
18 พ.ย. 2565 – รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “การประชุมเอเปกให้ประโยชน์แต่กลุ่มทุน เปิดให้บริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุน เข้ามาแย่งที่ดินของคนไทย รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ออกนโยบายขายชาติ พลเอกประยุทธ์ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปก ขับไล่ประยุทธ์หยุดเอเปก”
ข้อความข้างต้นเป็นเหมือนเสียงนกแก้ว นกขุนทอง ที่พวก 3 นิ้วที่ความคิดถูกครอบงำโดยแกนนำลัทธิชอบนำมาพูด แต่หากถามต่อในรายละเอียด เช่น กลุ่มทุนที่ว่าได้ประโยชน์ ได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง คนที่พูดเช่นนี้ส่วนใหญ่ตอบไม่ได้ การที่บริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนซึ่งไม่ต้องประชุมเอเปกก็เข้ามากันอยู่แล้ว มีผลเสียอย่างไรบ้างก็มักตอบไม่ได้ ได้แต่ท่องเป็นนกแก้ว นกขุนทองอยู่อย่างนี้
เห็นข้อเรียกร้องของ กลุ่มราษฎรหยุดเอเปกแล้ว ได้แต่แปลกใจเพราะข้อเรียกร้องมี 3 ข้อคือ
1.ยกเลิก BCG model
2.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความชอบธรรมใดๆ ในการลงนามในข้อตกลงใดๆ ทั้งสิ้นกับผู้นำเอเปก
3.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องยุบสภาเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งโดยเร็ว
เรามาดูกันว่า BCG คืออะไร
BCG model มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
B คือ Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูงหรือ Bio technology มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
C คือ Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน หมายถึงการนำวัตถุดิบที่เคยเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่นสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อันเป็นการลดขยะและความสูญเปล่า ทำให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม
G คือ Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว หมายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ถามว่าโดยหลักการ BCG model มีตรงไหนไม่ดีต่อประเทศ ทำไมต้องยกเลิก ที่อ้างเรื่องจะมีการตัดต่อพันธุกรรม(GMO) แล้วทำให้บริษัทต่างชาติได้ประโยชน์ เป็นคนละเรื่องกัน ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกัน หรือเป็นเพราะเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์จึงต้องไม่ดีไว้ก่อน
ข้อเรียกร้องที่ 2 จะไม่ให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงนามในข้อตกลงใดๆเพราะขาดความชอบธรรม ผู้ที่กำหนดข้อเรียกร้องข้อนี้ต้องทราบดีว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ เช่นนั้น จะร้องไปทำไม
ข้อเรียกร้องที่ 3 การยุบสภาอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหลังการประชุมเอเปก หรือหากไม่มีการยุบสภา อีกไม่กี่เดือน สภาก็จะครบวาระอยู่แล้ว อีกไม่นานก็จะมีการเลือกตั้งใหม่ แล้วจะเรียกร้องให้ยุบสภาไปเพื่ออะไร
จะเห็นว่าข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ เป็นข้อเรียกร้องที่ไร้สาระทั้งสิ้น ดังนั้นดูเหมือนว่าข้อเรียกร้องเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพียงเพื่อหาเรื่องป่วนการประชุมเท่านั้น ไม่ได้หวังผลจากข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อจริงๆ แต่อย่างใด
ในการประชุมระดับโลกเช่นนี้ทุกครั้ง การชุมนุมเรียกร้องในเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะเมื่อมีผู้นำชาติต่างๆ มารวมตัวกัน ก็เป็นโอกาสที่จะการแสดงออกให้ผู้นำเหล่านี้ได้เห็นบ้าง แต่เท่าที่ผ่านมาในประเทศอื่นๆ การแสดงออกมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับส่วนรวม เช่น การลดภาวะโลกร้อน การประท้วงเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้นที่มีการจัดชุมนุมเพื่อป่วน หรือเพื่อทำลายการประชุมระดับโลก เพื่อหวังผลทางการเมือง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อกลุ่ม นปช บุกเข้าทำลายการประชุมอาเซียนซัมมิทที่พัทยา ในช่วงรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ครั้งนี้ก็เช่นกัน กลุ่มราษฎรหยุดเอเปก ไม่ได้ต้องการให้เกิดผลตามข้อเรียกร้อง แต่ต้องการให้เกิดผลทางการเมือง ไม่ใช่เพื่อปกป้องประชาธิปไตยอะไรทั้งนั้น แต่ทำเพื่อให้กลุ่มการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์ โดยทำให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เสียหน้าต่อหน้าผู้นำประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุม ดังนั้นจะไม่แปลกใจเลยหากจะเห็นม็อบยั่วยุเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดการกระทบกระทั่งจะได้เกิดความรุนแรง ตำรวจควบคุมฝูงชนจึงต้องระมัดระวังหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความรุนแรง และต้องใช้ความอดกลั้นให้มากที่สุด เพราะหากเกิดความรุนแรง จะมีการนำไปขยายผลทันที
หากการประชุมเอเปกไม่สามารถดำเนินต่อได้ เนื่องจากมีความรุนแรงจนรัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้ เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับการประชุมอาเซียนซัมมิทแล้ว ไม่ใช่เพียงรัฐบาลเท่านั้นที่จะเสียหน้า แต่ประเทศชาติโดยรวมจะเสียหายจนยากที่จะกู้ความมั่นใจของประเทศต่างๆ ให้กลับมาได้
ไม่ว่าจะอย่างไร กลุ่มราษฎรหยุดเอเปกก็คงไม่สนใจ ขอเพียงทำลายรัฐบาลนี้ให้ได้ และกลุ่มการเมืองที่ตัวเองสนับสนุนหรือกลับกัน กลุ่มการเมืองที่สนับสนุนตัวเองได้ประโยชน์ก็พอ
คำถามคือ ควรแล้วหรือที่เราจะฝากอนาคตของประเทศชาติไว้กับคนที่มีความคิดเช่นนี้ หรือเราไม่มีทางเลือกเลยจริงๆ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Bangkok Goals on BCG Economy: ความสร้างสรรค์ของไทยในการผลักดันการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน
การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 นำมาซึ่งผลสำเร็จหลายประการ อาทิ การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP
เอเปคกับเศรษฐกิจรูปตัว Y: นโยบายและการแข่งขัน
หลังประเทศไทย สอบผ่านจากการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา การประชุมรอบใหม่ของคณะทำงานต่างๆของเอเปคกำลังกลับมาเริ่มใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์นี้แล้วเพื่อเตรียมประเด็นและรายงานต่อผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจ ในปลายปี 2566 นี้
ชำแหละยิบ! เจ้าของพรรคแลนด์สไลด์
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ปีนี้ เราน่าจะได้เห็นการยุบสภาก่อนครบวาระในเดือนมีนาคม
อัด 'ลัทธิประหลาด' อดข้าวบีบเลิกมาตรา 112
จำเลยหญิง 2 คน ในคดีอาญา ม.112 ขอถอนประกันตัวเอง เข้าเรือนจำ และประท้วงอดข้าว-อดน้ำ เรียกร้อง 3 ข้อ รวมทั้งให้ยกเลิกม.112,116
กระตุก 'รทสช.' อย่าทำให้คนศรัทธา 'ประยุทธ์' ผิดหวัง อย่าดูดนักการเมืองน้ำเน่าเข้ามา
'หริรักษ์' กระตุก รทสช.อย่าทำให้คนศรัทธา'ประยุทธ์' ผิดหวัง แนะอย่าได้มองสั้นๆด้วยความอยากชนะเลือกตั้งครั้งต่อไป โดยใช้พลังดูดนักการเมืองน้ำเน่าเข้ามา ต้องมองยาวไปในอนาคตข้างหน้า วางรากฐานพรรคให้เป็นความหวังของปชช.อย่างแท้จริง
APEC CEO Summit 2022 วิสัยทัศน์ภาคธุรกิจ สู่การขับเคลื่อนการเติบโตอย่างมั่งคั่ง ทั่วถึง และยั่งยืน
นอกจากการประชุม APEC 2022 ระหว่างวันที่ 14 – 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้องแล้ว