กบง.ลั่นยืนราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร พร้อมกู้เพิ่ม 2 หมื่นล้านมาอุ้ม

กบง.ลั่นยืนราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร โอดใช้เงินเดือนละ 5 พันล.ดึงกองทุนน้ำมันเทหมดหน้าตัก พร้อมจ่อกู้อีก 2 หมื่นล้านบาทดูแลราคาเต็มสูบ ลุยปรับสูตรผสมอีกรอบ ทำเต็มที่หากไม่ไหวพร้อมใช้กลไกอื่นดูแลเพิ่ม

20 ต.ค. 2564 – นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2564 ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางดำเนินการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยให้กลับมาใช้สูตรน้ำมันเดิม 3 เกรด คือดีเซลหมุนเร็ว บี7 กับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา(บี10) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 โดยจะยกเลิกน้ำมันดีเซล บี6 ออกไป แต่ยืนยันว่าจะตรึงราคาน้ำมันกลุ่มดีเซล ไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร โดยกำหนดให้ส่วนต่างราคาขายปลีกระหว่าง บี7 กับบี10 อยู่ที่ 0.15 บาทต่อลิตร และระหว่างบี 7 กับ บี 20 อยู่ที่ 0.25 บาทต่อลิตร รวมถึงยังคงค่าการตลาดกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ไม่เกิน 1.40 บาทต่อลิตร

ทั้งนี้มาตรการช่วยเหลือการตึงราคาครั้งนี้จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 พ.ย. 2564 โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ในปัจจุบัน (ณ วันที่ 17 ต.ค. 64 มีฐานะกองทุนฯ อยู่ที่ 9,207 ล้านบาท) ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงกลุ่มดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินอยู่ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อเดือน ขณะเดียวกันอาจจะต้องใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อขอกู้เพิ่ม 20,000 ล้านบาท เพื่อเข้ามาดูแลราคาน้ำมันในช่วง 3-4 เดือนต่อไป ในภาวะที่ราคาน้ำมันยังสูงอยู่ต่อเนื่อง

“กระทรวงพลังงานยังติดตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง และหากในกรณีราคาน้ำมันดิบดูไบยังเกิน 87.5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลอยู่ และมีทีท่าว่าจะไม่ลดลงจนส่งผลมายังราคาขายปลีกในประเทศ ก็อาจจะส่งผลให้สถานภาพกองทุนน้ำมันอาจจะไม่เพียงพอในการดูแลราคาให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรได้ต่อไป จึงกระทรวงฯจะต้องหาช่องทางอื่นเข้ามาเพิ่มเติม ทั้งนี้ ได้หารือกับทาง กระทรวงการคลัง ถึงมาตรการอื่นๆ ที่จะเข้ามาเสริมได้อีก รวมถึงการใช้กลไกทางสรรพสามิตก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่อาจจะนำมาใช้ได้เพื่อตรึงราคาน้ำมันไว้”นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่าการกู้เงินตามพ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องหารือกับกระทรวงการคลังก่อน เพื่อให้นำไประบุอยู่ในแผนก่อหนี้สาธารณะ เพื่อนำเงินมาช่วยเหลือประชาชนต่อไป อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานคาดคะเนว่าราคาน้ำมันอาจจะอ่อนตัวลงจากสภาพภูมิอากาศที่จะร้อนขึ้น และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบอาจจะอ่อนตัวลงตามไป แต่ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าได้ดำเนินการเต็มที่ในการช่วยประชาชน โดยการใช้มาตรการต่าง ๆ มาดูแล

“สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนหลังแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยได้รับแรงกดดันจากตัวเลขภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการเตรียมเปิดประเทศในหลายประเทศ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ วิกฤตการด้านก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะติดตามสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านน้ำมัน ด้านก๊าซปิโตรเลียวเหลว ด้านไฟฟ้า ให้ได้รับความเป็นธรรม เหมาะสมต่อไป”นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิชัย' อวยรัฐบาลแก้ปัญหามาถูกทางแม้ราคาน้ำมันพุ่ง-ศก.จีนทรุด

'พิชัย' เตือน ราคาน้ำมันพุ่ง จะทำหนี้กองทุนน้ำมันทะลุแสนล้าน ห่วงปัญหาเศรษฐกิจจีนฉุดเศรษฐกิจไทย ชี้รัฐบาลมาถูกทางเร่งแก้ปัญหาพร้อมกันหลายด้าน

'สรรพสามิต' เล็งเลิกลดภาษีอุ้มดีเซล โยนกองทุนน้ำมันรับหน้า!

“สรรพสามิต” โยนพลังงานเข็นกองทุนน้ำมันรับหน้าอุ้มราคาพลังงาน หลังมาตรการลดภาษีดีเซลเตรียมหมดอายุ 20 ก.ค. นี้ แจงลดภาษีสูญรายได้แล้ว 1.58 แสนล้านบาท ห่วงฐานะการคลังสะดุด พร้อมเดินเครื่องชงรัฐบาลใหม่เคาะภาษีความเค็ม-บุหรี่ไฟฟ้า-ไบโอเจ็ท

'พิชัย' ข้องใจรัฐบาลลดราคาดีเซลลิตรละ 50 สตางค์ทำไมต้องรอ 15 ก.พ.

'พิชัย' ติงลดราคาดีเซลลิตรละ 0.50 บาทน้อยและช้าเกินไป ชี้ควรลด 2 บาทเหมือนที่พรรคเสนอ ถามข้องใจทำไมต้องรอวันที่ 15 ก.พ. หรือหวังกลบอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ส.ว. เห็นชอบ พรก.กู้เงินอุ้มกองทุนน้ำมัน 'รมว.พลังงาน' ย้ำไม่สร้างผลกระทบประชาชน

ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ ซึ่งเป็นการพิจารณาอนุมัติต่อจากที่่สภาผู้แทนราษฎร

'กรณ์' แนะรัฐบาลพิจารณา 2 เรื่อง หลัง พ.ร.ก.กู้เงินค้ำกองทุนน้ำมันผ่านสภาฯ

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า แถลงภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้กองทุนน้ำมัน ว่าหากไม่มีกฎหมายฉบับนี้