โดรนสหรัฐถล่มฆ่าอัฟกัน 10 ศพ แค่พลาดโดยสุจริต แต่ไม่ผิดกม.

เอาที่สบายใจ ผลการสอบสวนของผู้ตรวจการณ์กองทัพสหรัฐระบุ การส่งโดรนยิงจรวดถล่มฆ่าพลเรือนอัฟกันผู้บริสุทธิ์ 10 คน ซึ่งรวมถึงเด็ก 7 คน ในกรุงคาบูลเมื่อเดือนสิงหาคมนั้น เป็นความผิดพลาดโดยสุจริตที่น่าเศร้า แต่สหรัฐไม่ได้ทำผิดกฎหมายใด

สภาพซากรถยนต์และความเสียหายในชุมชนใกล้สนามบินคาบูล ภายหลังถูกจรวดยิงถล่มเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564 (Getty Images)

เอเอฟพีรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ว่าปฏิบัติการของกองทัพสหรัฐเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม เกิดในช่วงเวลาที่สหรัฐและพันธมิตรกำลังเร่งถอนตัวออกจากกรุงคาบูลก่อนเส้นตายสิ้นเดือนสิงหาคม และเกิดขึ้น 3 วันหลังจากมือระเบิดฆ่าตัวตายจากกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ประจำอัฟกานิสถาน วางระเบิดด้านนอกสนามบินฮาร์มิดการ์ไซ ฆ่าทหารอเมริกัน 13 นาย และพลเรือนอัฟกันอีกมากกว่า 100 คน ซึ่งทำให้สหรัฐหวั่นเกรงการโจมตีเพิ่มเติม

อย่างไรก็ดี ปฏิบัติการถล่มบ้านหลังหนึ่งและรถยนต์คันหนึ่งใกล้สนามบินคาบูล ที่กองทัพสหรัฐเคยระบุว่าเป็นการโจมตีเพื่อป้องกันมือระเบิดไอเอสโจมตีครั้งใหม่ กลับปรากฏว่าเป็นความผิดพลาด และมีพลเรือนชาวอัฟกันเสียชีวิต 10 คน เป็นผู้ใหญ่ 3 คน โดยหนึ่งในนั้นทำงานให้องค์กรบรรเทาทุกข์ของสหรัฐแห่งหนึ่ง เหยื่ออีก 7 คนที่เหลือเป็นเด็กทั้งหมด

ภายหลังการสอบสวนเบื้องต้น เพนตากอนก็ยอมรับเมื่อวันที่ 17 กันยายนว่า ปฏิบัติการครั้งนั้นเป็น "ความผิดพลาดที่น่าเศร้า" และให้คำมั่นจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิต

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พลอากาศโทซามี ซาอิด ผู้ตรวจการณ์กองทัพอากาศสหรัฐ เปิดเผยรายงานสรุปผลการสอบสวนเหตุการณ์นี้ว่า การโจมตีครั้งนั้นเกิดจากความผิดพลาดในการดำเนินการ, การตีความข้อมูลที่สนับสนุนมุมมองที่ปนด้วยอคติ และความล้มเหลวในการสื่อสาร

"การสอบสวนพบว่า ไม่มีการละเมิดกฎหมาย รวมถึงกฎหมายสงคราม ข้อผิดพลาดในการดำเนินการรวมกับการยืนยันด้วยอคติ และความล้มเหลวในการสื่อสาร เป็นเหตุให้พลเรือนเสียชีวิตอย่างน่าเศร้า" จเรกองทัพอากาศสหรัฐกล่าวในรายงาน

"มันเป็นความผิดพลาดโดยสุจริต" เขากล่าวกับนักข่าวที่กระทรวงกลาโหม "แต่ไม่ใช่การกระทำผิดทางอาญา, การทำผิดโดยบังเอิญ หรือความประมาทเลินเล่อ"

ซาอิดกล่าวว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในปฏิบัติการนี้เชื่ออย่างแท้จริงว่า พวกเขากำลังพุ่งเป้าการก่อเหตุโจมตีที่กำลังจะเกิดขึ้น เป้าหมายตามความตั้งใจซึ่งก็คือรถยนต์คันนี้ กับผู้คนและสิ่งที่อยู่ในรถ ผ่านการประเมินในเวลานั้นว่าเป็นภัยคุกคามจวนตัวต่อทหารสหรัฐและภารกิจอพยพที่สนามบิน แต่การตีความข่าวกรองและการสังเกตการณ์รถยนต์เป้าหมายกับผู้ใช้รถคันนั้นเป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมงกลับ "ผิดพลาดอย่างน่าเศร้าใจ"

นายทหารผู้นี้อธิบายต่อว่า ไม่มีความล้มเหลวจุดหนึ่งจุดใดหรือบุคคลใดถูกตำหนิสำหรับความผิดพลาดดังกล่าว และไม่ใช่ความรับผิดชอบของเขาที่จะตัดสินว่ามีใครควรโดนลงโทษสำหรับผิดพลาดนี้

ข่าวกรองสหรัฐในเวลานั้นชี้ว่า รถยนต์โตโยต้าโคโรลลาสีขาวคันหนึ่งน่าจะมีระเบิดแบบเดียวกับที่ไอเอสใช้โจมตีนอกสนามบินคาบูล แต่ซาอิดยอมรับว่า พวกเขาตามรถผิดคัน นอกจากนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการนี้ยังคิดว่าบ้านเป้าหมายไม่มีคนหรือเด็กอยู่ภายใน ซึ่งไม่ใช่ ไม่มีใครที่ทำปฏิบัติการนี้สังเกตเห็นว่า มีเด็กคนหนึ่งเข้าไปในบ้าน 2 นาทีก่อนโดรนยิงจรวดถล่ม

ซาอิดกล่าวอีกว่า ปฏิบัติการนี้ยังเกิดจากการยืนยันข้อมูลด้วยความเอนเอียงเพื่อตัดสินใจตรงกับสิ่งที่คาดหวังไว้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่สหรัฐเชื่อกันก่อนหน้านี้ว่า มือระเบิดที่สนามบินซุกระเบิดในกระเป๋าคอมพิวเตอร์ และเมื่อนักวิเคราะห์ที่วางแผนโจมตีเห็นกระเป๋าคอมพิวเตอร์ พวกเขายังมั่นใจว่าเป้าหมายนี้ถูกต้องแล้ว แต่การณ์กลับกลายเป็นว่ากระเป๋าใบนั้นใส่คอมพิวเตอร์จริงๆ ไม่ใช่ระเบิด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐา2

ตรงปก ตรงประเด็น กับ...สำราญ รอดเพชร : วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห