ปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ! 'ปิยบุตร' ยก 'ไอซ์ รักชนก' ตัวอย่างผู้แทนแบบเปลี่ยนโครงสร้าง

22 ก.พ.2568 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การนำปัญหาในชีวิตประจำวันโยงกับปัญหาโครงสร้าง

เลนินเสียชีวิตในวันที่ 21 มกราคม 1924 ไม่กี่เดือนถัดมา Georg Lukács ปรัชญาเมธีมาร์กซิสต์ชาวฮังการี ได้เขียนงานออกมาในชื่อว่า Lenin. Studien über den Zusammenhang seiner Gedanken หรือ “เลนิน ศึกษาระบบความคิดของเขา”

ในบทแรกที่ชื่อว่า “Actualité de la révolution” Lukács เสนอว่า ด้วยวิธีวิทยาแบบวิภาษวิธี และวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ เลนินได้ทำให้การปฏิวัติโยงเข้ากับชีวิตประจำวัน ทำให้ชนชั้นกรรมาชีพทั้งผองเห็นประเด็นปัญหาในชีวิตประจำวันแล้วเชื่อมโยงไปสู่การปฏิวัติปลดปล่อยชนชั้นกรรมาชีพ

"ด้วยเหตุนี้ ความเป็นจริงตรงหน้า (actuality) ของการปฏิวัติ จึงหมายถึง จัดการทุกปัญหาในชีวิตประจำวันอันเฉพาะเจาะจงของแต่ละคนแต่ละกรณี ด้วยการเชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรมเข้ากับสิ่งรวบยอดทั้งมวลในทางประวัติศาสตร์และสังคม พิจารณาประเด็นปัญหาเหล่านี้ดังเช่นห้วงเวลาของการปลดปล่อยกรรมาชีพ"

การจะทำให้มวลชนอันไพศาลเกิดจิตสำนึกทางชนชั้นร่วมกัน ต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยร่วมกัน มิใช่การพูดสามเวลาหลังอาหารด้วยคำขวัญปลุกใจจำพวก ”โค่นล้มๆๆ ลุกขึ้นสู้ๆๆๆ“ เท่านั้น แต่ต้องเริ่มต้นจากนำเอาประเด็นปัญหาเล็กๆน้อยๆ ปัญหาเฉพาะเรื่องเฉพาะราวเฉพาะคน ปัญหาในชีวิตประจำวัน ปัญหาที่เห็นๆกันอยู่ตรงหน้าทุกๆวัน ที่แต่ละคนรู้สึกได้ เข้าเชื่อมโยงกับภาพใหญ่เชิงโครงสร้างทางอำนาจการเมือง เศรษฐกิจ สังคม แล้ววาดเส้นเรื่องโยงปัญหาเล็ก ซ้ำซาก ที่แต่ละคนเจอ ให้กลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทุกๆคนเจอพร้อมกันหมด แล้วยกระดับให้เป็นปัญหาทางโครงสร้าง

ปัญหาเล็ก ปัญหารายวันเฉพาะคน เฉพาะกลุ่ม ปัญหาใหญ่ ที่คนจำนวนมากประสบพบเจอ คนเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วม ยกระดับให้เป็นประเด็นปัญหาโครงสร้าง ชี้ให้คนเห็นว่า ปัญหาเหล่านี้สัมพันธ์กับโครงสร้างอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเป็นปัญหาที่โยงกับการต่อสู้ทางชนชั้น มวลชนอันไพศาลเกิดจิตสำนึกทางชนชั้นร่วมกัน ออกมาต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตนเอง

ประเด็นการบริหารจัดการและการใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยในเรื่องประกันสังคม ที่ทีม ”ประกันสังคมก้าวหน้า“ และรักชนก ศรีนอก ผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ได้นำเสนอในสัปดาห์นี้ คือ ตัวอย่างกรณีศึกษาได้เป็นอย่างดี

ผู้ใช้แรงงานและมนุษย์เงินเดือน ตั้งคำถามว่าหักประกันสังคมไปแต่ละเดือนๆ เอาไปทำอะไรไม่ค่อยได้ เห็นข้อมูลว่าเงินที่หักไป ถูกนำไปทุกถลุงอย่างฟุ่มเฟือย ไม่คุ้มค่า นี่เงินของเรา ทำไมเขาเอาไปใช่แบบนี้ คนเกือบทั้งประเทศที่ต้องหักเงินประกันสังคมทุกเดือน เกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมกัน นี่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบราชการ ความโปร่งใส การบริหารจัดการงบประมาณ โยงเข้ากับอำนาจสูงสุดอยู่ที่ใดกันแน่ ทำไมคนถืออำนาจรัฐกลับตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของคนไม่กี่คน

ผู้แทนราษฎรแบบเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง แตกต่างกับผู้แทนราษฎรแบบราชการ ก็ตรงนี้

ผู้แทนราษฎรแบบราชการ รับเรื่องร้องเรียน มาแก้ปัญหา ได้คะแนนนิยม มีผลงาน ได้รับเลือกกลับมาใหม่ แล้วจบแค่นั้น แต่ผู้แทนราษฎรแบบเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง นอกจากแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนแล้ว ก็ต้องใช้โอกาสเหล่านั้นในการทำงานทางความคิดต่อด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ณัฐพงษ์' แนะรัฐบาลยึดหลักประชาธิปไตย ไม่เลือกข้างสหรัฐ-จีน เพิ่มอำนาจเจรจากำแพงภาษี

นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงบทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พยายามดึงอาเซียนร่วมเจรจา

'ผู้นำฝ่ายค้าน' หวดหนัก 'สตง.- รัฐบาล' ไร้ความโปร่งใส ปชช.ยิ่งไม่วางใจ  

ผู้นำฝ่ายค้าน บอก ขอรอ 'สตง.' แถลงแจงเหตุ ตึกถล่มก่อน ย้ำ ความโปร่งใสสำคัญที่สุด มอง การทำหน้าที่ ต้องไม่มองว่าเป็นคนคุมกฎระเบียบอย่างเดียว แต่ต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้จ่าย-ทำรายงานการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐาน 

'พิธา' นำ สส.ปชน. ร่วมงานประเพณีวิถีไทย ไหว้พระขอพรวันสงกรานต์ที่เชียงใหม่

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ปรึกษาประธานคณะก้าวหน้า และบุตรสาว หรือน้องพิพิม พร้อมด้วย สส.เชียงใหม่ และ สส.กทม. ของพรรคประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมประเพณี วิถีน้ำ วิถีไทย ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

'เท้ง' ควง 'ชัยธวัช' ขึ้นเหนือเล่นน้ำสงกรานต์ ปัดวัดพลัง 'ทักษิณ-อิ๊งค์'

พรรคประชาชน นำโดย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค , น.ส.รักชนก ศรีนอก สส.กทม. พร้อมด้วย สส.ลำปาง ทั้ง 3 เขต และนายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล เข้าเยี่ยมชมการทำโคมศรีล้านนา ที่บ้านแยงบัว จังหวัดลำปาง เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์