ฟู” ด้วยความปิติแล้ว
ผมยังจำภาพโรงพยาบาลในเมืองและแขวงต่างๆที่ไทยเราเคยไปช่วยเหลือได้ติดตา สภาพอาคารและอุปกรณ์ทางการแพทย์บางอย่างนั้น ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส คือมันเก่าและล้าสมัยมาก !!! ผมเคยไปสัมภาษณ์ชาวบ้านคนลาวตามเมืองต่างๆ เขาเล่าให้ฟังว่า เพราะความที่ลาวขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ทำให้ในหลายๆครั้งเกิดเหตุการเสียชีวิตทั้งๆที่ไม่ควรเสีย ทั้งนี้เป็นเพราะขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ชาวลาวที่มีฐานะส่วนใหญ่ถ้าเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยก็เลือกที่เข้าไปรักษาตัวที่ฝั่งไทย
ดังนั้น โรงพยาบาลตามแนวตะเข็บชายแดนไทยลาว หรือ แม้แต่ไทยพม่า ไม่ได้รับเฉพาะคนไข้ชาวไทยเท่านั้น แต่ต้องรับคนไข้จากประเทศเพื่อนบ้านด้วย เวลาพวกเขาบาดเจ็บบากหน้ามาพึ่งเรา เราก็ทิ้งเขาไม่ได้ เพราะคำว่า “มนุษยธรรม” นั่นเอง ซึ่งตรงนี้งบประมาณที่ภาครัฐจัดให้ รพ.ต่างๆตามแนวตะเข็บชายแดนไม่เพียงพอแน่นอน และก็ได้ความช่วยเหลือสนับสนุนบริจาคจากภาคเอกชนนั่นแหละที่ช่วยกันพยุงทำให้ปัญหานี้ทุเลาลงไปได้
ดังนั้น เวลาผมอ่านที่มีคนเขียนแซะกระแนะกระแหนใครก็ตามที่มีจิตศรัทธาทำกิจกรรมเพื่อช่วยระดมทุนบริจาคช่วยเหลือ รพ.ทั้งฝั่งไทยและในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว แล้ว ผมในฐานะคนที่เคยทำงานในพื้นที่มาก่อน รู้สึกจิตตกครับว่า ทำไมพวกเขาถึงมีมุมมองที่คับแคบมาก บางครั้งก็ไปเอาเรื่องทางการเมืองมาโยงด้วยอคติเพื่อเตะตัดขาคนที่เขาตั้งใจทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือคนอื่น วางอัตตาและอคติกันลงบ้างเถอะครับ โลกจะสวยงามยิ่งขึ้น !
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กกต. สรุปยอดเงินบริจาคพรรคการเมือง เดือนกันยายน 66
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่เอกสารสรุปยอดเงินบริจาคของพรรคการเมืองประจำเดือนก.ย. 2566 จำนวน 10 พรรคการเมือง โดยมีผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองที่มีจำนวนเงินตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 154 ราย เป็นจำนวนเงิน 9,205,927.12บาท
เฉียดตาย! ผู้ป่วยหอบหืดอาการกำเริบหนัก ไปรพ.กลางดึก สุดอึ้งไม่เจอใครเลย ห้องฉุกเฉินปิด
ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Joy Sinsanguan โพสต์ข้อความร้องทุกข์หลังจากพาพี่ชายป่วยหอบหืด อาการค่อนข้างหนักไปรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่ในช่วงเวลาตี 2 แต่ไม่พบเจ้าหน้าที่ โทรไปตามเบอร์ก็ไม่มีใครรับสาย ทำให้ต้องพาพี่ชายไปโรงพยาบาลอีกแห่งในจังหวัดพังงา จนพ้นภาวะวิกฤติได้
'2 นายกฯ' ไทย-ลาว ร่วมพิธี เปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์
'เศรษฐา' หารือ 'ประธานประเทศลาว - ปธ.สภาแห่งชาติ' ก่อนร่วมกับเป็นประธานพิธีร่วมกับนายกฯ ลาว เปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์
‘เศรษฐา’ หารือ นายกฯ สปป.ลาว ย้ำซื้อขายพลังงานสะอาด-การขนส่งทางบก
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ และการหารือเต็มคณะระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว
นายกฯ เดินทางเยือน สปป.ลาว อย่างเป็นทางการ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีออกเดินทางจากท่าอากาศยานอุดรธานี ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติวัดไต นครหลวงเวียงจันทน์
นายกฯ จ่อถกผู้นำลาว ลุยสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 หนองคาย
นายกฯประชุมศุลกากรชายแดนหนองคาย หวังด่านเป็นต้นแบบให้บริการวันสต็อปเซอร์วิส ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นทั่วประเทศเผย จ่อถกผู้นำ สปป.ลาว ช่วยแผนสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2