วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย อาชีวะสร้างชาติยุค 4.0

เวลาพูดถึง “การศึกษาสร้างชาติ” ผู้คนทั่วๆ ไปก็จะนึกถึงอาชีวศึกษาทุกครั้ง ด้วยเหตุว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีในช่วงเวลาที่ผ่านมา ล้วนพึ่งพาบุคลากรระดับอาชีวะเป็นสำคัญ อาทิ เยอรมนี ออสเตรีย กลุ่มประเทศในยุโรป จนถึงญี่ปุ่น จีน ฯลฯ การอาชีวศึกษาจึงเป็นเสมือนฐานสำคัญในการผลิตบุคลากรสร้างชาติที่มีความหมายยิ่ง!

สำหรับประเทศไทย การอาชีวะยุคใหม่นั้นเป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างประเทศชาติบ้านเมืองและเป็นกำลังสำคัญต่อการสร้างความก้าวหน้าในยุค 4.0 จะมีที่พลัดหลงไปไล่ตีกัน-เถื่อนถ่อยบ้าง ก็เป็นเพียงกลุ่มซากแดนที่เดินตามรุ่นพี่ศิษย์เก่าน้ำเน่าไร้อนาคตที่สิ้นคิด-ไร้สมอง สร้างเรื่องจนเป็นข่าวให้หม่นหมองเท่านั้น ซึ่งจริงๆ ไม่น่าจะนับเป็นกลุ่มอาชีวะ เป็นแค่กลุ่มอันธพาลแฝงในคราบนักเรียน ที่อยากดัง-ดิบถ่อยเท่านั้น!

จากอดีตถึงปัจจุบัน การผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษานั้นสำคัญมาก เพราะบุคลากรอาชีวะในกระบวนการสร้างเศรษฐกิจและความก้าวหน้าให้บ้านเมือง เปรียบเสมือนเป็นกล้ามเนื้อ-กระดูกสันหลังของเศรษฐกิจก็ว่าได้ โดยเฉพาะการยกระดับเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังเชื่อมโลกให้ไทยแล่นในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี การผลิตกำลังคนระดับอาชีวะนั้นสำคัญมาก ความก้าวหน้าใหม่วันนี้-ต้องการบุคลากรอาชีวะในการขับเคลื่อนสร้าง 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีสูงถึงร้อยละ 54 ของความต้องการบุคลากรทั้งหมด หรือกว่าสองแสนตำแหน่ง! โดยเฉพาะกลุ่มงานแมคคาทรอนิก ดิจิตอล ออโตเมชั่น หุ่นยนต์ โลจิสติกส์ รวมถึงเทคโนโลยีอัจฉริยะทั้งหลาย เรียกว่าเป็นกลุ่มสำคัญ-มีความต้องการสูงสุด!

โลกของอาชีวะไทยยุคใหม่นั้น ถ้าย้อนดูพัฒนาการของการอาชีวศึกษาในประเทศไทยจะพบว่า เมื่อครั้งเริ่ม โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่นำประเทศสู่อุตสาหกรรมช่วงกลางทศวรรษ พ.ศ.2530 ดร.เสนาะ อูนากูล ได้นำคณะผู้บริหารไทยประสานการศึกษายุโรป-นำการศึกษาอาชีวะแบบยุโรป เยอรมนี ออสเตรีย มาปรับสร้างกำลังคนอาชีวะใหม่ในแบบทวิภาคี มีการลงนามทำความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับออสเตรีย จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคไทย-ออสเตรีย ขึ้นที่ อ.สัตหีบ ใช้ระบบการจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคี-ผลิตบุคลากรป้อนการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด ช่วงเปลี่ยนประเทศเป็นอุตสาหกรรมในครั้งกระนั้น นี่คือก้าวแรก-ก้าวสำคัญที่ขยับสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับการอาชีวศึกษาไทย!

ต่อมาการอาชีวศึกษาก็ปรับตัว-พัฒนาการหลายมิติ-หลายระบบ ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปัจจุบันการอาชีวะได้ร่วมพัฒนาการศึกษากับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี สร้างการศึกษาตอบโจทย์ความก้าวหน้ายุค 4.0 โดยต่อยอดการจัดการศึกษาแบบสัตหีบโมเดลสู่การศึกษาแบบอีอีซีโมเดล ในแบบโมเดลเอและโมเดลบี 

การศึกษาแบบอีอีซี โมเดลเอ เป็นการจัดการศึกษาที่สร้างบุคลากรอาชีวะสาขาตามต้องการของงานร่วมกับผู้ประกอบการ มีระบบการสร้างบุคลากรให้มีความรู้-ทักษะตรงตามงาน เป็นการศึกษาแบบเรียนฟรี-จบแล้วมีงานทำทันที-รายได้สูง มีการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในหลักสูตรที่มีความรู้-ทักษะตอบโจทย์ความต้องการจริง จัดการเรียน-การสอนทั้งในห้องเรียนและในสถานประกอบการจริง ผลลัพธ์ของผู้สำเร็จการศึกษานี้ เป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จที่สุด-ก้าวหน้าที่สุด สามารถหยุดความสูญเปล่าของการศึกษาได้ทั้งหมด! คนจบการศึกษากลุ่มนี้มีงานทำร้อยละร้อย! มีทักษะตรงตามงาน-มีรายได้สูง-มีอนาคตสร้างตัวได้ดี นี่คือทิศทางสำคัญที่เป็นหมุดหมายของอาชีวศึกษายุคใหม่

ส่วนการศึกษาอีอีซี โมเดลบี เป็นการฝึกอบรมระยะสั้น ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้-พัฒนาการให้กลุ่มพนักงานในสถานประกอบการหรือบริษัทต่างๆ รวมทั้งกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่งานใหม่ ให้ปรับตัว-ยกระดับความรู้-ทักษะ-ประสบการณ์ทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความก้าวหน้าใหม่ ซึ่งเป็นอีกแบบแผนหนึ่งในการพัฒนาทักษะยุคใหม่ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่เป็นผลิตผลของการอาชีวะศึกษาไทย

การอาชีวะไทยวันนี้มีความเคลื่อนไหว-ปรับตัวมาก มีความร่วมมือกับอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการหลากหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศ มีการสำรวจปรับปรุงและยกระดับวิทยาลัยที่มีศักยภาพสูงขึ้นเป็นศูนย์เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ตามแนวนโยบายการพัฒนาการอาชีวะยุคใหม่ ที่เร่งปรับตัวให้เท่าทันนวัตกรรมและเทคโนโลยียุค 4.0 และมีการจัดปรับการบริหารจัดการการศึกษาในแบบเครือข่ายที่ช่วยกันพัฒนายกระดับคุณภาพกำลังคนของการอาชีวศึกษาในทุกมิติทุกสาขา นี่คือการอาชีวศึกษายุคใหม่ที่เริ่มขยับขับเคลื่อนจากการทำงานในเขตพื้นที่อีอีซี!

วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย เป็นต้นแบบความก้าวหน้าของการอาชีวศึกษายุค 4.0 ที่มีการจัดการศึกษาแบบอีอีซี โมเดลเอ ทั้งหมดวิทยาลัย! เด็กอาชีวะที่นี่มีราว 3,000 คน/ปี อนาคตสดใสทุกคน วิทยาลัยมีความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 300 บริษัท จาก 8 ประเทศชั้นนำระดับสูง ทั้งจากอเมริกา เยอรมนี สวิส ออสเตรเลีย เดนมาร์ก ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ เข้าร่วมมือผลิตบุคลากรสร้างทักษะตอบโจทย์ตามความต้องการของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม นักเรียนอาชีวะทุกคนจบการศึกษามีงานทำทันที-มีรายได้สูง-มีเงินเดือนแรกเข้าไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นบาททุกคน 100% นี่คือตัวแบบสำคัญของอาชีวะสร้างชาติ สร้างอนาคตแบบถ้วนทั่วทุกตัวคนของนักเรียน วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)

ลัทธิผีบุญ .. ภัยร้ายต่อพระศาสนา!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบันที่ยังเจริญเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ คือ การยึดถือคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรมดั้งเดิม...