ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาหลายพันคนในบังกลาเทศชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้ส่งตัวกลับเมียนมา สถานที่ซึ่งพวกเขาลี้ภัยจากมาเพราะการปราบปรามอย่างโหดร้ายของทหารเมื่อ 5 ปีก่อน
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเดินขบวนชุมนุมเรียกร้องขอกลับเมียนมา ที่ค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลอง ในเมืองค็อกซ์บาร์ซาร์ประเทศบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน (Photo by Tanbir MIRAJ / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาหลายพันคนในบังกลาเทศออกมาชุมนุมประท้วงในวันอาทิตย์ เพื่อเรียกร้องให้ส่งตัวพวกเขากลับเมียนมา หลังผจญกับความยากลำบากของการลี้ภัยในบังกลาเทศ
ชาวโรฮีนจาราว 1 ล้านคน ต้องอาศัยอยู่ในกระท่อมไม้ไผ่ที่มุงด้วยผ้าใบกันน้ำ ในค่ายร้าง 34 แห่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศ พวกเขาไม่มีงานทำ, ใช้ชีวิตในสภาพสุขาภิบาลที่ย่ำแย่ และแทบไม่ได้รับการศึกษา
บังกลาเทศปฏิบัติอย่างเข้มงวดกับผู้ลี้ภัยโรฮีนจามากขึ้น และสั่งห้ามเด็ดขาดไม่ให้จัดการชุมนุม เนื่องจากเคยก่อเหตุประท้วงสร้างความวุ่นวายในเดือนสิงหาคมปี 2562 แต่ครั้งนี้ทางการได้อนุญาตให้ชาวโรฮีนจาหลายกลุ่มจัดกิจกรรมเดินขบวนชุมนุมชูประเด็นร้องขอ "กลับบ้าน" เพื่อแสดงออกเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี
“เราไม่ต้องการอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย การเป็นผู้ลี้ภัยมันไม่ง่าย กลับบ้านกันเถอะ” ซาเอ็ด อัลลาห์ ผู้นำชุมชนชาวโรฮีนจา กล่าวระหว่างปราศรัยในการชุมนุม
ในปี 2561 องค์การสหประชาชาติสืบสวนเกี่ยวกับประเด็นการสังหารและไล่ล่าชาวมุสลิมโรฮีนจาในเมียนมา และได้ข้อสรุปว่า นายพลทหารระดับสูงของเมียนมาต้องรับผิดชอบและถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาทารุณกรรมต่อมนุษยชาติและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
การออกมาชุมนุมในวันอาทิตย์ เกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศของบังกลาเทศและเมียนมาจัดประชุมร่วมกันเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี ผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศบังกลาเทศกล่าวกับเอเอฟพีว่า ในระหว่างการประชุม รัฐบาลบังกลาเทศกดดันให้เมียนมารับตัวผู้ลี้ภัยโรฮีนจากลับประเทศภายในปีนี้
เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่า ผู้ลี้ภัยหลายพันคน รวมทั้งเด็กเล็กๆ เข้าร่วมการเดินขบวนชุมนุมตามถนนและตรอกซอกซอยพร้อมป้ายที่เขียนว่า "เพียงพอแล้ว! กลับบ้านกันเถอะ"
“ชาวโรฮีนจากว่า 10,000 คน เข้าร่วมการชุมนุมในค่ายผู้ลี้ภัยภายใต้การควบคุมดูแลโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการรักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษในค่ายเพื่อป้องกันความรุนแรงใดๆที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปได้อย่างสงบเรียบร้อย" เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าว โดยอ้างอิงสถานการณ์การชุมนุมในค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลอง ซึ่งเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่มีการชุมนุมในค่ายผู้ลี้ภัยอีกหลายแห่งในบังกลาเทศ
ความพยายามในการส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศครั้งก่อนประสบความล้มเหลว เพราะชาวโรฮีนจาปฏิเสธที่จะกลับบ้านจนกว่าเมียนมาจะให้การรับรองสิทธิและความมั่นคงของชนกลุ่มน้อยที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ซึ่งถูกมองมาตลอดว่าเป็น "ผู้อพยพผิดกฎหมาย" เพราะใช้ภาษาถิ่นเฉพาะกลุ่ม ที่คล้ายกับคนบังกลาเทศหรือชาวเบงกอลที่อยู่ตามชายแดน
ผู้นำชาวโรฮีนจากล่าวว่า พวกเขาต้องการกลับไปยังหมู่บ้านเดิมในรัฐยะไข่ของเมียนมา ไม่ใช่ค่ายที่รัฐบาลเมียนมาสร้างไว้สำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปธ.กมธ.มั่นคง แนะ กต. ถกชาติมหาอำนาจช่วยกดดัน 'ว้าแดง' ถอนทัพเขตแดนไทย
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม
'โรม' สับรัฐบาลอ่อน เมียนมายังไม่ปล่อยตัวลูกเรือไทย แนะต้องประท้วงให้เข้มแข็งกว่านี้
นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม
นายกฯ อิ๊งค์บอกข่าวดี! เมียนมาจะปล่อย 4 คนไทยหลังปีใหม่
นายกฯ เผยข่าวดีปม 4 คนไทยเรียบร้อยหลังปีใหม่ ส่วนเรื่องคดีความต้องคุยกันต่อ
จับ“ไทย”ชน“เมียนมา” เด้งเชือกรับมือเกมมหาอำนาจ
หลังจากที่กองกำลัง “ว้าแดง” ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงข่าวลือความตึงเครียดระหว่างทหารไทยกับว้าแดงบริเวณชายแดน อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้ “ข่าวลือ” ดังกล่าวเริ่มเบาเสียงลง
ลงถนนมาเป็นพันเท่า! ‘สนธิ’ นำมวลชน ยื่น 6 ข้อ จี้นายกฯอิ๊งค์ เลิก MOU44 ขีดเส้น 15 วัน
‘สนธิ’ นำมวลชน ยื่นหนังสือ นายกฯอิ๊งค์ เรียกร้อง 6 ข้อยกเลิก เอ็มโอยู 44 ให้เวลา 15 วันจะทวงถามคำตอบ อุบวันนัดรวมพลลงถนน ชี้ขอทำตามขั้นตอน ลั่นออกมาสู้ครั้งนี้ต้องชนะ
'ภูมิธรรม' แจงเหตุเมียนมายังไม่ปล่อยตัว 4 คนไทย ยันทำทุกวิถีทางแล้ว
'ภูมิธรรม' แจง 4 คนไทยยังกลับไม่ได้ เหตุรอรัฐบาลเมียนมาตัดสินใจ ยํ้าทำทุกวิถีทางแล้ว หากเกิดในประเทศไทยต้องทำเช่นกัน ปัดโยงการเมือง