แห่ถอนเงินจาก Credit Suisse กว่า 68,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนการเทคโอเวอร์ของ UBS

มีการถอนเงินมากกว่า 68,000 ล้านดอลลาร์จากธนาคาร Credit Suisse ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2566 ก่อนกระบวนการเทคโอเวอร์โดย UBS จะมาถึง

(Photo by Fabrice COFFRINI / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน 2566 กล่าวว่า ธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประสบวิกฤตขาดทุนอย่างหนัก ประกาศผลประกอบการเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้ แต่สินทรัพย์เงินสดถูกแห่ถอนออกจากคลังกว่า 68,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.33 ล้านล้านบาท)

ผลประกอบการล่าสุดซึ่งจะถือเป็นไตรมาสสุดท้ายของธนาคารฯ ก่อนถูกเทคโอเวอร์โดยธนาคารคู่แข่งอย่างยูบีเอส (UBS) ที่จะเข้ามาช่วยกอบกู้วิกฤต แสดงให้เห็นว่าธนาคารสูญเสียความเชื่อมั่นอย่างหนัก และได้อานิสงค์จากข่าวการเทคโอเวอร์ ทำให้ยังพอทำกำไรกลับคืนมาได้บ้างราว 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.8 แสนล้านบาท) หลังขาดทุนจำนวนมากในปีก่อนหน้า

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างรอคอยผลลัพธ์หลังการเทคโอเวอร์อย่างใจจดใจจ่อ ท่ามกลางปัญหามากมายที่กลายมาเป็นความท้าทายที่ยูบีเอสต้องเผชิญ โดยมีรัฐบาลสวิสเป็นตัวกลางในการควบรวมกิจการและเป็นผู้ค้ำประกัน ขณะที่ธนาคารกลางสวิสจะเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขสภาพคล่องหลังควบรวม

ธนาคารเครดิตสวิสกล่าวว่า "การไหลออกของสินทรัพย์สุทธิจำนวนมากนั้นหนักหนามากเป็นพิเศษในช่วงครึ่งหลังของเดือนมีนาคม เนื่องจากความตื่นตระหนกของผู้ฝากและผู้ลงทุน ก่อนที่จะมีการเทคโอเวอร์"

"การไหลออกเหล่านี้ได้ลดลงแล้ว แต่ยังไม่กลับมาอยู่ในระดับปกติ ณ วันที่ 24 เมษายน 2566" ธนาคารฯระบุในงบกำไรขาดทุน

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธนาคารฯประสบกับเรื่องอื้อฉาวหลายครั้ง และหลังจากที่ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ 3 แห่งล้มละลายลงในเดือนมีนาคมและสร้างความตื่นตระหนกในภาคธนาคารทั่วโลก เครดิตสวิสฯที่มีสภาวะอ่อนแออยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงได้รับผลกระทบหนักถึงขั้นจะล้มละลาย ก่อนถูกกอบกู้ไว้ทันโดยรัฐบาล

ในปี 2565 ธนาคารเครดิตสวิสประสบภาวะขาดทุนมากถึง 8,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท) ซึ่งตรงกันข้ามกับผลดำเนินการของธนาคารคู่แข่งอย่างยูบีเอส ที่ทำกำไรไปได้กว่า 7,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.6 แสนล้านบาท) ในปีที่แล้ว

รายงานประจำไตรมาสฉบับล่าสุดน่าจะเป็นรายงานฉบับสุดท้ายของธนาคารเครดิตสวิส ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการควบรวมกิจการกับยูบีเอส ซึ่งจะสรุปผลในวันอังคาร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ จ่อคุยเอกชนยักษ์ใหญ่ของโลก กล่อมลงทุนในไทย

นายกฯ เตรียมพบบริษัทเอกชนชั้นนำของโลกหลายราย ระหว่างประชุมเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัม มั่นใจดึงนักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไทยได้อีกมาก

ประธานกสทช. สั่งบี้ ‘ทรู-ดีแทค’ ต่อเนื่องโต้ ‘ศิริกัญญา’ ยันบอร์ดทำตามกฎหมาย

ประธานกสทช. เดินหน้าขับเคลื่อนแผนคุ้มครองลูกค้าทรู-ดีแทค ทั้งด้านโปรโมชั่นและบริการ รับยังไม่พอใจผลการหารือกับผู้ประกอบการ เร่งสำนักงานกสทช.หาพื้นที่มีปัญหาให้ชัดจะแก้ตรงจุด ตอบโต้ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ย้ำวาระบอร์ดทำตามกระบวนการกฎหมาย กรรมการ 4 คน เสนอมาก็ต้องไม่ลัดขั้นตอนหรือใช้ต่อรองเพื่อเข้าร่วมประชุม

'ทรู' โร่ชี้แจง กสทช. ยันหลังควบรวมดีแทค สัญญาณดีขึ้น - ลูกค้าใช้งานเพิ่ม

ทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าชี้แจง กสทช. คลายปมประเด็นคุณภาพสัญญาณ และแพ็กเกจค่าบริการย้ำจุดยืนควบรวมสู่บริษัทโทรคมนาคม - เทคโนโลยีชั้นนำของไทย เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า

ทรู - ดีแทค แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ

เนื่องจาก ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีหลายฝ่าย อาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง แล้วมีการสื่อสารจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการให้บริการของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่ง บริษัทฯ ได้ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายรวมทั้งเงื่อนไขภายหลังการควบรวมของ กสทช. มาโดยตลอด 

ทรู ยืนยันผลคำสั่งศาลปกครองสูงสุดไม่กระทบการควบรวมทรู ดีแทค

ตามที่เมื่อวานนี้ (30 ตุลาคม 2566) ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องในคดีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นฟ้องขอเพิกถอนมติ กสทช. ที่เกี่ยวเนื่องกับการควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC ไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไปนั้น