อึ้ง! คนไม่ถึงครึ่งรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินยุคนี้

หอมกลิ่นความเจริญ! นิด้าโพลจับมือสำนักงานยุติธรรมเผยผลสำรวจ ประชาชนแค่ 40% รู้สึกปลอดภัย ซ้ำร้าย 41% ยังไม่เชื่อมั่นมาตรการของเจ้าหน้าที่รัฐ เชียร์ผุดแอปเตือน-แจ้ง-แนะนำ

27 ก.ย.2566 - สำนักงานกิจการยุติธรรมร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม” โดยทำ การสำรวจระหว่างวันที่ 1-10 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยการสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพล สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) และกระจายตัวอย่างทั่วประเทศไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น 97%

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินในสภาพสังคมปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง 40.31% ระบุว่า รู้สึกค่อนข้างปลอดภัย 29.77% รู้สึกไม่ค่อยปลอดภัย 20.46% รู้สึกปลอดภัยมาก และ 9.46% รู้สึกไม่ปลอดภัยเลย

ด้านความเชื่อมั่นต่อมาตรการของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลความปลอดภัยในร่างกายและทรัพย์สิน พบว่า ตัวอย่าง 41.91% ไม่ค่อยเชื่อมั่น 33.59% ค่อนข้างเชื่อมั่น 12.98% ไม่เชื่อมั่นเลย และ 11.52% เชื่อมั่นมาก

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อประเด็นเนื้อหาที่ภาครัฐควรจัดให้มีในระบบหรือแอปพลิเคชัน (Application) เพื่อพยากรณ์สถานการณ์การเกิดอาชญากรรมหรือการแจ้งข้อมูลให้ทราบถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่/ช่วงเวลา พบว่า ตัวอย่าง 91.25% เห็นว่าภาครัฐควรจัดให้มีการค้นหาสถานีตำรวจใกล้เคียงในระบบ
หรือแอปพลิเคชัน (Application) มากที่สุด รองลงมา 89.50% การแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยอาชญากรรม 87.75% การแจ้งพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและช่วงเวลาการเกิดอาชญากรรม และการแจ้งข้อมูลองค์ความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการป้องกันภัยอาชญากรรม 87% ข้อมูลสถิติการเกิดอาชญากรรม และ 85.75% ข้อมูลวางแผนการเดินทาง เพื่อรับรู้ระดับความเสี่ยงอาชญากรรมในพื้นที่ ตามลำดับ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงเรื่องที่ต้องการทราบหากหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมจะมีการจัดทำระบบหรือแอปพลิเคชัน (Application) เพื่อการเรียนรู้กฎหมายในช่องทางออนไลน์ พบว่า ตัวอย่าง 58.55% ระบุว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับกลโกงในสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) มากที่สุด รองลงมา 53.21% เรื่องช่องทางการดำเนินการจากการถูกฉ้อโกงของมิจฉาชีพ 51.22% เรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 37.33% เรื่องช่องทางการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย 36.64% เรื่องกฎหมายจราจร 32.67% เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาที่ไม่เป็นธรรม 29.08% เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินและหนี้นอกระบบ 28.02% เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน 24.43% เรื่องการขอรับ
ความช่วยเหลือหรือเยียวยา ในกรณีตกเป็นผู้เสียหายหรือแพะจากการถูกดำเนินคดี 15.42% เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดี และคดีล้มละลาย 13.89% เรื่องการดำเนินคดี การประกันตัว ค่าธรรมเนียมศาล ทนายความ และ 12.44% เรื่องกฎหมายประกันภัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นิด้าโพลชี้ประชาชนไม่เชื่อแก้ พ.ร.บ.กลาโหม จะหยุดรัฐประหารได้

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “หยุดรัฐประหาร!” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

หรือจะเหนื่อยฟรี! โพลชี้ ‘ทักษิณ’ เคลื่อนไหว ไม่มีผลต่อคะแนนนิยม ‘เพื่อไทย’ ครั้งหน้าก็ยังแพ้

ถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.98 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย