05 ธ.ค.2567 – นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์คลิปและเนื้อหาบนเฟซบุ๊กในหัวข้อ “ทำไมนักโทษบางคน ออกจากคุกเร็ว !!!” ระบุว่า หลังจากนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก 48 ปี ในคดีโครงการจำนำข้าว และได้รับการพักโทษตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ ทำให้สังคมหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง และเชื่อมโยงไปถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นักโทษหนีคดี จะเดินทางกลับประเทศไทยก่อนสงกรานต์ด้วย
มีหลายคนวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องการจำคุกว่า ทำไมนักโทษบางคนบางคดี ถูกจำคุกได้ไม่นาน ก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโทษคดีโครงการจำนำข้าว เป็นที่จับตาของสังคมเป็นอย่างมาก บางคนตั้งข้อสงสัยว่า ความเสียหายคดีจำนำข้าว รัฐบาลยังชดใช้หนี้โครงการจำนำข้าวยังไม่หมด แต่ผู้กระทำผิดได้รับการปล่อยตัวแล้ว
ซึ่งเรื่องนี้ควรจะแยกออกจากกันระหว่างคำพิพากษาของศาลกับโทษที่ได้รับ การลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ที่ระบุเงื่อนไขในท้ายพระราชกฤษฎีกา ว่ามีหลักเกณฑ์ในการลดโทษให้กับนักโทษอย่างไร กรมราชทัณฑ์จะนำไปคำนวณคิดวันลดโทษให้กับนักโทษทุกคน
ถ้าหากจะปรับปรุงเงื่อนไขและระเบียบของกรมราชทัณฑ์ ถึงหลักเกณฑ์การลดโทษ ก็ควรจะยกเครื่องทั้งหมด และใช้หลักการในมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่ลักลั่นตามยุคสมัยของรัฐมนตรีบางคน หรืออธิบดีกรมราชทัณฑ์บางคนเท่านั้น
ผมคนหนึ่งได้รับการปฏิบัติมาแล้วตอนสมัยเป็นนักโทษ โดยปกติเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ นักโทษที่คดีถึงสิ้นสุดและเข้าสู่เรือนจำแล้ว จะได้รับสิทธิ์ลดโทษทันที แต่ในปี 2565 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้นักโทษต้องรับโทษ 1 ใน 3 ของโทษก่อน ถึงจะได้รับสิทธิ์การลดโทษ และเช่นเดียวกับการพักโทษพิเศษ ที่มีการออกประกาศของกรมราชทัณฑ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด เข้าโครงการพักโทษการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษนักโทษเด็ดขาดที่มีโทษระยะสั้น ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ลงนามโดยนายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อใช้กับนักโทษบางคนเป็นกรณีพิเศษ
เมื่อบังคับใช้เสร็จ ก็ยกเลิกประกาศดังกล่าวไป โดยอ้างเหตุผลว่า ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ต่ออีกแล้ว แสดงให้เห็นว่าเป็นการออกมาเพื่อคนบางคนบางกลุ่มเท่านั้น ไม่มีมาตรฐานในการออกประกาศเลย ถ้าหากประกาศฉบับใดมีปัญหา หรือมีจุดอ่อนในบางจุด ก็ควรปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้ต่อไปไม่ใช่ยกเลิก
เพราะฉะนั้นการที่นักโทษได้รับการลดโทษมากน้อยเพียงใด หรือได้รับการปล่อยตัวเร็วขึ้นอย่างไร ขึ้นอยู่กับระเบียบของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งอยากจะเรียกร้องให้มีการออกระเบียบเพื่อยึดถือปฎิบัติอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่เป็นการออกระเบียบตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจในบางยุคบางสมัยเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เทพไท' ท้ารัฐบาลทำประชามติกาสิโนถ้ายึดหลักประชาธิปไตยไม่ใช้มัดมือชก!
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช
ชำแหละ 10 พฤติกรรม ‘ทักษิณ’ ปราศรัยเสมือนประเทศนี้ เป็นของตัวเองคนเดียว
เทพไท ลั่นขอใช้ข้อโต้แย้งหักล้างคำปราศรัยของนายทักษิณ เพื่อไม่ให้มีการสื่อสารเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งอาจทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้
นายกฯทนาย อุ้ม ‘นช.ชั้น14’ ไม่ผิดกฎหมาย
นายกสมาคมทนายความฯ ชี้ "ทักษิณ" รักษาชั้น 14 รพ.ตำรวจ เป็นอำนาจของผู้บัญชาการเรือนจำตามกฎหมายราชทัณฑ์ ไม่ต้องขออนุญาตศาล
ถือกฎหมายคนละฉบับ! นายกสมาคมทนายฯ งัด ม.55 โต้ ม.246 กรณี 'ทักษิณ-ชั้น 14'
นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย กล่าวว่าตามที่มีนักกฎหมายบางท่านแสดงความคิดเห็นว่า การที่ผู้บัญชาการ
'เทพไท' ชี้ 'เปิดบ่อนกาสิโน' เป็นปัญหาระดับชาติ ต้องทำประชามติให้ปชช.มีส่วนร่วม
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์คลิปพร้อมข้อความว่า คาสิโน ต้องจบที่ ประชามติ
'รมว.ยธ.' แนะ 'รพ.ตำรวจ' โชว์โปร่งใส ส่งเวชระเบียน 'ทักษิณ' ให้ ป.ป.ช.
'รมว.ยธ.' แนะ รพ.ตำรวจ ส่งเวชระเบียนรักษา 'ทักษิณ' ให้ ป.ป.ช. สร้างความโปร่งใสมีธรรมาภิบาล อ้างกรมราชทัณฑ์ให้ความร่วมมือตลอด