มหาเศรษฐี 10 อันดับแรกของโลก รวยขึ้น 2 เท่าช่วงโควิด

สวนทางโลก ออกซ์แฟมเผยบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 10 อันดับแรกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในช่วง 2 ปีแรกที่ทั่วโลกผจญกับการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้มีคนยากจนและความเหลื่อมล้ำทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น

แฟ้มภาพ อีลอน มัสก์ บุคคลผู้ร่ำรวยที่สุดในโลกตามการจัดอันดับของฟอร์บส์ในปัจจุบัน (Getty Images)

เอเอฟพีอ้างรายงานของออกซ์แฟม องค์กรการกุศลจากสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 ที่คำนวณความมั่งคั่งของอภิมหาเศรษฐีของโลก 10 อันดับแรก โดยอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุมและล่าสุดเท่าที่หาได้ รวมถึงใช้รายชื่ออภิมหาเศรษฐีพันล้านปี 2021 ที่รวบรวมไว้โดยนิตยสารฟอร์บส์ รายงานออกซ์แฟมระบุว่า อภิมหาเศรษฐี 10 อันดับแรกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 1,500,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีทรัพย์สินเพิ่มในอัตราเฉลี่ยวันละ 1,300 ล้านดอลลาร์

ออกซ์แฟมกล่าวว่า ทรัพย์สินของ 10 บุคคลนี้เพิ่มขึ้นในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 มากกว่าในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเผชิญกับภาวะตกต่ำครั้งร้ายแรงที่สุดเมื่อ 14 ปีก่อน

รายงานเรียกสภาพที่เกิดขึ้นว่าเป็น "ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ" ที่เหลื่อมล้ำ และว่า ความไม่เท่าเทียมนี้มีส่วนทำให้มีผู้เสียชีวิตวันละ 21,000 คนทุกวัน สืบเนื่องจากขาดการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ, ความรุนแรงทางเพศ, ความหิวโหย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การระบาดของโควิด-19 ทำให้มีคนยากจนทั่วโลกเพิ่ม 160 ล้านคน ผู้ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากความเหลื่อมล้ำที่พุ่งสูงขึ้นคือ ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่คนขาวและผู้หญิง

ตามรายชื่อของฟอร์บส์ บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 10 อันดับแรก ได้แก่ อีลอน มัสก์ ผู้บริหารเทสลาและสเปซเอ็กซ์, เจฟฟ์ เบโซส ผู้บริหารแอมะซอน, แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ที่ร่วมกันก่อตั้งกูเกิล, มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก จากเฟซบุ๊ก, บิล เกตส์ และสตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์, แลร์รี เอลลิสัน อดีตซีอีโอออราเคิล, วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุน และแบร์นารด์ อาร์โนลต์ ผู้บริหารของหลุยส์วิตตอง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท