คกก.กลั่นกรองดีเอสไอ มีมติรับสำนวน 'ดิไอคอน' เป็นคดีพิเศษ หลักฐานชัดผิด 2 ข้อหา

29 ต.ค.2567 - ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ร.ต.อ.วิษณุ ฉิมตระกูล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รองผบช.ก. ร่วมกันให้สัมภาษณ์ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ และเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ระยะเวลา 2 ชม. เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงของสำนวนคดี และการดำเนินการของตำรวจทั้งหมด เพื่อส่งมอบให้ดีเอสไอรับไปดำเนินการเป็นคดีพิเศษ ตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 นั้น

ร.ต.อ.วิษณุ กล่าวว่า หลังจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลางได้ส่งสำนวนให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ โดยดีเอสไอจะมีการพิจารณารับเป็นคดีพิเศษได้ 2 ช่องทาง คือ 1.ความผิดตามบัญชีท้าย หรือ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และ 2.หากไม่ได้อยู่ในบัญชีท้ายก็จะเป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งในกรณีนี้ทางอธิบดีดีเอสไอได้มอบหมายให้ตนในฐานะประธานกลั่นกรองการรับเป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรค 1 (1) ซึ่งจะเกี่ยวกับ พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ ประกอบกับ พ.ร.บ.คอมพ์ ส่วนนี้จะอยู่ในบัญชีท้ายของ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 จึงได้เชิญพนักงานสอบสวนของ บช.ก. และผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม และพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอันเป็นประโยชน์ให้คณะกรรมการกลั่นกรองได้พิจารณาในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม เราจะรับข้อเท็จจริงและพิจารณาพยานหลักฐานว่าเป็นความผิดตามบัญชีท้ายอย่าง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินฯ มีลักษณะเป็นคดีพิเศษหรือไม่ แต่เท่าที่รับฟังข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินฯ และ พ.ร.บ.คอมฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์เพื่อรีบเสนอให้อธิบดีดีเอสไอพิจารณารับเป็นคดีพิเศษใน 2 ความผิดนี้ต่อไปในช่วงบ่ายวันนี้ ทั้งนี้ ดีเอสไอจะทำงานร่วมบูรณาการกับตำรวจ ไม่ใช่การนับ 1 แต่เป็นการนับ 9 นับเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด ดังนั้น หากดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษแล้ว ทางตำรวจก็ยังจะมาร่วมสอบปากคำกับดีเอสไอได้ ส่วนสถานที่ที่จะใช้ในการสอบปากคำต้องขอประชุมพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง เพื่อให้สะดวกที่สุด ยืนยันว่าเราไม่ไปตัดอำนาจของตำรวจที่มีการทำมาก่อนแน่นอน เพราะเราทำงานร่วมกัน สนับสนุนกัน บูรณาการทีมงานกัน และทาง บช.ก. ก็ได้ส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมมาให้ดีเอสไอตลอดเวลา

ร.ต.อ.วิษณุ เผยอีกว่า การจะสอบปากคำผู้ต้องหารายใดเพิ่มเติม ดีเอสไอจะประชุมร่วมกันกับตำรวจเพื่อพิจารณาว่าส่วนใดบ้างที่ บช.ก. อยากจะดำเนินการ อีกทั้งเรื่องหมายจับของผู้ต้องหากลุ่มถัดไป ดีเอสไอขอดูที่พยานหลักฐานสำคัญที่ต้องเพียงพอตามสมควร และเราต้องพิจารณาร่วมกับตำรวจสอบสวนกลาง จะทำอย่างมีประสิทธิภาพ และจะทันผัดฝากขังผู้ต้องหาแน่นอน เพราะข้อกล่าวหา พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ สามารถขยายเวลาฝากขังได้ถึง 7 ฝาก แต่เราก็ต้องรีบพิจารณารวดเร็วด้วย ทั้งนี้ จะได้มีหนังสือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอให้อัยการมาร่วมเป็นที่ปรึกษาในคดี รวมทั้งจะเชิญผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทุกด้านมาเป็นที่ปรึกษาในคดีเช่นเดียวกัน เพราะเราต้องดูการต่อสู้ของผู้ต้องหาและประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องเส้นทางการเงิน การวิเคราะห์ การเสียภาษี เป็นต้น เนื่องด้วยเขาอยู่ในวงการขายตรงมาหลายปี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บอสพอล' โวยเหมือนถูกมัดมือมัดเท้า ย้อนถามผมผิดอะไร คดีนี้ไม่มีผู้เสียหายแม้แต่คนเดียว

เพจเฟซบุ๊ก "วรัตน์พล วรัทย์วรกุล (บอส พอล)" ของนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือ "บอสพอล" ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ถูกดำเนินคดีฐานร่วมกันฉ้อโกง ร่วมกันฟอกเงิน และ แชร์ลูกโซ่ ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

'เคนโด้-อี้' จี้ดีเอสไอ สอบบริษัทเครือข่ายขายซิม-รถยนต์ของ 'สามารถ' หลังยึดได้ 15 คัน

ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)​ นายเกรียงไกรมาศ พจนสุนทร หรือ เคนโด้ และ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม

เปิดพฤติการณ์ 'สามารถ' ฟอกเงินดิไอคอน ตำรวจค้านประกันร่ายเหตุผลยาว

ศาลอาญารับฝากขัง สามารถ-เเม่ ฟอกเงินคดีดิไอคอน ด้านจนท.ค้านประกันร่ายยาว เป็นบุคคลที่เคยมีตำแหน่งทางการเมือง ใกล้ชิดกับคนมีอำนาจ และมีศักยภาพการเงินสูง เกรงว่าจะหลบหนีไปยุ่งกับพยานหลักฐาน พบเงินหมุนเวียนตั้งเเต่ปี 61 ร้อยกว่าล้าน

ผบ.ตร. ขอรอดูพฤติการณ์ 'สามารถ' หลบหนีหรือไม่ หลังถูกจับที่เชียงราย

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เข้าควบคุมตัวนายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ผู้ต้องหาตามหมายจับข้อหาร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน