โฆษกศาลฯ แจงคืบหน้าตรวจสอบ ปมถอนหมายจับ ส.ว.ชื่อดัง

โฆษกศาลยุติธรรม ชี้เรื่องการถอนหมายจับ สว.คนดัง ยังอยู่ในขั้นตอน คณะกรรมการสดับตรับฟังรวบรวมข้อเท็จจริงเสนอ ปธ.ฎีกา และยังขยายเวลาได้อีกขึ้นอยู่กับความจำเป็น ส่วนผู้พิพากษาปรึกษากับอธิบดีศาลเป็นเรื่องปกติตามรัฐธรรมนูญ

23 มี.ค.2566 - ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก ในงานมอบรางวัลโครงการจัดประกวดคัดเลือกศาลดีเด่นเพื่อประชาชน นายสรวิศ ลิมปรังสี โฆษกศาลยุติธรรม ได้ให้สัมภาษณ์กรณีประเด็นการร้องขอออกหมายจับ นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา ว่าตอนนี้อยู่ระหว่าง คณะกรรมการสดับตรับฟังที่ เป็นผู้พิพากษาระดับอาวุโส ได้นำข้อมูลข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อมาดูว่าที่จริงแล้วเกิดอะไรขึ้น และคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ นำข้อมูลทั้งหมดมาสรุป และทำความเห็นเสนอ นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา ถ้าเห็นแล้วว่าเป็นไปตามขั้นตอนของกฎระเบียบและกฎหมาย ก็จะยุติเรื่องไปหรือว่าจบเรื่องนั้น แต่ถ้าข้อเท็จจริงที่สรุปมาอาจมีโอกาสเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวินัยก็จะมีการเสนอความเห็นเพื่อเร่งสอบข้อเท็จจริงต่อไป แต่ตอนนี้คณะกรรมการอยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริงทุกด้าน ทุกคนที่เกี่ยวข้อง และยังไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นทางการ โดยมีระยะเวลากำหนดไว้ 30 วัน ซึ่งยังสามารถขยายได้อีกหากมีความจำเป็นทั้งนี้เรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินการเป็นการลับ ตนไม่ได้เข้าร่วมด้วย

เมื่อถามว่าการออกหมายจับของ ส.ส.และ ส.ว. ต่างจากการออกหมายจับบุคคลธรรมดาอย่างไร นายสรวิศ กล่าวว่า เกณฑ์เบื้องต้นไม่ต่างกัน ศาลพิจารณาข้อหาที่ออกหมายจับ เช่นมีโทษจำคุกเกิน 3 ปีหรือไม่ หากโทษไม่เกิน 3 ปีก็จะดูพฤติการณ์ประกอบว่ามีพฤติการณ์หลบหนี หรือจะยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หรืออาจจะไปทำอันตรายประการอื่น และดูปัจจัยแม้ว่าโทษจะสูงแต่ไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ก็อาจจะไม่ได้ออกหมายจับ ยกตัวอย่างปีที่แล้วก็มีการออกหมายจับ ส.ส. โดยศาลได้มีการออกหมายเรียก ก่อน 2 ครั้ง ซึ่งที่จริงแล้วก็คือแนวปฏิบัติเดียวกัน คือการเป็นบุคคลสำคัญไม่ได้เป็น ประเด็นสำคัญในพิจารณาคดี การที่มีอาชีพการงาน มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งโอกาสจะหนีก็ไม่สูง การออกหมายเรียกก็เป็นขั้นตอนปกติอยู่แล้วไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นบุคคลสำคัญหรือไม่

เมื่อถามว่าการออกหมายจับแล้วผู้พิพากษาจะต้องมีการหารือกับผู้บริหารของศาลนั้นเป็นเรื่องปกติหรือไม่ โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ถ้าดูจากกฎหมาย อย่างรัฐธรรมนูญศาลยุติธรรมให้อำนาจของอธิบดีไม่ว่าจะเป็นอธิบดีศาลชั้นต้น อธิบดีภาค มีหน้าที่ประการหนึ่ง คือการให้คำแนะนำคำปรึกษาเพื่อระมัดระวังให้เป็นไปตามระเบียบ ราชการ ดังนั้นการปรึกษากันจึงเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ส่วนการออกหมายจับและการเพิกถอนหมายจับภายในวันเดียวนั้นประเด็นดังกล่าวต้องขอให้รอทางคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นสรุปข้อมูลดีกว่าเพราะบางเรื่องก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง เป็นประเด็นที่ยังต้องรอทางคณะกรรมการและประธานศาลฎีกา ส่วนที่ฝ่ายสืบสวนของตำรวจสามารถขอออกหมายจับกับทางศาลนั้น การที่เป็นตำรวจโดยหลักก็มีอำนาจ แต่จะมีอำนาจถึงขั้นใด ต้องขึ้นอยู่กับระเบียบของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดไทม์ไลน์ คดีผู้ต้องหาเยอรมันซื้อบริการเด็กต่ำกว่า 15 ปี ได้ประกันตัวออกนอกประเทศ

นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า ประธานศาลฎีกาทราบข้อมูลตามที่ปรากฏข่าวแล้วไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ติดตามความคืบหน้าและให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเหตุและข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าว ซึ่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลในเขตภาค 2

โฆษกศาลแจงขั้นตอนดำเนินคดีเยาวชนใช้อาวุธปืนยิงประชาชน

โฆษกศาลแจงขั้นตอนการดำเนินคดี เยาวชนทำผิด ตร.ต้องคุมส่งศาลใน 24 ชม. เพื่อตรวจสอบการจับเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ส่วนพ่อแม่อาจต้องรับผิดทางแพ่งด้วย

สะท้านวงการ! ศาลเปิดให้ฟ้องคดีแรงงานทางออนไลน์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ดีเดย์! เปิดบริการแล้วระบบปรึกษาและยื่นคำคู่ความคดีแรงงานทางออนไลน์ ลูกจ้างฟ้องได้เองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรรม ผ่านระบบ CIOS

โฆษกศาลออกโรงแจงการนับโทษ 3 คดี 'ทักษิณ' อีกรอบ!

โฆษกศาลเเจง ข้อสงสัยการนับโทษ 3คดีศาลฎีกาฯ นักการเมืองของ 'ทักษิณ' มีเหตุไม่สามารถนับโทษต่อบางคดีได้ ทำให้มีโทษรวม 10 ปี แต่จำคุกจริง 8 ปี

'ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล' คว้าเก้าอี้ ก.ต.คนนอกด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น

ผู้พิพากษาเลือก 'หมออภิชาติ' คณบดีแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ชนะเลือกตั้งซ่อมนั่ง ก.ต.คนนอกด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น