2565 ปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน

รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือนใน 8 ประเด็น ได้แก่ การแก้ไขหนี้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา     (กยศ.)  การกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ การแก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์รถจักรยานยนต์ การแก้ไขหนี้ข้าราชการโดยเฉพาะครูและตำรวจ การแก้ไขปัญหาบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล การแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อยและ SME’s  การปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเอื้อให้เกิดการแก้ไขปัญหาหนี้สิน

บทความนี้เป็นการนำเสนอความเห็น เพื่อเสริมการแก้ไขหนี้ครูโดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นตัวขับเคลื่อน การขยายผลไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ มหาวิทยาลัย    ปัญหาด้านข้อมูลหนี้ของประชาชน   ปัญหาการรวมหนี้  และการใช้หมอหนี้ช่วยให้คำแนะนำการแก้ไขหนี้

จากการตระหนักหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น  14.58 ล้านล้านบาทในปี 2564   อัตราส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90.1 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนการก่อหนี้ที่สูง เมื่อเทียบกับรายได้  ประกอบกับเมื่อโรคโควิด 19 ได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง ประเทศไทยขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ การเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบ ลูกหนี้ประสบปัญหา รายได้ลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้  จำนวน 4.4 ล้านบัญชี มูลหนี้ 1.66 ล้านบาท ในปี 2564 ต่อเมื่อเกิดวิกฤตสงครามรัสเซียบุกยูเครน ปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2565 เชื่อว่าจะมีหนี้จำนวนหนึ่งกลับมาเป็นปัญหาและต้องได้รับการแก้ไข

ลูกหนี้ครัวเรือนมีจำนวนมาก กระบวนการติดตามหนี้ กระชับ รวดเร็ว ถึงแม้จะมีการให้โอกาสในการผ่อนชำระ การแก้ไขหนี้อยู่บ้าง  เราก็คงยังเห็นการฟ้องดำเนินคดี ยึดทรัพย์ผู้ค้ำประกันเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงลูกหนี้ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ( กยศ. )

กระทรวงยุติธรรม ได้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ไปแล้ว 3 ครั้ง ที่ กทม, โคราช สงขลา และครั้งล่าสุดที่นครศรีธรรมราชเมื่อ1เมษายน 2565 ทำให้หนี้ที่อยู่ในกระบวนการศาล ทั้งก่อนฟ้อง ระหว่างฟ้อง บังคับคดี  รวมทั้งสิ้น กว่า 6000 รายจำนวนกว่า 1100 ล้านบาท ได้รับการแก้ไขนับเป็นการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องดำเนินคดี ได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติอีกครั้ง

การแก้ไขปัญหาหนี้ครู เป้าหมายระยะแรก จำนวน 200,000 ราย วิธีการใช้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 20 แห่งเป็นสหกรณ์นำร่อง กำหนดมาตรการช่วยเหลือหลายวิธีตัวอย่างเช่น  ยุบยอดหนี้โดยใช้ทรัพย์สิน / เงินได้ในอนาคตมาตัดหนี้   รวมหนี้จากแหล่งเจ้าหนี้อื่นมาไว้ที่สหกรณ์ ลดภาระจ่ายดอกเบี้ยที่แพงมาดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า  การลดดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน  5 %  ต่อปี  เป็นต้น

หลายปีก่อนข้าราชการครูปรากฏเป็นข่าวมีหนี้สินจำนวนมาก จากหลายแหล่งเงินทุนเช่น หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อรถยนต์  ในขณะที่รายได้แต่ละเดือนหลังการหักหนี้แล้วเหลือไม่เพียงพอต่อการยังชีพ  มาตรการรวมหนี้จากแหล่งเจ้าหนี้อื่นซึ่งอัตราดอกเบี้ยมักจะแพงที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 มาไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์จะเป็นการไขหนี้แบบเบ็ดเสร็จ

นอกจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแล้วยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นๆ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ของราชการ มหาวิทยาลัย เป็นต้นซึ่งมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ผลประกอบการดี  สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสมาชิกที่มีภาระหนี้สินจำนวนมาก ให้บรรเทาเบาบางลง ด้วยการขยายผลการใช้มาตรการช่วยเหลือข้าราชการครู  

เงื่อนไขสำคัญที่ลดความเสี่ยงการบริหารหนี้ของสหกรณ์คือสิทธ์การรับชำระหนี้จากเงินเดือนสมาชิก เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินบำนาญ  หุ้นสหกรณ์ ซึ่งปกติสามารถนำมาเป็นหลักประกันรวมกับทรัพย์สินประเภทอื่น เช่น บ้านที่ดิน การจัดการงวดผ่อนชำระให้สอดคล้องกับเงินเดือนรายได้ สามารถทำได้ โดยขยายเวลางวดผ่อนชำระให้ยาวขึ้น 

รวมทั้งจัดงวดผ่อนได้หลายวิธี เช่น ผ่อนชำระเป็นรายเดือนๆ ละเท่าๆกัน  การจัดงวดผ่อนชำระแบบขั้นบันได หรือ ชำระน้อยในระยะแรกและค่อย ๆ เพิ่มจำนวนในงวดถัดๆ ไป   การจัดงวดผ่อนชำระแบบ bullet ผ่อนชำระน้อยมาก และชำระหนี้ที่เหลือทั้งจำนวนในงวดสุดท้าย  

นอกจากนั้นสหกรณ์ สามารถทบทวนแผนการผ่อนชำระได้ทุก ๆ 3 หรือ 5 ปี  สามารถบริหารต้นทุนได้โดยการลดดอกเบี้ยเงินฝากไม่เกินเพดาน  รวมถึงสามารถเพิ่มสภาพคล่องและสร้างความแข็งแกร่งของเงินส่วนทุนโดยการจัดสรรกำไรในแต่ละปีเป็นกำไรสะสมมากชึ้น  เช่น  ร้อยละ 30 -50 ของกำไรสุทธิ 

นอกจากหนี้ช้าราชการแล้วยังหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาในกลุ่มประชาชนทั่วไป ทั้งที่มีเงินเดือนประจำ ผู้ให้บริการในธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ขายของ online อาชีพอิสระอื่น SME’s หรือผู้ตกงานไม่มีรายได้ ที่รอรับการช่วยเหลือซึ่งส่วนใหญ่น่าจะมาจากจำนวน 4.4 ล้านบัญชี วงเงิน 1.66 ล้านบาทที่ได้รับการช่วยเหลือโดย ธปท.เมื่อปีที่แล้ว

หนี้ครัวเรือนปกติจะเป็นการเร่งคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เช่น กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ เพื่อการศึกษา เป็นต้น หากมีการใช้วงเงินกุ้ที่เหมาะสมกับรายได้มีภาระจ่ายหนี้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 70 ของรายได้ในแต่ละเดือนและต้องมีเหลือเพื่อการดำรงชีพ  ปัญหาหนี้ก็คงไม่เกิด  เราจะหยิบยกปัญหาสำคัญขึ้นมา 2 ประเด็น

ปํญหาข้อมูลหนี้เป็นปัญหาใหญ่อย่างุหนึ่ง ผู้ให้กู้ไม่ทราบภาระหนี้ที่ผู้กู้ต้องจ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน การตรวจสอบข้อมูลยังคงเป็นข้อจำกัดที่ได้จากบริษัทเครดิตบูโร ซึ่งมีแหล่งเงินให้กู้หลายแห่งยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์  บริษัทเช่าซื้อ เป็นต้น รวมถึงหนี้นอกระบบ ปัจจุบันน่าจะเป็นแหล่งเงินที่พึ่งของผู้มีรายได้น้อย ตัวเลขรวม ๆ น่าจะเป็น แสนล้านบาท

ปัญหาการรวมหนี้จากลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย หลายประเภทหนี้ เช่น หนี้บัตรเครดิต 4 ใบ หนี้ส่วนบุคคล 2แห่ง หนี้เช่าซื้อ 3 แห่ง  การจะรวมหนี้ไปอยู่ที่เจ้าหนี้รายใหญ่หรือรายใด ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายเจ้าหนี้ พร้อมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหรือไม่ มีอะไรเป็นการชดเชยความเสี่ยง และทำเพื่ออะไรไม่เหมือนกับสหกรณ์ออมทรัพย์หากการแก้ไขปัญหาสมาชิกเป็นหนึ่งในนโยบายที่ต้องทำ ด้วยหลักการดูแลคุณภาพชีวิตของสมาชิก ฤา จะให้ธนาคารประชาชนของรัฐเข้ามาทำหน้าที่นี้ 

การแก้หนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กระทบต่อคนจำนวนมาก ปัญหาการก่อหนี้ที่สูงมีมาจากหลากหลายสาเหตุ ควรต้องทำความเข้าใจ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิผล 

สุดท้าย เมื่อคนป่วยไข้ก็ต้องหาหมอเพื่อการรักษาเยียวยา เช่นเดียวกับคนผิดนัดชำระหนี้ครัวเรือนก็สมควรได้รับคำปรึกษาเช่นที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดหมอหนี้ ให้คำปรึกษาแก่ลูกหนี้ อย่างน้อยลูกหนี้ก็เข้าใจได้ว่าตนเองไม่ได้ต่อสู้ตามลำพัง วันนี้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสะสมในประเทศกว่า 1.5  ล้านรายได้รับการรักษาจากหมอแล้วหายเป็นส่วนใหญ่ การฉีดวัคซีนป้องกัน รัฐบาลต้องใช้ทรัพยากรสูงและหลากหลายในการต่อสู้ปัญหาโควิด  ปัญหาหนี้ครัวเรือน รัฐบาลคงต้องจัดสรรทรัพยากรสูงและหลากหลายเพื่อให้หนี้เข้าสู่ภาวะปกติและเป็นหนี้ที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน  

วงศกร พิธุพันธ์

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลกวักมือเรียกผู้กู้ กยศ.ที่ถูกดำเนินคดีเร่งปรับโครงสร้างหนี้ด่วน!

รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน

รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา 'กยศ.' ปรับโครงสร้างลูกหนี้กว่า 3.5 ล้านราย

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ

นายกฯ แขวะ 'ธปท.' ชมคนพูดลดดอกเบี้ยจิตใต้สำนึกดี

'เศรษฐา' แขวะ 'แบงก์ชาติ' ไม่ยอมหั่นดอกเบี้ย ชมเปาะเหล่าทัพ-หน่วยงานรัฐ มีจิตสำนึกดีอยากให้ลด ขอบคุณเห็นความลำบากประชาชน ย้ำเรื่องหนี้สารตั้งต้นหายนะประเทศ

รัฐบาลชวน 'ลูกหนี้ กยศ.' ลงทะเบียนขอเงินที่ชำระเกินคืนได้

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) คำนวณยอดหนี้คงเหลือใหม่ ตามพระราชบัญญัติ กยศ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566