รัฐบาลเยอรมนียอมจ่ายเงิน 7,500 ยูโรต่อผู้ลี้ภัยหนึ่งคนต่อปี

AFP

รัฐบาลกลางและ 16 รัฐของเยอรมนีได้ข้อตกลงที่จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้ลี้ภัย โดยจะจ่ายเงิน 7,500 ยูโร หรือประมาณ 2.85 แสนบาทต่อปีต่อผู้ลี้ภัยหนึ่งคน นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ (สังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี หรือSPD) ได้ตัดสินใจในอีกหลายเรื่อง

มาตรการเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย

โดยรวมแล้วจำนวนผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้าเยอรมนีควรจะมีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญและยั่งยืน ขั้นตอนการลี้ภัยสำหรับประชากรของประเทศที่ผ่านเกณฑ์การรับรองและมีอัตราน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นเร็วขึ้นกว่าเดิม เป้าหมายคือ การลี้ภัยและการพิจารณาของศาลควรเสร็จสิ้นภายในเวลาสามเดือน ส่วนในกรณีอื่นๆ ขั้นตอนการลี้ภัยควรจะแล้วเสร็จหลังจากหกเดือน

การควบคุมชายแดน

การควบคุมชายแดนด้านที่ติดกับประเทศออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และโปแลนด์จะมีความเข้มงวดมากขึ้น รัฐและตำรวจจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการลักลอบขนคนเข้าเมืองและการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ลี้ภัย

ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป อัตราเหมารวมผู้ลี้ภัยของรัฐบาลกลางจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมให้เป็นอัตราเหมาจ่ายต่อหัว ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ที่ต้องการความคุ้มครองดูแล ตั้งแต่ปี 2024 รัฐบาลเยอรมนีจะจ่ายเงินอัตราคงที่ต่อปีที่ 7,500 ยูโร หรือราว 2.85 แสนบาทสำหรับผู้ยื่นขอลี้ภัยครั้งแรกแต่ละราย ประมาณการว่าจะมีการจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวน 1.75 พันล้านยูโรในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงมหาดไทยเยอรมนีระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยและผู้อพยพอยู่ในเยอรมนีทั้งสิ้นประมาณ 3.1 ล้านคน

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ขอลี้ภัย

การจ่ายเงินสดให้กับผู้รับผลประโยชน์ภายใต้พระราชบัญญัติผลประโยชน์ของผู้ขอลี้ภัยควรถูกจำกัด เพื่อลดภาระการทำงานของหน่วยงานรัฐ แต่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบบัตรชำระเงินแทน และสิทธิประโยชน์ของผู้ขอลี้ภัยที่อยู่ในเยอรมนีมานานกว่าหนึ่งปีครึ่งก็จะถูกจำกัดด้วย

ขั้นตอนการลี้ภัยในประเทศที่สาม

รัฐบาลเยอรมนีต้องการตรวจสอบว่าขั้นตอนการลี้ภัยเป็นไปได้นอกยุโรปหรือไม่ จะตรวจสอบว่าสถานการณ์คุ้มครองผู้ลี้ภัยสามารถกำหนดได้ในระหว่างทางผ่านหรือประเทศที่สามในอนาคตหรือไม่ โดยเคารพต่ออนุสัญญาเจนีวาและอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมาธิการการย้ายถิ่นฐาน

รัฐบาลกลางจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกับรัฐต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการการย้ายถิ่นและการบูรณาการที่ดีขึ้น ซึ่งจะรวมกลุ่มทางสังคมด้วย อย่างเช่นโบสถ์และสหภาพแรงงานควรมีส่วนร่วม แต่ยังรวมถึงนักวิชาการและตัวแทนขององค์กรที่สนับสนุนผลประโยชน์ของผู้ขอลี้ภัยด้วย

มาตรการเพิ่มเติมในกรณีการย้ายถิ่นฐาน

จะมีการหารืออย่างเข้มข้นเกี่ยวกับข้อตกลงการย้ายถิ่นฐานกับประเทศต้นทางอื่นๆ การหลั่งไหลเข้าทางชายแดนนอกเขตแดนยุโรปควรถูกจำกัด และการสร้างระบบการลี้ภัยร่วมของยุโรปควรได้รับการส่งเสริมในระดับสหภาพยุโรป ผู้ลี้ภัยทุกคนควรได้รับการตรวจสอบและลงทะเบียนอย่างเข้มงวดที่ชายแดนนอกเขตแดนของสหภาพยุโรป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปานปรีย์' เผย 'จักรภพ' ไม่ได้ประสาน กต. ก่อนกลับไทย รับไม่ได้เกาะติดผู้ลี้ภัยการเมือง

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายจักรภพ เพ็ญแข อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ลี้ภัยทางการเมืองนานถึง 15 ปี เดินทางกลับประเทศไทย ว่า นายจักรภพไม่ได้ประสานมาทางกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)

'จักรภพ เพ็ญแข' ประกาศกลับไปรับใช้เมืองไทย 28 มี.ค.นี้ หลังลี้ภัยการเมืองกว่า 10 ปี

นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ลี้ภัยทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 07.35 น.จักรภพ เพ็ญแข

'เศรษฐา' พบ 'มาครง' อยากให้มีฟรีวีซ่าไทย-อียู กต.ไม่มีนโยบายนำผู้ลี้ภัยในฝรั่งเศสกลับไทย

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ไปพบกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส ว่า เป็นเรื่องที่นายกฯ ประสงค์จะให้มีฟรีวีซ่าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป

นายกฯ ยันดูแลผู้ลี้ภัยเมียนมาตามสิทธิ์ควรได้รับ พร้อมหนุนเจรจากันอย่างสันติสุข

นายกฯ ย้ำไทยให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน ยันดูแลผู้ลี้ภัยเมียนมาชายแดนตามสิทธิ์ควรได้รับ หนุนให้มีการพูดคุยและเจรจากัน อย่างสันติสุข

คนตายก็ไม่เว้น! 'ศาสดาเจียม' อัด 'นิธิ' มีแนวโน้มยกย่องสถาบันฯ

นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ปัจจุบันลี้ภัยที่ประเทศฝรั่งเศส โพ