อุ๊ต๊ะ! ส.ส.ค่ายปชป.เป็นนักประชาธิปไตย เสนอตัดอำนาจส.ว.เลือกนายกฯ

28 พ.ค.2565 - นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียดดังนี้

ลเลือกตั้งสนาม กทม. แสงสว่างประชาธิปไตยส.ว.ต้องฟังเสียงประชาชน

ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือ ส.ก.เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะคะแนนที่คนกรุงเทให้กับ คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 1.3 ล้าน ซึ่งมากที่สุดเท่าที่ผู้ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในอดีตเคยได้รับ ผมถือว่า เป็นแสงแห่งความหวังในการกอบกู้ซากประชาธิปไตยที่ถูกทำลายมาตลอดระยะเวลา 8 ปี

จะเห็นว่า หลังทราบผลเลือกตั้ง ประชาชนให้การยอมรับและสนับสนุนการทำงานของคุณชัชชาติอย่างเต็มที่ นั่นเพราะคุณชัชชาติคือ คนที่เข้ามาโดยถูกต้องตามครรลองระบอบประชาธิปไตย

คุณชัชชาติไม่มีอำนาจรัฐหรือกติกาใดมาเอื้อประโยชน์ให้ คะแนนที่ท่วมท้นเกิดจากความต้องการของประชาชนใน กทม. อย่างแท้จริง

ผมหวังจะเห็นว่า การแสดงพลังผ่านระบอบประชาธิปไตยแบบนี้อีกครั้งในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งหน้า เพื่อให้ประชาชนได้เลือกคนที่เขาต้องการและไว้วางใจมาบริหารประเทศจริงๆ โดยปราศจากกลไกและกติกาใดๆ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมาขัดขวาง

เพราะผมเชื่อว่า ไม่ว่าใครได้เข้ามาบริหารประเทศหากเป็นความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ในกติกาที่เป็นธรรม จะได้รับการยอมรับและสนับสนุนการทำงานเหมือนที่คุณชัชชาติได้รับ

แต่ผมไม่แน่ใจว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าคนที่ได้รับฉันทามติจากประชาชนแบบเดียวกับคุณชัชชาติ จะได้เข้ามาบริหารประเทศหรือไม่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมีกติกาหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตยอยู่ไม่น้อย

โดยเฉพาะอำนาจของ ส.ว. ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญมาตรา272 ที่ยังสามารถร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ตรงนี้น่ากังวลว่า หากมีใครพยายามจะรักษาอำนาจตัวเองใช้กลไกนี้สกัดกั้น เราอาจไม่ได้ผู้นำที่มาจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงอีก

ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาที่มีทั้งหมด 750 เสียง (ส.ส.500 คน ส.ว.250 คน) โดยต้องได้ 376 เสียง หากการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถรวบรวมเสียง ส.ส.ได้ถึง 376 เสียง นั่นหมายความว่า เสียง ส.ว.จะเป็นตัวชี้ขาดทันที

มันน่าสนใจมากว่าหาก ส.ว.ลงมติแตกต่างกับเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนในการเลือกตั้ง กระบวนการฟื้นฟูประชาธิปไตยที่เราคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นหลังเห็นแสงสว่างแห่งความหวังในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. และ ส.ก.ที่ผ่านมาจะสะดุดหยุดลงอีกครั้ง

ผมขอยืนยันตรงนี้ว่า ไม่ได้มีอคติกับการมี ส.ว. และสนับสนุนให้มี ส.ว.ในกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อถ่วงอำนาจตามครรลองที่ควรจะเป็น แต่การให้อำนาจ ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วยมาตลอด

แต่ในเมื่อบทเฉพาะกาลกำหนดเอาไว้แบบนั้น และที่ผ่านมาไม่ได้มีการแก้ไขอำนาจ ส.ว.ตรงนี้ เพราะ ส.ว. และผู้มีอำนาจไม่ยินยอม ผมจึงได้แต่หวังว่า เมื่อถึงการเลือกตั้งใหญ่อีกไม่ถึง10เดือนข้างหน้า ส.ว.จะเคารพเสียงของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้ง ไม่ทำอะไรที่เป็นตัวฉุดรั้งกระบวนการฟื้นฟูประชาธิปไตยของประเทศ เช่นฝ่ายไหนชนะและได้เสียงข้างหน้า ก็ควรยอมรับมติดังกล่าวนั้น

เพราะเราเห็นแล้วว่า กระบวนการใดๆ ที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม หรือเป็นการยัดเยียดให้กับประชาชน สุดท้ายจะไม่ได้รับการยอมรับ และนำพาประเทศไปสู่วิกฤตการณ์ต่างๆ อย่างที่เราเห็นกันมาตลอดหลายปีมานี้

คุณอาจรักษาอำนาจได้ แต่คุณจะไม่มีวันได้ใจประชาชน และที่สุดคุณจะไม่อาจต้านทานพลังความต้องการของประชาชนได้ เหมือนกับที่เราเห็นในสนาม กทม.

#ส.ว.ต้องฟังเสียงชาวบ้าน #หนุนแก้มาตรา 272

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เสรี' เผยมี 27 สว. อภิปรายรัฐบาล รับอาจไม่ดุเดือดเพราะไม่มีการลงมติ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึงการเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ของ ส.ว. ในวันที่ 25 มี.ค.ว่า จะมีผู้อภิปราย 27 คน ส่วนประเด็นที่จะอภิปราย จะยึดตามกรอบญัตติที่เคยยื่นไป