ม็อบมาแล้ว! บีบ ส.ว โหวต 'พิธา' เป็นนายกฯ

23 พ.ค.2566 - เวลา 16.00 น. ที่หน้ารัฐสภา มีการนัดชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อกดดันให้สมาชิกวุฒิสลา ลงมติเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้กลุ่มผู้นัดชุมนุม ยืนยันว่ากิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ จะดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยได้มีการแจ้งการชุมนุม และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนแล้ว

น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ แกนนำกลุ่ม กล่าวว่า วันนี้กิจกรรมที่ได้ออกแบบกิจกรรมมาก็คือการส่งเสียงไปถึงส.ว. ถึงบทบาทที่จะยกมือเลือกนายกฯ นั้นมีความชอบธรรมอย่างไรหรือไม่ และอีกส่วนหนึ่งที่ส.ว. หลายคนออกมาพูดในเงื่อนไขต่างๆมากมาย จะยกมือหรือไม่ยกมือเลือกนายกฯ ตนคิดว่ากิจกรรมในวันนี้จะเป็นการย้ำเตือนว่าจริงๆแล้วเขาไม่มีอำนาจและพิเคราะห์เสียงจากประชาชนอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้ดุลพินิจของตนเอง ซึ่งที่มาก็ยังเป็นข้อครหาของพี่น้องประชาชนว่า การมาของส.ว.นั้นมาอย่างไร ซึ่งทำให้ประชาชนไม่ไว้วางใจส.ว.ทั้ง 250 คนอยู่แล้ว

เมื่อถามว่า มีส.ว.บางกุล่มเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีการนัดรวมตัวกัน ต่างมองว่าไม่น่าจะมาทำแบบนี้ น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ตนขอแยกออกเป็น 2 ส่วน จริงๆแล้วส.ว.ไม่ควรมีความเห็นอะไรเลยกับประชาชน ซึ่งส.ว.อาจจะหลงลืมไปในส่วนนี้ ตนยังยืนยันการใช้สิทธิของพี่น้องประชาชน ทางวุฒิสภาจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็เป็นเหตุผลของส่วนบุคคลกันไป แต่ไม่ควรที่จะมีผลต่อการตัดสินใจโหวตเลือกนายกฯ

ถามว่า การชุมนุมในครั้งนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจของส.ว. ต่อการโหวตเลือกนายกฯอย่างไร น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ถ้ามองในมุมที่ดี การสื่อสารในวันนี้จะเป็นไปในทางที่ดี อย่างมีเหตุมีผล และไม่ใช่จังหวะที่ดุดันที่หลายคนคิดเอาไว้ เพราะถ้าหากเราพูดด้วยเหตุผลแล้ว แล้วส.ว.รับฟังกับเหตุผลที่ประชาชนได้นำเสนอไป ทางส.ว. จะใช้ดุลยพินิจของตัวเองในการตัดสินใจ อย่างไรในการยกมือเลือกนายกฯ ตนขอยืนยันว่า ส.ว.ทั้ง 250 คน ไม่สามารถใช้ดุลยพินิจของตัวเอง แต่ควรเป็นมติของประชาชน

เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าการออกมาครั้งนี้เร็วไปหรือไม่ เพราะอีก 2 เดือน กว่าจะโหวตเลือกนายกฯ น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า หลายคนอาจจะจำภาพการชุมนมที่รุนแรง ซึ่งเป็นเพราะภาครัฐที่มีการตอบโต้ผู้ชุมนุม ตนอยากชี้แจงว่าการเคลื่อนไหวทาวการเมือง ที่ค่อนข้างหลากหลายไม่ใช่มีเพียงการชุมนุมเพื่อกดดันเพียงอย่างเดียว การเสนอในแง่มุมอื่นๆเช่นการพูดคุยไปด้วยดี ซึ่งก็ยังมีอีกหลายวิธีมาก ตนอยากให้ลองดูสถานการณ์ในวันนี้ก่อน ที่เตรียมงานกันในวันนี้ไม่ต้องมีการให้ดุดัน แต่ต้องการส่งข้อมูลข่าวสารจากพี่น้องประชาชนไปยังส.ว.ทั้ง 250 คน

ถามว่าในฐานะเป็นแกนนำมาก่อน มองอย่างไรกับรัฐบาลของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ถ้าเป็นเสียงโหวตที่ได้มาจากประชาชนถือว่าเป็นฉันทามติว่าประชาชนอยากจะออกจากระบอบเผด็จการ ต้องการรัฐบาลใหม่ที่พลิกขั้วพลิกข้างเลย ถ้ารัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นเป็นไปตามประชาธิปไตย หวังว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว จะได้ตอบกลับสัญญากับพี่น้องประชาชนไว้จากการเลือกตั้ง

เมื่อถามว่า หวังอะไรในการทำงานของรัฐบาลนายพิธา น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ตนก็หวังทุกรัฐบาล เพราะรัฐบาลชุดนนี้มีการแก้ไขเชิงโครงสร้าง และเป็นการวางรากฐานไม่ให้เกิดการรัฐประหาร เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลชุดนี้จะสร้างกลไกไม่ให้เกิดการรัฐประหารขึ้น เป็นประชาธิปไตยไม่สามารถที่จะต่อรัฐประหารได้

พอถามว่า เมื่อวาน(22 พ.ค.) ที่มีการเซ็น MOU ร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค ไม่มีเรื่อง มาตรา 112 ผิดหวังหรือไม่ น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ตนคิดว่าหลายคนอาจจะคิดไม่ตรงกัน ส่วนตัวแล้วมองว่ามาตรา112 ของพรรคร่วมรัฐบาล บางพรรคอาจจะไม่พูดอย่างชัดเจน แต่ถ้าทางพรรคก้าวไกลยืนยันว่าอย่างไรก็ต้องแก้ไข ตนเห็นว่า อย่างไรก็ต้องเกิดขึ้น

เมื่อถามย้ำว่า หากทางพรรคก้าวไกล ยังไม่เสนอเรื่อง มาตรา112 แล้วไปผลักดันเรื่องอื่นก่อน มองเรื่องนี้อย่างไร น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า ตนมองว่าภายใน4ปีนี้ หากพรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล ต้องมีเรื่องนี้อย่างแน่นอน แต่ถ้ารัฐบาลไม่ผลักดัน ประชาชนจะผลักดันเรื่องนี้อย่างแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สว.2567 เสี่ยงได้ วุฒิสภา สายพรรคการเมือง เชื่อมโยงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่

เข้าสู่ช่วงเตรียมนับถอยหลังใกล้โบกมือลา สิ้นสุดการทำหน้าที่ของ สมาชิกวุฒิสภา ชุดปัจจุบันจำนวน 250 คน ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมี สว.ชุดใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่

โปรดฟังอีกครั้ง! สายลมเปลี่ยนแปลงกำลังตั้งเค้าทะมึน

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์

'เสรี' ซัดบางพรรคระดมคนสมัคร สว. แสวงหาอำนาจให้พวกพ้อง เอาเปรียบประชาชน

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สว. ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวบนเวทีสัมมนา เรื่อง บทบาทหน้าที่อำนาจ และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ 2567

จับตาประธานศาลปกครองสูงสุด 'อิศรา' เปิดจม. 'วิษณุ วรัญญู' แจงสว. ปมป๋าเปรม-งานแต่งปิยบุตร

จากกรณีที่ นายวิษณุ วรัญญูู รองประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(ก.ศป.) ให้เป็นประธานศาลปกครอ