03 ม.ค.2567 - เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิกพร้อมเนื้อหาว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 3 ม.ค. 2567 เวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 22.0-55.8 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 32.7 มคก./ลบ.ม.
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 22 - 55.8 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 15 พื้นที่ คือ
1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 55.8 มคก./ลบ.ม.
2.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 47.2 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 45.0 มคก./ลบ.ม.
4.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 45.0 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 43.9 มคก./ลบ.ม.
6.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
7.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
8.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 41.3 มคก./ลบ.ม.
9.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
10.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 40.9 มคก./ลบ.ม.
11.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 40.8 มคก./ลบ.ม.
12.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 39.7 มคก./ลบ.ม.
13.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
14.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 38.9 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ
ข้อแนะนำสุขภาพ: คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 3-11 ม.ค. 67 การระบายอากาศไม่ดีถึงอ่อน (ยกเว้น 11 ม.ค. 67 ดี) ประกอบกับเกิดสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองเนื่องจากการระบายอากาศเป็นไปอย่างจำกัด
จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA วันนี้ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วไทย พร้อมคาดการณ์ 7 วันข้างหน้า
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
เช็กเลย! กทม. ส้มพรึ่บ 69 พื้นที่กระทบสุขภาพ พบ Hotspot 2 จุด
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07.00 น. คุณภาพอากาศ กทม. อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบกับสุขภาพ ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
คนกรุงยังหายใจไม่โล่ง ฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กลับมาส้ม 12 พื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 32.8 มคก./ลบ.ม.
คนกรุงยุคชัชชาติอ่วม! ฝุ่นพิษระดับสีแดง 21 พื้นที่สีส้ม 49 พื้นที่
เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิกพร้อมเนื้อหา
คนกรุงยังคลุกฝุ่น PM 2.5 แดง 6 พื้นที่ ส้ม 64 พื้นที่ แมสก์ต้องเข้าหน้าแล้ว WFH ถ้าทำได้
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 62.6 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 64 พื้นที่
คนกรุงเทพฯยุค ผู้ว่าฯชัชชาติ ยังจมฟุ่นพิษ PM 2.5 เกินมาตรฐานระดับสีส้ม 70 พื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 15 มกราคม 2568 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 56.7 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 70 พื้นที่