รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้แผ่นดินไตรมาสแรก 4.8 หมื่นล้านบาท

“สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 48,533 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 ของเป้าหมายทั้งปี”

17 ม.ค. 2565 นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า  ณ สิ้นไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564) สคร. จัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 (กิจการฯ) รวมทั้งสิ้นจำนวน 48,533 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการสะสมจำนวน 6,361 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของเป้าหมายการจัดเก็บในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 142,800 ล้านบาท  โดยเงินนำส่งรายได้แผ่นดินส่วนใหญ่มาจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ประกอบกับเนื่องจากรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่หลายแห่งมีผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2564 ดีขึ้น จึงนำส่งรายได้แผ่นดินระหว่างกาลปี 2564 สูงกว่าที่ประมาณการไว้ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้านครหลวง และธนาคารออมสิน โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด 10 อันดับแรก ณ สิ้นไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2565 มีดังนี้

ลำดับที่ รัฐวิสาหกิจ เงินนำส่งรายได้แผ่นดิน 

1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 17,519 ล้านบาท

2 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 11,745 ล้านบาท 

3 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 6,419 ล้านบาท

4 ธนาคารออมสิน 5,313 ล้านบาท

5 การไฟฟ้านครหลวง 2,587 ล้านบาท

6 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 2,374 ล้านบาท

7 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1,345 ล้านบาท 

8 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 700 ล้านบาท

9 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 309 ล้านบาท

10 การประปาส่วนภูมิภาค 124 ล้านบาท

11 อื่นๆ และกิจการฯ  98 ล้านบาท 

รวม 48,533 ล้านบาท

ข้อมูลเงินนำส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลัง โดย สคร. จัดเก็บ ไม่รวมเงินนำส่งรัฐประเภทอื่น เช่น ภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ

สำหรับในปีงบประมาณ 2565 จะเป็นการจัดเก็บเงินนำส่งรายได้แผ่นดินจากผลประกอบการในปี 2564 ของรัฐวิสาหกิจ จึงมีความเป็นไปได้ที่ผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 ของรัฐวิสาหกิจอาจยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ในระลอกที่ผ่านมา ซึ่ง สคร. จะได้มีการติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด โดยจะพิจารณาประกอบกับมาตรการของภาครัฐที่รัฐวิสาหกิจจะต้องเข้าไปดำเนินการเพื่อช่วยเหลือประชาชนและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การกำกับติดตามการนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน

ของรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างเสถียรภาพทางการคลังได้อย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รทสช.-ก้าวไกล' สลับกันนั่งประธาน กมธ.กิจการศาลฯ ประชุมนัดแรกไร้ปัญหาขัดแย้ง

นายสัญญา นิลสุพรรณ สส.นครสวรรค์ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย

6 รัฐวิสาหกิจกลุ่มสาธารณูปการผนึกกำลัง แลกเปลี่ยนความรู้ด้าน HR ปีที่ 2

6 รัฐวิสาหกิจกลุ่มสาธารณูปการผนึกกำลัง จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านการบริหารทุนมนุษย์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

'สคร.' ฟุ้งรัฐวิสาหกิจลงทุนพุ่ง 1.12 แสนล้าน

“สคร.” ฟุ้ง พ.ค. 2566 รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนพุ่ง 1.12 แสนล้านบาท คิดเป็น 108% ของแผน พร้อมกำกับใช้งบให้เป็นไปตามเป้าหมาย “รฟท.-รฟม.-กฟผ.” แชมป์ลงทุนเก่ง โครงการขนาดใหญ่เบิกจ่ายคึกคัก

ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เบิกจ่ายงบฯแล้วกว่า 1.8 ล้านล้านบาท หวังกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ

รองโฆษกรัฐบาล เผย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เบิกจ่ายงบประมาณผลักดันเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้วกว่า 1.8 ล้านล้านบาท

'สคร.' กางยอดเบิกจ่ายรัฐวิสาหกิจพุ่ง 5.6 หมื่นล้าน

“สคร.” กางยอดเบิกจ่ายรัฐวิสาหกิจ พุ่ง 5.63 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 111% ของแผนการเบิกจ่าย “รฟท.-รฟม.-กปน.-กฟผ.และกทพ.” พาเหรดลงทุนติดท็อป 5 พร้อมติดตามการเบิกจ่ายอย่างใกล้ชิด เข็นโตตามเป้าไม่น้อยกว่า 95% ของกรอบงบลงทุนทั้งปี

'คนร.'กำชับรัฐวิสาหกิจเดินเครื่องตามแผน 5 ปี

“คนร.” กำชับรัฐวิสาหกิจเดินเครื่องตามแผน 5 ปี ชงปรับตัวให้เข้าสถานการณ์โลก เพิ่มรายได้ ปรับปรุงภาพลักษณ์ ลดต้นทุน พร้อมจี้ 6 รัฐวิสาหกิจเร่งแก้ปัญหาองค์กรตามแผนฟื้นฟู สั่งรายงานความคืบหน้าต่อเนื่อง