ฟื้นคุ้ยแลนด์บริดจ์!เครือข่ายรักษ์ชุมพร-ระนองบุกสภาร้อง 4 กมธ.

เครือข่ายรักษ์ชุมพร-ระนองบุกสภา ร้อง ปธ.กมธ. 4 คณะตรวจสอบ โครงการแลนด์บริดจ์ ในทุกมิติ เหตุมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ- รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาคนในพื้นที่

06 มี.ค. 2567 - ที่รัฐสภา เครือข่ายรักษ์ชุมพร-ระนอง เดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร, ประธาน กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน, ประธาน กมธ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ, ประธาน กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้ตรวจสอบโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (โครงการแลนด์บริดจ์) ระนอง-ชุมพร

โดยตัวแทนเครือข่ายรักษ์ชุมพร-ระนอง กล่าวว่า การมายื่นหนังสือต่อ กมธ.ทั้ง 4 คณะ เพื่อให้มีการตรวจสอบหลายมิติ เพราะในพื้นที่ตอนนี้มีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ และไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาของพี่น้องในพื้นที่ ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและระฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นำเสนอนโยบายการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ด้วยการผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร และอ้างว่าจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคและประเทศนี้โดยรวม อันเป็นไปได้ตามความต้องการของคนในประเทศและเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

พวกเราเครือข่ายรักษ์ระนอง-ชุมพร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่โครงการแลนด์บริดจ์ ที่ไม่อยู่ในสมการการพัฒนาของท่านนายกรัฐมนตรี ด้วยมีความเห็นที่แตกต่างกับท่านนายกรัฐมนตรี ที่ว่าหากโครงการนี้เกิดขึ้นได้จริง จะสร้างผลตอบแทนอย่างมหาศาลให้กับคนภาคใต้และคนไทยทั้งประเทศในภาพรวมได้ทั้งหมด และท่านก็ได้นำความคิดนี้ไปนำเสนอกับผู้นำและนักธุรกิจใหญ่ในหลายประเทศมาแล้ว

แม้จะมีเสียงทักท้วงอย่างหนักทั้งจากนักวิชาการ และผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์รายใหญ่ของประเทศนี้ว่า ประเทศไทยอาจจะมีความเสี่ยงหากมีการดำเนินโครงการนี้จริง เพราะเป็นโครงการที่ขัดกับงานศึกษาทางวิชาการ และไม่ตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการด้านโลจิสติกต์ ซึ่งจากจากท่านจะไม่สนใจรับฟังแล้ว ท่านยังเดินหน้าไปต่างประเทศ เพื่อเชิญชวนให้เขาเหล่านั้นเข้ามาลงทุนในโครงการนี้อย่างไม่หยุดหย่อน

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ ได้มีข้อสังเกตสำคัญ ที่ต้องการจะนำเสนอให้ กมธ.ทั้ง 4 คณะ ทราบเบื้องต้น อันเชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การตรวจสอบรัฐบาลต่อไป ดังนี้ 1. กระบวนการศึกษาที่ผ่านมา ถือว่าด้อยมาตรฐานทางวิชาการ และไม่เคารพการมีส่วนร่วมของประชาชน หากนับตั้งแต่วันเริ่มต้นในการศึกษาออกแบบ และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละโครงการย่อย ถือว่าเป็นกระบวนการที่มาตรฐานด้านวิชาการ และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนตกต่ำเป็นอย่างมาก จนมีคำถามว่า ในขณะที่โครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ ทำไม่กระบวนการศึกษาถึงไม่สมราคา ซึ่งพวกเราเห็นว่ารัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้เป็นอันดับแรก เพราะจะเป็นการเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ ผ่านการศึกษาและการเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงรอบด้าน อันจะทำให้รัฐบาลได้รับข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาจากกระบวนการที่ดี เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจดำเนินโครงการอย่างถูกต้อง หาใช่เพียงแค่การสร้างพิธีกรรม เพื่อให้เสร็จตามกฏหมายบังคับ หากแต่ต้องสร้างมาตรฐานให้ดีกว่าโครงการอื่นๆ ที่เคยทำมา ที่ควรจะผิดแผกแตกต่างจากยุครัฐบาลอื่นใดก่อนหน้านี้

2. โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องประกอบด้วยโครงการย่อยอีกหลายโครงการ แต่กลับไม่มีการศึกษาผลกระทบและผลสัมฤทธิ์ในภาพรวม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และด้านสุขภาพ กลับพบว่าเป็นการแยกกันศึกษาเป็นรายโครงการย่อยที่ต่างคนต่างทำ อย่างเช่น โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกอ่าวอ่าง โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมริ่ว โครงการรถไฟรางคู่ โครงการมอเตอร์เวย์ โครงการนิคมอุตสาหกรรม ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเชื่อว่าจะมีโครงการอื่นๆ ตามมาอีกหลายโครงการ ซึ่งวิธีการศึกษาเช่นนี้จะไม่ทำให้เห็นภาพใหญ่ของโครงการทั้งหมด อันจะทำให้ขาดระบบการประมวลผลกระทบ และผลสมฤทธิ์ของโครงการที่แม่นยำ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจ และการดำเนินโครงการที่ผิดพลาดได้ง่าย ซี่งรวมไปถึงการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภา ที่ได้สรุปรายงานไปแล้ว ซึ่งถูกมองว่าเป็นรายงานที่ทำขึ้นเพียง เพื่อเอาใจรัฐบาลและท่านนายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่กลับไม่ได้นำเสนอข้อสังเกตสำคัญ ที่ประชาชนในพื้นที่พยายามให้ข้อมูลไปแล้วแต่อย่างใด

3.นายกรัฐมนตรีต้องคำนึงถึงศักยภาพการพัฒนาจังหวัดระนอง ชุมพร และภาคใต้ในมิติอื่นๆ ด้วย กล่าวคือ ถ้าโครงการแลนด์บริดจ์ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ รัฐบาลเคยคิดไว้หรือไม่ว่าควรพัฒนาจังหวัดระนอง ชุมพร ไปในทิศทางใด นอกจากนี้ ซึ่งพวกเรามีความเชื่อว่าจังหวัดระนอง ชุมพร และภาคใต้ ยังมีศักยภาพอีกมากที่ไม่ถูกพัฒนาอย่างจริงจัง อย่างเช่น มิติของการท่องเที่ยว การประมง และการเกษตร ที่เพียงรัฐบาลกล้าคิดแตกต่างจากรัฐบาลอื่นๆที่ผ่านมา ก็จะสามารถสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับภาคใต้ได้ไม่ยาก ด้วยเพราะภาคใต้ไม่เคยถูกส่งเสริมการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ศักยภาพที่มีอยู่แปล่งประกายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเรายังเชื่อว่าหากมีรัฐบาลที่ฉลาดมากพอ ก็จะสามารถสร้างการพัฒนาที่จะทำให้คนในพื้นที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน มากกว่าโครงการแลนด์บริดจ์หลายเท่า

และ 4.โครงการนี้กำลังทำร้ายความมั่นคงในชีวิต ทรัพย์สิน และความมั่นคงในแหล่งอาหาร และฐานทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น ด้วยเพราะจะเป็นโครงการที่ต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก เพื่อการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย และพื้นที่สำหรับสร้างเส้นทางรถไฟและมอเตอร์เวย์ตลอดเส้นทางกว่า 90 กิโลเมตร ยังไม่นับรวมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่จะตามมา นั่นหมายถึงการสูญเสียที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย แหล่งผลิตอาหารและฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก อันหมายถึงการล่มสลายของชุมชนดั้งเดิม ที่หมายถึงฐานรากสำคัญของสังคมไทย

จึงขอเสนอให้ให้ กมธ.ทั้ง 4 คณะ ติดตามตรวจสอบการดำเนินของโครงการฯ ดังนี้ 1. โครงการนี้กำลังแอบอ้างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีหรือไม่ และ 2.โครงการนี้เข้าข่าย บ่อนทำลายความมั่นคงแห่งรัฐ และเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนต่างชาติหรือไม่ ด้วยเพราะมีการกล่าวอ้างสร้างวาทกรรมและความเชื่อว่า จะสร้างความเจริญ สร้างงาน และการพัฒนาที่จะสร้างรายได้ให้กับประชาชนภาคใต้ อันจะเป็นประโยชน์กับประชาชนโดยรวมของประเทศต่อไป ทั้งที่ไม่มีการประเมินความเสียหายในมิติอื่นๆ อย่างเช่นด้านสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จะต้องแลก พร้อมกับการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ด้วยการให้ประเทศต่างชาติที่เข้ามาลงทุนได้สิทธิในการสัมปทานพื้นที่โครงการทั้งหมดหลายสิบปี

เครือข่ายรักษ์ระนอง-ชุมพร ในฐานะตัวแทนของพี่น้องชาวจังหวัดระนองและชุมพร จึงขอนำเรียนถึงข้อกังวล และประเด็นที่ต้องการให้ กมธ.ทั้ง 4 คณะ ได้ตรวจสอบโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร ดังที่ได้นำเรียนไว้เบื้องต้น และหวังว่าจะเป็นกลไกที่จะช่วยให้พวกเราได้รับคำตอบในเรื่องนี้อย่างชัดเจนมากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'โรม' ยกคณะกมธ.มั่นคงฯ ถก ผบ.ทร. รับเข้าใจกองทัพเรือ ยันมาเพื่อช่วย ไม่ใช่จ้องจับผิด

'โรม' ยกคณะ กมธ.มั่นคงฯ ถก ผบ.ทร. รับเข้าใจกองทัพเรือ อยู่ในช่วงที่ไม่ง่าย หลังเกิดเหตุเรือหลวงคีรีรัฐ ถูกยิงวานนี้ ยันมาเพื่อช่วย ไม่ใช่จ้องจับผิด ยังไม่ขอคอมเม้นต์ โซเชียลวิจารณ์ ทร.ขาดมาตรฐาน หลังเกิดเหตุร้ายแรงซ้ำหลายครั้งในรอบปีกว่า ขอรอฟังผลสรุปก่อน

กมธ.ความมั่นคงฯ ยืนตาม 'ธรรมนัส' ห้ามนำยางพาราเมียนมาผ่านประเทศ

กมธ.ความมั่นคงฯ เผยเห็นร่วม รมว.เกษตรฯ สั่งระงับนำผ่านยางพาราจนกว่ามีมติ ครม. หลังลงพื้นที่สังขละบุรี พร้อมส่งไม้ต่อ ให้ พาณิชย์-กต.เจรจาทำข้อตกลงร่วมทางการเมียนมา

“อนุทิน” ปลุก "ชาวระนอง" หนุนโครงการแลนด์บริดจ์ มั่นใจ บูมเศรษฐกิจ ไม่กระเทือนท่องเที่ยว

29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่โรงเรียนชาติเฉลิม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

'อดิศร' ร่ายกลอนเหน็บ 'ก้าวไกล' ไม้ซีกงัดไม้ซุง แลนด์บริดจ์ ซัดมีอะไรที่เห็นด้วยบ้าง

นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) โพสต์ข้อความเป็นบทกลอน ผ่าน X ในบัญญชี Dr.Adisorn Piengkes กรณีพรรคก้าวไกลค้านโครงการแลนด์บริดจ์ ว่า

'เจ๊มนพร' แจงยิบปมแลนด์บริดจ์ลั่นรัฐบาลจะทำให้เป็นจริง!

'มนพร' เหมาตอบกระทู้สด 'แลนด์บริดจ์' ย้ำหากไม่คุ้มค่าจะทบทวน ด้าน 'ก้าวไกล' ซัดขายฝัน ทั้งที่ยังศึกษาไม่เสร็จ เหน็บนายกฯ ไปเร่ขายทำไมหวั่นจะขายหน้า