‘ออง ซาน ซูจี’ ได้รับการอภัยโทษ ลดไป 6 ปี

AFP

สองปีครึ่งหลังการจับกุมออง ซาน ซูจีในเมียนมาร์ รัฐบาลทหารได้ประกาศอภัยโทษบางส่วนให้กับอดีตไอคอนแห่งเสรีภาพ บรรดานายพลประกาศเมื่อวันอังคารว่าจะลดโทษจำคุกนายวีน มหยิ่น-อดีตประธานาธิบดีวัย 78 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนิรโทษกรรมครั้งใหญ่

อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ข่าว Myznmar Now รายงานว่านี่ไม่ใช่การนิรโทษกรรมอย่างเต็มรูปแบบ ในตอนแรกยังไม่ชัดเจนว่านักการเมืองทั้งสองจะยังได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระหรือไม่ พรรคการเมืองของซูจีชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อช่วงปลายปี 2563 แต่ก่อนที่รัฐสภาใหม่จะเปิดประชุมกันได้ กองทัพได้ก่อการรัฐประหารในปี 2564 เป็นผลให้นายกรัฐมนตรีซูจี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยพฤตินัยตามระบอบประชาธิปไตยถูกถอดถอนและถูกจับกุม

ต่อมาศาลที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารได้ตัดสินจำคุกเธอรวม 33 ปีในข้อหาก่ออาชญากรรมหลายกระทง ส่วนประธานาธิบดี วีน มหยิ่น ถูกตัดสินจำคุก 12 ปี แหล่งข่าวใกล้ชิดกับซูจีเปิดเผยข้อมูล ทว่าไม่เปิดเผยชื่อของตนเอง บอกกับสื่อตะวันตกว่า รัฐบาลทหารลดโทษของซูจีลง 6 ปี และวัน มหยิ่น ได้ลดโทษ 4 ปี ส่วนข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงเช่นการคอร์รัปชันยังคงอยู่

ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยการเมืองในประเทศที่เกิดวิกฤตให้ความเห็นว่า รัฐบาลทหารต้องการหันเหความสนใจจากวิกฤตการณ์ร้ายแรงในปัจจุบันของเมียนมาร์ กองทัพพยายามลดแรงกดดันจากนานาชาติและความโกรธแค้นของพลเรือนในพื้นที่ จึงเป็นที่จับตาของนักสังเกตการณ์ว่า รัฐบาลทหารจะจัดการกับออง ซาน ซูจีอย่างไรต่อไปในวิกฤตครั้งนี้

มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรณีนี้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ซูจี-เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 1991 ถูกย้ายจากการถูกกักบริเวณไปยังอาคารของรัฐท่ามกลางความประหลาดใจ ก่อนหน้านั้นกว่าสองปีแทบจะไม่มีข้อมูลเกี่ยวสภาพการถูกควบคุมตัวและสภาพความเป็นอยู่ของเธอเลย ทนายความของเธอก็ถูกห้ามพูดหรือแสดงความเห็นต่อสาธารณะ

วันจันทร์ที่ผ่านมารัฐบาลทหารได้ขยายเวลาภาวะฉุกเฉินออกไปอีกหกเดือน นายพลเน้นย้ำว่าสิ่งนี้จำเป็นเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงในประเทศ การประกาศภาวะฉุกเฉินมีขึ้นครั้งแรกหลังการรัฐประหาร และขยายเวลาครั้งแล้วครั้งเล่าเรื่อยมา นับตั้งแต่การรัฐประหาร เมียนมาร์ก็เข้าสู่ความวุ่นวายและความรุนแรง รัฐบาลทหารใช้กำลังปราบปรามการประท้วงต่อต้านอย่างเด็ดขาด

เนื่องในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ รัฐบาลทหารเมียนมาร์ได้อนุมัติการอภัยโทษให้แก่นักโทษกว่า 7,700 คน ประชาชนหลายพันคนพากันไปรอรับญาติอยู่ที่บริเวณด้านหน้าเรือนจำในย่างกุ้ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม