สมาคมทนายความฯ ชี้ 'มาตรฐานทางจริยธรรม' ในรธน.60 มีปัญหา สร้างความขัดแย้งเพิ่ม

26 กันยายน 2566 – นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 25 กันยายน ระบุว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 219 บัญญัติให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อควบคุมการปฏิบัติตนของผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ซึ่งรวมถึง ส.ส.และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวมีความสง่างาม อันจะทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือ เคารพยกย่อง เสมือนพระสงฆ์ที่ถือศีลและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ย่อมจะได้รับการเคารพกราบไหว้จากสาธุชนอย่างเต็มใจ

มาตรฐานทางจริยธรรมจึงมีขึ้นเพื่อควบคุมการปฏิบัติตน หรือการครองตนในขณะดำรงตำแหน่ง เพราะหากมีการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมเกิดขึ้นก่อน หรือภายหลังการดำรงตำแหน่ง ก็ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบต่อการดำรงตำแหน่ง จึงไม่มีเหตุที่จะไปถอดถอนผู้นั้นอีก เช่น กรณีของพระองคุลีมาลที่แม้จะเคยฆ่าคนมามากมาย อันถือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก แต่เกิดขึ้นก่อนการบวช จึงไม่ทำให้ท่านขาดจากความเป็นสงฆ์ ผู้ใดจะเอาการกระทำนั้นมากล่าวหาเพื่อให้ท่านขาดจากความเป็นสงฆ์ในภายหลังไม่ได้

ในทางสากล หากบุคคลในองค์กรใดมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎกติกาก็จะให้องค์กรนั้นเป็นผู้ดำเนินการ หากเป็นนักการเมืองที่มาจากประชาชนก็จะให้องค์กรที่มาจากประชาชนขับ หรือถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่ง เช่น กรณีวุฒิสมาชิกของสหรัฐลงมติให้ถอดถอนประธานาธิบดี อดีตประธานาธิบดี หรือกรณีของสงฆ์ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดพระธรรมวินัยก็จะให้คณะสงฆ์เป็นผู้พิจารณา หรือแม้แต่ผู้พิพากษาที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้คณะกรรมการตุลาการเป็นผู้พิจารณา เป็นต้น ยกเว้นการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาด้วย จึงจะส่งเฉพาะเรื่องนั้นให้ศาลพิจารณาลงโทษทางอาญา

ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประชาชนและศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงผิดพลาดและบิดเบือนอำนาจของประชาชน ผลของการตัดสินได้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองอีกครั้ง จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตย การปล่อยให้รัฐธรรมมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไปจะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น รัฐบาลจึงควรเร่งกระบวนการเพื่อให้ประชาชนได้มีรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นเองบังคับใช้ รวมทั้งควรล้างบาปนิรโทษกรรมคืนสิทธิทางการเมืองให้กับบุคคลที่ถูกตัดสิทธิด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกสมาคมทนาย เตือนตร.ตั้งข้อหานักข่าวหนุนพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ต้องดูฎีกาให้ดี

นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกบันทึกจากนายกสมาคมทนายความฯ ความ กรณีพนักงานสอบสวนสน.พระราชวังดำเนินคดีกับ นายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ อายุ 35 ปีกับ นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้ต้องหาที่ 1-2 ผู้ต้องหากระทำความผิดฐาน

'เทพไท' ยำรธน.ให้เอกสิทธิ์ส.ส.มากเกินไป ไม่เหมือนปี 2518 โหวตสวนมติพรรค ถูกประจานจารึกชื่อบนหนังหมา

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ ดัดหลังส.ส.โหวตสวนมติพรรค โดยมีรายละเอียดดังนี้ ใครจะว่ารัฐธรรมนู

'ทั่นโตโต้' ออกโรงซัดศาลฎีกาวางบรรทัดฐานถูกแล้วหรือปมถอนสิทธิ 'ช่อ พรรณิการ์'

โตโต้แถลงปม ช่อ พรรณิการ์ ถูกศาลฎีกาฟันถอนสิทธิ์ลงเลือกตั้ง ถามใช้มาตรฐานจริยธรรมนี้เหมาะสมแล้วหรือ ชี้ กม.มีปัญหาลงโทษซ้ำซ้อน มองศาลไม่ควรตัดสินถูก-ผิด เพราะจะกลายเป็นบรรทัดฐานต่อ

'นายกสมาคมทนายความ' แนะก้าวไกลถอย 112 เสียสละประโยชน์พรรคเพื่อตั้งรัฐบาลให้ได้

นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความว่า ต้นเหตุแห่งความวุ่นวายทางการเมืองจนเกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนรอบใหม่ เกิดจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

หนาว! เรืองไกรชง ป.ป.ช.สอบ 'ส.ส.-ส.ว.' โหวตนายกฯ ทั้งที่รู้มีลักษณะต้องห้าม

'เรืองไกร' ร้อง ป.ป.ช. ตั้งเรื่องสอบ ส.ส. และ ส.ว.ที่จะโหวตนายกฯ ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 จะเข้าข่ายฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 234 วรรคหนึ่ง (1) หรือไม่