'หมอวรงค์' ให้สัมภาษณ์นิวยอร์กไทมส์ บอกชาวโลก 9 เรื่อง

31 มี.ค. 2566 – นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ในช่วงเลือกตั้งครั้งนี้ ผมได้โอกาสให้สัมภาษณ์พิเศษ New York Times โดยคุณ Sui-Lee Wee ตำแหน่ง Southeast Asia Bureau Chief ที่พรรคไทยภักดี ผมได้สรุปประเด็นสำคัญให้ทราบว่า ผมสื่อสารกับชาวโลกอะไรบ้าง

1.ผมมีความรู้สึกว่าปัญหาของประเทศเกิดจากนักการเมืองทุจริต ร่วมกับทุนผูกขาด และทุนผูกขาดก็นำเงินมาให้พรรคการเมือง มาลงเลือกตั้ง และเมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วทุนผูกขาดก็เข้ามาครอบงำพรรคการเมือง และสุดท้ายมาครอบงำรัฐบาล และนำไปสู่การหาประโยชน์ซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน แต่ ม.112 ไม่เคยทำให้ประชาชนเดือดร้อน

2.ผมพยายามศึกษามาโดยตลอด ผมไม่เคยเห็นสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยสร้างปัญหาให้กับประชาชน แต่สถาบันฯกลับเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวของความเป็นคนไทย นี่คือเหตุผลที่เรามีความรู้สึกว่า สถาบันฯ มีความจำเป็น ถ้าหากไม่มีสถาบันฯ ผมมองว่าประเทศไทยแตกแยก

3.เรื่องการสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ปัจจุบันผมไม่ได้สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยตรง ซึ่งก่อนหน้านี้ผมว่าเขาทำหน้าที่ได้ดี และผมก็สนับสนุนเขา ผมยืนบนหลักความถูกต้อง อะไรที่ไม่ถูกต้องแล้วมีการตำหนิรัฐบาล ผมไปช่วยอธิบายเสมอ แต่หลังจากช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มันมีการคอร์รัปชันเยอะมาก และผมมองว่าเขาเอื้อประโยชน์กับทุนผูกขาด ผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่ เราอาจจะเป็นพันธมิตรกันในการปกป้องสถาบันฯ แต่การต่อสู้เพื่อประชาชน ผมและเขาคิดต่างกัน ผมมีนโยบายในการส่งเสริมทุนขนาดกลางและขนาดเล็กให้เข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้ประเทศเข้มแข็งตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม หลังเลือกตั้งเรามาร่วมกันได้ เพราะผมไมร่วมกับเพื่อไทยกับก้าวไกล

4.ฝ่ายที่พยายามจาบจ้วงยกตัวอย่างการชูนิ้ว/พ่นสี ด่า ให้ร้าย สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่วิถีของคนไทย/การปล่อยเฟกนิวส์ เราจึงออกมาอธิบายความจริง เป็นหน้าที่ในการแสดงออกของพวกเรา พวกเขาพยายามใช้โซเชียลมาปั่นกระแส

5.เราไม่ค่อยมีโอกาสได้พบเจอกับคนรุ่นใหม่นี้โดยตรง ทำให้เราต้องประชาสัมพันธ์ออกไปผ่านทางสื่อโซเซียล ทั้งที่ความจริงแล้วผมพร้อมคุยทุกที่ แม้เวลามีกิจกรรมเหล่านี้ เขาจะไม่ค่อยเชิญผมหรอก ทั้งในประเด็น ม.112 ทั้งๆที่ผมมีข้อมูลชัดเจนและเป็นความจริง

6.ผมเชื่อว่า ปัญหาเรื่องเกี่ยวกับมาตรา112 ถูกแซกแทรงจากตะวันตก โดยชี้ให้เห็นว่า

-การเกิดขบวนการ 3 นิ้ว จากประเทศอื่นๆ เชื่อว่ามีการเชื่อมโยง

-องค์กร NGO แอมแนสตี้ พยายามเข้ามาปกป้องกลุ่มคนที่ออกมาแสดงพฤติกรรมนี้

-ตัวแทนทูตประเทศต่างๆพยายามเข้ามาวุ่นวาย และเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ

-มีการถือธงชาติอุยกูร์ ทิเบต ไต้หวัน ฮ่องกง ในการชุมนุมหลายครั้ง

นี่เป็นภาพรวมที่ทำให้ผมคิดว่ามีขบวนการแทรกแซง

7.ประเด็นเมืองไทยไม่มีเสรีภาพในการพูด ผมมองว่าไม่จริง แต่มีมากจนล้น เพียงแต่เขาใช้วาทกรรมว่า ต้องการพื้นที่ปลอดภัย หลอกคนต่างชาติที่ไม่เข้าใจ และปั่นกระแสหลอกให้คนเข้าใจผิด ที่สำคัญคนพวกนี้ชอบด่า ให้ร้าย เผารูป พ่นสี ไม่ได้พูดแบบมีเหตุผล

8.ผมพยายามสื่อสารว่า ทิศทางประชาธิปไตย มีทิศทางการพัฒนา 2 ทิศทาง คือ 1) republic และ 2) kingdom แต่เราจะไปในทิศทางของ kingdom เพราะเรามีรากทางวัฒนธรรมที่ยาวนานมา7-800ปี ควรจะไปแบบอังกฤษ นอรเวย์ ไม่ใช่ฝรั่งเศสหรืออเมริกา

9.สรุปปิดท้ายว่า พรรคไทยภักดีประกาศไม่รับเงินจากนายทุนผูกขาด และพร้อมเข้ามาปราบโกง ปราบทุจริต
ที่สำคัญ เมื่อพูดถึงนักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายประชาธิปไตย ผมบอกอย่างเต็มปากว่า นักการเมืองไทยส่วนใหญ่ ไม่มีอุดมการณ์ มีแต่เข้ามาทุจริต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แม้ว' หักหลังเสื้อแดง ฟันธงเลือกตั้ง 'เพื่อไทย' แพ้ 'ก้าวไกล'

ความพยายามของคุณทักษิณ ชินวัตร ที่ออกมาปฏิเสธภาพลักษณ์ของพรรคเพื่อไทยว่า ไม่ใช่พรรคอนุรักษ์นิยมใหม่ แต่เป็นพรรครีฟอร์มมาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลัง

ดร.เสรี สมเพช พรรคการเมือง ฝ่ายอนุรักษ์นิยม

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่ากลุ่มอนุรักษ์ หรือกลุ่มเผด็จการตามการเรียกขานของฝ่ายประชาธิปไตย เคยคิดที่จ

วุฒิสภา นัดถกรายงานเสนอ กกต. แก้กฎหมายเลือกตั้ง-พรรค ใช้โซเชียลหาเสียง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้นัดประชุมในวันที่ 9 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.

‘เศรษฐา’ โอ่ 3 ปีครึ่ง นำความเป็นอยู่ที่ดีให้ ปชช. ฉุด ‘พท.’ ชนะเลือกตั้งครั้งหน้า

นายกฯ โอ่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนดีขึ้น และหวังว่าผลที่จะตามมาคือ ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน