'ชูวิทย์' ตามขยี้ 'นายกฯดิจิทัล' บริษัทนอมินี ทำธุรกรรม 3 อย่างในวันเดียวกัน เงินทอน 435 ล้านอยู่ไหน

16ส.ค.2566 - นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้

แม่บ้าน มหาสารคาม รปภ. ร้อยเอ็ด ซื้อที่ดินทองหล่อ 1,000 ล้าน ด้วยเงินกู้จากแสนสิริ
.
แสนสิริออกแถลงการณ์ตอบโต้ ขอแจงเป็นข้อๆ ดังนี้
.
1. บ. เอ็น แอนด์ เอ็น มีแม่บ้านจากมหาสารคาม ถือหุ้น 99.998 % ที่เหลือ เป็น รปภ. 2 คน
.
แม่บ้านเลี้ยงเป็ดไก่ ไม่เคยเสียภาษี และ รปภ. 2 คน ก็เสียภาษีปีละ 500 บาท
.
ย่อมไม่มีทางซื้อที่ดินใจกลางทองหล่อ และกู้เงินจาก บ.แสนสิริ หรือ บริษัทลูกของแสนสิริได้ 1,000 ล้านบาท
.
2. ที่ดินทองหล่อที่แสนสิริซื้อมาจาก บ. เอ็น แอนด์ เอ็น อ้างว่าราคาตารางวาละ 1.1 ล้านบาท เหมาะสมกับราคาตลาด ณ ขณะนั้น
.
แต่ราคา 565 ล้านบาท หรือตารางวาละ 650,000 บาท ในปี 2558 มีระบุในทางบัญชีด้วยทุนจดทะเบียนของ บ.เอ็น แอนด์ เอ็น 100 ล้านบาท ที่ชำระแล้ว และหนี้จากธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ อีก 465 ล้านบาท
.
เป็นราคาที่บันทึกตามหลักบัญชี หากมีการจ่ายใต้โต๊ะเพิ่มอีก ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่มีใครทราบได้
.
เพราะแม่บ้าน และ รปภ. คงไม่มีความสามารถในการกระทำแบบนั้น
.
จึงต้องดูหลักฐานว่า บ.เอ็น แอนด์ เอ็น ชำระไปตามมูลค่าที่บันทึกทางบัญชีเท่าไหร่
.
ราคาที่อ้างว่าเหมาะสม ไม่มีหลักฐานอื่นว่า จ่ายเงินแพงกว่านี้
.
แต่เจ้าของ เอ็น แอนด์ เอ็น คนเก่า ซื้อที่มาตั้งแต่ปี 2551 ราคาตลาดขณะนั้นอยู่ที่ 290,000 บาทต่อตารางวา
.
การพูดของแสนสิริ จึงไม่มีหลักฐานพิสูจน์ใดๆ แต่ผมมีหลักฐานทุกอย่าง
.
3. เจ้าของ บ.เอ็น แอนด์ เอ็น เดิม ได้ขายบริษัทให้ “นอมินี” อันมี แม่บ้าน และ รปภ. ถือหุ้น เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
.
ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่บริษัทลูกของแสนสิริ คือ บ. อาณาวรรธน์ จำกัด ให้ “แม่บ้าน กับ รปภ.” กู้เงิน 1,000 ล้านบาท เอาไปปลอดจำนองที่ดินจาก ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และซื้อหุ้นจากเจ้าของ บ.เอ็น แอนด์ เอ็น คนเก่า
.
เมื่อแสนสิริ ซื้อที่ดินมาในปี 2559 หลังจากตัวเองให้กู้เงิน 1,000 ล้านบาทไป
.
จึงเป็น “พฤติการณ์ซ่อนเร้น” ของแสนสิริ
.
ที่ต้องรู้ว่าการให้กู้ถึง 1,000 ล้านบาท ในขณะที่มี “แม่บ้าน กับ รปภ.” เป็นเจ้าของ บริษัทแบบ 100% เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล
.
4. บ. อาณาวรรธน์ “ให้กู้เงิน 1,000 ล้านบาท” และทำสัญญาจำนองที่ดินไว้อย่างชัดเจน
.
แต่ครอบไว้ด้วย “สัญญาจะซื้อจะขาย” เป็นเงื่อนไขแนบท้าย อันเป็นเรื่องผิดวิสัย หากจะซื้อก็ซื้อได้ แต่ทำไมต้องให้จำนองเอาไว้ด้วย
.
โดยมีรายงานการประชุมของทั้ง 2 บริษัท ที่ขอจำนอง (บริษัทนอมินี) และผู้ให้จำนอง (บ. อาณาวรรธน์ บริษัทลูกของแสนสิริ) ที่กรมที่ดินเป็นหลักฐาน
.
สรุปได้ว่า บริษัทนอมินีที่มี แม่บ้าน กับ รปภ. เป็นเจ้าของ ได้เงินส่วนต่างไป 435 ล้านบาท
.
และต่อมาทิ้งให้บริษัทนี้ร้าง โดยไม่ส่งงบการเงินติดต่อกัน 5 ปี
.
หลักฐานทั้งหมดได้ส่งให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) พิจารณาการกระทำของแสนสิริในการใช้เงินของผู้ถือหุ้น
.
โดยในขณะนั้น บ.แสนสิริ และ บ.อาณาวรรธน์ มีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นกรรมการ และอยู่ในที่ประชุมคณะกรรมการอนุมัติทั้งให้กู้ และซื้อที่ดิน
.
แสนสิริชี้แจงแบบผ่านๆ โดยไม่เอ่ยถึงผู้ถือหุ้น บ.เอ็น แอนด์ เอ็น ที่เป็น แม่บ้าน กับ รปภ. ที่ “ทำธุรกรรม 3 อย่างในวันเดียวกัน” คือ
.
1. เข้าซื้อ บ.เอ็น แอนด์ เอ็น 100 ล้านบาท
.
2. ไถ่ถอนจำนองที่ดินจาก LH Bank 465 ล้านบาท
.
3. บริษัทลูกของแสนสิริให้กู้ 1,000 ล้านบาท
.
ยังเหลือเงินที่ไม่ได้ใช้อีก 435 ล้านบาท
.
ทั้ง 3 ขั้นตอน เกิดขึ้นภายในวันเดียวกัน คือ 11 กุมภาพันธ์ 2558
.
หลังจากนั้นปี 2559 แสนสิริก็มาซื้อที่ดินจาก แม่บ้าน และ รปภ. ในราคา 957 ล้านบาท
.
คำถามง่ายๆ บ.เอ็น แอนด์ เอ็น ที่มี “แม่บ้าน และ รปภ.” ถือหุ้นใหญ่ จะสามารถมีเงินไปซื้อที่ดินทองหล่อได้หรือไม่?
.
เงินทอนตกหล่นไปอยู่ที่ใคร?
.
วานบอกที

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ก้าวไกล' รุมจวก 'เศรษฐา' เก่งแต่ใช้ปากต่อว่าคนอื่นแต่ทำงานไม่ได้เรื่อง

'ชุติพงษ์' ฟาด 'เศรษฐา' แก้ปัญหาสารเคมี ถ้าใช้ปากทำงานมาเป็นฝ่ายค้านดีกว่า ไม่ต้องเป็นรัฐบาล ชี้มีอำนาจแต่สั่งการไม่ได้ผลสักอย่าง 'ทวิวงศ์' เผยเหตุไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมีที่อยุธยา

'หมอนทองเขาบรรทัด' สินค้า GI รายการที่ 3 ของตราด

รัฐบาลมุ่งเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นไทย ขึ้นทะเบียนทุเรียนหมอนทองเขาบรรทัด เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จังหวัดตราด เพื่อความเชื่อมั่นคุณภาพสินค้า ยกระดับรายได้ชุมชน