
17 มี.ค.2568-ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “พระราม 2 ถล่มซ้ำซาก วิศวกรมี “ใบประกอบวิชาชีพ” หรือไม่?” ระบุว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ซึ่งเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นของกรมทางหลวง (ทล.) ล้วนเป็นวิศวกรกันทั้งนั้น เริ่มตั้งแต่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง ไปจนถึงวิศวกรที่ปรึกษาของ กทพ. ซึ่งมีหน้าที่บริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง นายช่างคุมงานของ ทล. และผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งต้องมีวิศวกรเช่นเดียวกัน
ในกรณีของ กทพ.ที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นใกล้ด่านทางด่วนดาวคะนองตอนเช้ามืดของวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2568 นั้น มีคนในแวดวงเดียวกันเป็นประธานกรรมการ กทพ. นั่นคือ นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง นั่นเอง
คนในวิชาชีพเดียวกันคือวิชาชีพวิศวกรรมทำงานร่วมกัน น่าจะได้ผลงานที่ดี มีคุณภาพ เสร็จทันตามกำหนดเวลา ไม่มีอุบัติเหตุร้ายแรง แต่กรณีการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 กลับไม่เป็นเช่นนั้น มีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นบ่อย งานล่าช้า ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีก็คือสภาวิศวกร ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของวิศวกร เช่น ตรวจสอบการปฏิบัติงานของวิศวกรให้เป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรฐานที่กำหนด และออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ต้องการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม เป็นต้น
วิศวกรทุกคนที่มาร่วมงานในโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ กว.) จากสภาวิศวกร หากใครไม่มีก็ถือว่าเป็น “วิศวกรเถื่อน”
เมื่อการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย งานล่าช้า จึงถึงเวลาแล้วที่สภาวิศวกรจะต้องตรวจสอบวิศวกรทุกคนที่ร่วมงานออกแบบ ก่อสร้าง และควบคุมงานโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก และมอเตอร์เวย์บนถนนพระราม 2 ว่ามี “ใบ กว.” หรือไม่?
หากตรวจสอบแล้วพบว่ามี “วิศวกรเถื่อน” ร่วมทำงาน สภาวิศวกรจะต้องพิจารณาลงโทษวิศวกรผู้นั้น ร่วมทั้งหน่วยงานที่วิศวกรผู้นั้นสังกัดตามบทลงโทษที่กำหนดไว้ใน พรบ.วิศวกร พ.ศ.2542 ส่วนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะลงโทษวิศวกรและหน่วยงานต้นสังกัด วสท.เป็นสมาคมวิชาชีพมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรม
ผู้สนใจสามารถร่วมตรวจสอบได้ว่าวิศวกรที่ร่วมงานออกแบบ ก่อสร้างและควบคุมงานโครงการดังกล่าวมี “ใบ กว.” หรือไม่? โดยเข้าไปที่ www.coe.or.th เลือก “ตรวจสอบใบอนุญาต” แล้วป้อนชื่อวิศวกรที่ต้องการตรวจสอบ ก็จะรู้ว่าใครเป็นวิศวกรจริง ใครเป็น “วิศวกรเถื่อน”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
DSI เผย พร้อมสอบปากคำ 51 วิศวกร ปมมีชื่อเกี่ยวข้องคุมงานก่อสร้างตึก สตง.
โฆษกดีเอสไอ เผย พร้อมสอบปากคำ 51 วิศวกร ปมมีชื่อเกี่ยวข้องคุมงานก่อสร้างตึก สตง. หลังก่อนหน้านี้ “ชัยฤทธิ์” - “สมเกียรติ” 2 วิศวกรเข้าแสดงตนปฏิเสธไม่เกี่ยวข้อง ขณะที่สัปดาห์หน้า เชิญ “บ.อิตาเลียนไทย“ - ”พิมล เจริญยิ่ง“ วิศวกรอายุ 85 ปี เข้าให้ข้อมูล หลังเลื่อนนัดพบพนักงานสอบสวน
'นายกฯอิ๊งค์' ไล่บี้ 'ตร.-DSI' ฟันคดีตึกถล่ม ใกล้ออกหมายจับคนผิด
นายกฯ เรียก ‘ตำรวจ-ดีเอสไอ’ แจงความคืบหน้าเหตุตึก สตง.ถล่ม แย้มใกล้ออกหมายจับคนผิดแล้ว จี้หน่วยงานเร่งส่งหลักฐานให้ ตร. ขอประชาชนมั่นใจรัฐบาลไม่ปล่อยแน่นอน
'ต่อตระกูล' ยกคำพิพากษาศาลฎีกา คดีรร.รอยัลพลาซ่าถล่ม เป็นบรรทัดฐานคดีตึกสตง.
นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก
กรมโยธาฯ การันตีอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แข็งแรง – ปลอดภัย
นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า อาคารในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ผ่านการตรวจโดยวิศวกร และพบว่าโครงสร้างอาคารแข็งแรงสามารถเปิดใช้อาคารได้ตามปกติ
ผู้เชี่ยวชาญแนะวิธีการเช็กเบื้องต้น ตึกร้าว คอนโดพัง แบบไหนอันตราย
ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Phattrawut Mungmanee อดีตวิศวกร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โพสต์ข้อความให้คำแนะนำว่า คอนโดพังแบบไหนอันตราย โดยระบุว่า
ส่งวิศวกร 130 คน ตรวจสอบอาคาร 700 เคส เร่งช่วยเหลือผู้ติดในตึกถล่ม
ผู้ว่าฯชัชชาติ ลั่นกรุงเทพฯ พร้อมปฏิบัติภารกิจเร่งด่วน หลังแผ่นดินไหว ส่งวิศวกรอาสา 130 คนตรวจสอบอาคารที่ได้รับผลกระทบกว่า 700 เคส และให้รอฟังความปลอดภัยก่อนเปิดอาคาร ด้านการคมนาคมยังดำเนินการตามปกติ ขอประชาชนให้ตั้งสติและไม่ตื่นตระหนก