สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์จาก Huawei และ ZTE ของจีน เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัย

ทางการสหรัฐฯ ประกาศห้ามนำเข้าหรือขายอุปกรณ์สื่อสารที่มี "ความเสี่ยงที่ไม่อาจยอมรับได้ต่อความมั่นคงของชาติ" ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์จาก Huawei Technologies และ ZTE สองบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน

แฟ้มภาพ โลโก้ Huawei บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคมสัญชาติจีน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (Photo by AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐฯ (Federal Communications Commission) ประกาศห้ามนำเข้าหรือขายอุปกรณ์สื่อสารของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (Huawei Technologies) และแซดทีอี (ZTE) ซึ่งเป็นบริษัทด้านเครือข่ายโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน

ทั้งสองบริษัทดังกล่าวอยู่ในรายชื่อบริษัทที่ถูกระบุว่าเป็นภัยคุกคาม และกฎใหม่นี้ห้ามการอนุญาตนำเข้าหรือขายอุปกรณ์เฉพาะในอนาคต และกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการออกประกาศห้ามการใช้งานในปัจจุบัน

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการดำเนินการล่าสุดเพื่อป้องกันเครือข่ายของสหรัฐฯ จากการเข้าถึงโดยเครือข่ายของบริษัทโทรคมนาคมจีน และเกิดขึ้นในช่วงความขัดแย้งที่ดำเนินมาอย่างยาวนานระหว่าง 2 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ได้แสดงความระวังมากขึ้นต่อบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของจีนในช่วงไม่กี่ปีมานี้

“คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะปกป้องความมั่นคงของชาติด้วยการรับประกันว่าจะไม่มีการอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์สื่อสารที่ไม่น่าเชื่อถือภายในเขตแดนของเรา และกฎใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภัยคุกคามด้านความปลอดภัย” เจสสิก้า โรเซนวอร์เซล ประธานหญิงของคณะกรรมการฯ กล่าวในแถลงการณ์

นอกจากหัวเว่ยและแซดทีอีแล้ว คำสั่งห้ามดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่นๆ รวมถึงบริษัทอุปกรณ์กล้องวงจรปิดอย่าง หางโจว ฮิควิชัน (Hangzhou Hikvision) และ ต้าหัว เทคโนโลยี (Dahua Technology)

ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาได้สั่งแบนหัวเว่ยจากทุกระบบโทรคมนาคมในรัฐบาลสหรัฐฯ และห้ามไม่ให้ใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ยในภาคเอกชน ด้วยความกลัวว่าอุปกรณ์ของหัวเว่ยอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือโดยหน่วยข่าวกรองของจีน

ในปี 2562 หัวเว่ยถูกขึ้นบัญชีดำทางการค้าไม่ให้มีการดำเนินธุรกิจใดๆ กับซัพพลายเออร์ของสหรัฐฯ และโดนตัดออกจากระบบปฏิบัติการมือถือแอนดรอยด์ของกูเกิล ด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคงของชาติ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' ข้องใจนโยบาย 'ฟรีวีซ่า' เตือนอย่าเอาความมั่นคงของชาติมาเสี่ยง

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรมว.ต่างประเทศ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ฟรีวีซ่า มีเนื้อหาดังนี้

อดีตรองอธิการบดี มธ. ชี้ ‘ใครคิดร้ายต่อสถาบัน-ความมั่นคงชาติ’ คงไม่มีจุดจบที่ดี

การดันทุรังที่แก้ไขมาตรา 112 ให้ได้ ไม่น่าจะเกิดขึ้นจากความหวังดีที่จะแก้ปัญหาสังคม เพราะปัญหาความขัดแย้งไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ