‘มาริโอ ดรากี’นายกฯอิตาลีลาออก

นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี ของอิตาลี ยื่นใบลาออกต่อประธานาธิบดีเซอร์โจ มัตตาเราลลา เมื่อวันพฤหัสบดี หลังพรรคร่วมรัฐบาลเกิดการแตกแยกกันอย่างหนัก คาดประธานาธิบดีจะประกาศยุบสภาและมีการเลือกตั้งก่อนกำหนดในเดือนตุลาคมนี้

          สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565 ว่า นายกรัฐมนตรีมาริโอ ดรากี ของอิตาลี วัย 74 ปี ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และเป็นอดีตประธานธนาคารกลางยุโรป ที่เป็นผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรคมา 18 เดือน ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งต่อประธานาธิบดีเซอร์โจ มัตตาเรลลา ในวันเดียวกัน

          สำนักประธานาธิบดีอิตาลีแถลงว่า ประธานาธิบดีมัตตาเรลลารับจดหมายลาออกของนายกรัฐมนตรี และขอให้ดรากีทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี

          ประธานาธิบดีมัตตาเรลลามีกำหนดเข้าพบหารือกับประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรในบ่ายวันพฤหัสบดีตามเวลาอิตาลี แหล่งข่าวทางการเมืองเผยเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่เขาจะประกาศยุบสภาและให้มีการเลือกตั้งก่อนกำหนดในเดือนตุลาคม

          จากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนของสำนักโพลต่างๆ ที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์นี้ คาดว่ากลุ่มพันธมิตรพรรคอนุรักษนิยมที่นำโดยพรรคบราเธอร์ออฟอิตาลีที่เป็นพรรคแนวคิดขวาจัด มีโอกาสสูงที่จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งต่อไปของอิตาลี

          พรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรคของดรากีแตกแยกกันอย่างหนักเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรคหลักปฏิเสธที่จะโหวตไว้วางใจเขา หลังจากเขาเสนอให้มีการลงมตินี้เพื่อยุติการแตกแยก และให้เริ่มการทำงานใหม่หลังจากมีการขัดแย้งกันของพรรคร่วมรัฐบาล

          อิตาลีกลับสู่วิกฤตทางการเมืองอีกครั้งหลังจากรัฐบาลมีเสถียรภาพมาหลายเดือน ในระหว่างนั้นดรากีเป็นหนึ่งในผู้นำของชาติยุโรปที่ร่วมตอบโต้อย่างแข็งกร้าวต่อการที่รัสเซียรุกรานยูเครน และส่งเสริมอิตาลีให้ยืนได้อย่างมั่นคงในตลาดการเงิน

          ดรากีได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลของเขาบางคน และจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเขาปรากฏตัวช่วงสั้นๆ ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันพฤหัสบดี เขากล่าวหลังจาก ส.ส.ยืนตบมือต้อนรับเขาบอกว่า แม้แต่นายธนาคารกลางก็มีหัวใจสั่นไหวในบางครั้ง

          ดรากีเคยยื่นใบลาออกไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลังพรรคไฟว์-สตาร์ มูฟเมนต์ หนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาลปฏิเสธที่จะโหวตรับรองมาตรการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพสูงที่รัฐบาลเสนอ

          ประธานาธิบดีมัตตาเรลลาไม่รับใบลาออกครั้งแรกของเขา โดยบอกให้เขาทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะหมดสมัยของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ในต้นปี 2566

          ดรากีกล่าวต่อที่ประชุมวุฒิสมาชิกขอให้มีความเป็นเอกภาพ และกล่าวถึงปัญหาที่อิตาลีกำลังเผชิญในขณะนี้หลายเรื่อง เช่น สงครามในยูเครน, ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและราคาสินค้าที่สูงขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เกรียงศักดิ์' ยื่นลาออกจาก 'ผู้อำนวยการ อคส.' เปิดทางสรรหาทีมใหม่

“เกรียงศักดิ์” ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการ อคส.แล้ว มีผลวันที่ 1 มี.ค.67 ส่วนบอร์ด อคส. ลาออกหหมดแล้ว เหลือแค่ตัวแทนหน่วยงานรัฐ เปิดทางสรรหาใหม่ ทั้งตัว ผอ. และบอร์ด เผยกว่า 2 ปีที่ทำงาน มีผลงานเพียบ เร่งดำเนินคดีทุจริตข้าว มัน ข้าวโพด มากกว่า 1,000 คดี จัดการทุจริตถุงมือยาง 2,000 ล้าน เร่งหารายได้ ทำขาดทุนลด ส่วนรายได้คลังเพิ่มสูงสุดในรอบ 25 ปี ลดความเสี่ยงทำธุรกิจแบบเดิม ทำขาดทุนลด

'น้องเพลง' เปิดใจ! เหตุไขก๊อกทิ้ง ภท. ไม่นั่ง สส.ปาร์ตี้ลิสต์

'น้องเพลง' เปิดใจ เหตุไขก๊อกสมาชิกภูมิใจไทย ไม่นั่ง สส.ปาร์ตี้ลิสต์ ขอเป็นฟันเฟืองทำงานการเมืองท้องถิ่น‘ เคียงข้างแม่สานต่อ ‘กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า’

มาเรื่อยๆ! 'ประเสริฐ' ลาออกพ้นส.ส.บัญชีรายชื่อพท. อ้างเปิดทางคนรุ่นใหม่

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 ม.ค. ได้แสดงความจำนงต่อผู้บริ

'ดร.เสรี' เตือนรัฐบาล ถ้าไม่อยากยุบสภา หรือเปลี่ยนตัวนายกฯ ดูคำแนะนำกฤษฎีกาให้รอบคอบ

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า กฤษฎีกาบอกว่ากู้ได้อย่างมีเงื่อนไขว่าต้องทำตามบทบัญญั