อ่วม 15 ธ.ค. นี้ กทพ.ปรับขึ้นค่าทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ

อ่วม 15 ธ.ค.ขึ้นค่าทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ เตรียมปรับขึ้นตามสัญญาสัมปทาน ทุก 5 ปี 15-25-35บ. กพท.เร่งเจรจาBEM หามาตรการเยียวยาบรรประชาชน ย้ำจะไม่ให้เกิดค่าโง่อย่างแน่นอน

20 ต.ค. 2564 – นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ตามที่ในวันที่ 15 ธ.ค. 2564 จะครบกำหนดการขึ้นค่าผ่านทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตามสัญญาสัมปทานกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม (BEM) หลังจากเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 5 ปี หรือตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา จากเดิมอัตราค่าผ่านทางรถยนต์ขนาด 4 ล้อ ราคา 50 บาท จะปรับขึ้นเป็น 65 บาท, รถยนต์ขนาด 6-10 ล้อ ราคา 80 บาท จะปรับขึ้นเป็น 105 บาท และรถยนต์ขนาด 10 ล้อขึ้นไป ราคา 115 บาท จะปรับขึ้นเป็น 150 บาท ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าผ่านทางดังกล่าวนั้น เป็นไปตามสัญญาสัมปทานกำหนดไว้

นายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า บอร์ด ได้มีข้อสั่งการมายังฝ่ายบริหารของ กทพ. เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีความความห่วงใยเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนในการปรับขึ้นค่าผ่านทางครั้งนี้ เนื่องจากอยู่ในช่วงสถาการณ์การการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงสั่งการให้ฝ่ายบริหารของกทพ.ให้ไปหารือกับบริษัทคู่สัญญา หรือ BEM เพื่อหามาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้ทาง หรือเยียวยาประชาชนได้อย่างไรบ้าง เช่น อาจจะเป็นการชะลอการขึ้น หรือการจัดแคมเปญพิเศษเพื่อจูงใจให้ประชาชนรู้สึกว่ายังได้รับการใส่ใจดูแล

“เมื่อบอร์ดรับทราบแล้ว ได้สั่งการให้ กทพ.ไปทำการบ้านต่อ หลังจากนี้จะมีการเชิญทาง BEM มาพูดคุยอีกครั้ง หลังจากเมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการการหารือกันแล้ว ซึ่งBEM ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ยังคิดแคมเปญไม่ทัน แต่ได้พิจารณาว่าเยียวยาหรือช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไร กทพ.เข้าใจถึงเหตุผลตรงนี้เนื่องจากที่ผ่านมา BEM ก็ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ปริมาณรถที่ผ่านทาง ตามสัญญาคาดการณ์ปริมาณรถที่ใช้บริการ 8 หมื่นคัน แต่ใช้บริการเพียง 5 หมื่นคน ส่วนรายได้หายไปเกือบ 50% โดยภายในสัปดาห์หน้าจะนัด BEM มาหารืออีกครั้ง เพื่อนำเสนอให้บอร์ด กทพ.พิจารณา คาดว่าภายในต้นเดือนพ.ย.นี้จะต้องได้ข้อสรุปทั้งหมด”นายสุรเชษฐ์ กล่าว

นายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า มีความชัดเจนแล้วว่า วันที่ 15 ธ.ค.นี้ปรับขึ้นค่าผ่านทางสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ส่วนจะขึ้นหรือไม่ขึ้นนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผลเจรจากัน ต้องอย่าลืมว่าเรามีบทเรียนในการขึ้นค่าผ่านทางในอดีตมาแล้ว ถ้าแข็งขืนหรือไม่ทำตามสัญญาสัมปทานแล้วจะถูกฟ้องร้องค่าโง่ เราต้องระวังในเรื่องนี้ ยอมรับว่าหนักใจมากๆ กับเรื่องนี้ เนื่องจากต้องปฎิบัติตามสัญญา ซึ่งเอกชนเองก็ได้รับความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นการที่เราไปขอให้คนที่เขาได้รับความเดือดร้อนมาช่วยเหลือคนเดือดร้อนก็ต้องมีวิธีการจูงใจ แต่จะพยายามพูดคุยเจรจาหาทางออกที่ดีที่สุด ต้องหาข้อมูลมานั่งคุยกันอย่างละเอียด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

4 พ.ค. ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 60 ด่าน

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่าได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ รวม 3 สายทาง ดังนี้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) จำนวน 19 ด่าน ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)

'มท.1' เซ็นแล้ว! ปิดผับตี 4 พร้อมไฟเขียวฉลองปีใหม่ถึง 6 โมงเช้า

'อนุทิน' ลงนามกฎกระทรวงขยายเวลาปิดตี 4 สถานบริการ 5 จังหวัด-โรงแรม ยันทันบังคับใช้ 15 ธ.ค. พร้อมไฟเขียวสถานบันเทิงทั่วประเทศ ฉลองปีใหม่ถึง 6 โมงเช้า

BEM มอบรถยนต์กู้ภัย กทพ.

นายไพสัณฑ์ เลิศศรารักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ งานปฏิบัติการทางพิเศษ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ( ที่ 4 จากซ้าย)

BEM แสดงความยินดี กทพ. ครบรอบ 51 ปี

นายอนวัช สุวรรณฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM (ที่ 9 จากซ้าย) ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT

กทพ. ชะลอขึ้นค่าผ่านทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถีออกไปอีก 6 เดือน

กทพ. ชะลอปรับขึ้นค่าผ่านทางของทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถี ออกไปอีก 6 เดือน มีผลวันที่ 1 มี.ค. 67 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและผู้ประกอบการทางด้านขนส่ง