วันมาฆบูชา ... ปีอธิกมาส ๒๕๖๖ ณ วัดป่าญาณสัมปันโนอารยาราม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. วันมาฆบูชา .. ในปีนี้ตรงกับวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ด้วยเป็นปีอธิกมาส คือ มีเดือนแปด ๒ หน.. ด้วยถ้าปีไหนเกิดปรากฏเดือนขาด จะกำหนดให้เป็น “ปีอธิกมาส” และให้เพิ่มเดือน ๑๓ เข้ามา เพื่อชดเชยวันที่หายไป และยังทำให้ทุกราศีได้มีวันเพ็ญ ซึ่งเป็นเหตุให้ปีอธิกมาสมี ๓๘๔ วัน โดยหากพูดพอให้เข้าใจก็จะสรุปได้ว่า ปีอธิกมาสจะเกิดทุกๆ ๓ ปี.. หากคำนวณละเอียดๆ ก็จะเกิด ๗ ครั้งใน ๑๙ ปี และเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ จึงให้เพิ่มเดือน ๘ หนที่ ๒ เข้าไป.. ทำให้ปีอธิกมาสมีเดือน ๘ สองหน อย่างที่เราชอบพูดกล่าวถึงกันในปีอธิกมาส

สำหรับความรู้พื้นฐานของการจัดทำปฏิทินจันทรคติ จะมีการจัดวางเป็น

๑.ปีปกติ (ปกติวาร) มี ๓๕๔ วัน

โดย เดือนคู่มี ๓๐ วัน แบ่งเป็นข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ ข้างแรม ๑๕ ค่ำ 

เดือนคี่มี ๒๙ วัน แบ่งเป็นข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ ข้างแรม ๑๔ ค่ำ

๒.ปีอธิกวาร มี ๓๕๕ วัน

โดยยกเว้นให้เดือน ๗ .. เป็นข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ ข้างแรม ๑๕ ค่ำ

๓.ปีอธิกมาส มี ๓๘๔ วัน

โดยเพิ่มเดือน ๘ หนที่ ๒ เข้าไป โดยมีข้อตกลงว่า ปีไหนเพิ่มเดือน ๘ ก็ไม่ต้องไปบวกวันให้เดือน ๗ ... เรียกว่า หากเป็นปีอธิกมาส ก็ไม่ใช่ปีอธิกวาร

สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น จนต้องกำหนดปีอธิกมาส-อธิกวาร ด้วยเพราะการคำนวณดวงจันทร์ เรียกว่า “ดิถี” ... โดย ๑ รอบใช้เวลา ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง และเพื่อมิให้สับสนกับเศษชั่วโมง จึงกำหนดสองเดือน เท่ากับ ๕๙ วันพอดี (๖๐ วัน)

โดย เดือนคู่ จะมี ๓๐ วัน โดยมีข้างขึ้น ๑๕ ข้างแรม ๑๕

เดือนคี่ จะมี ๒๙ วัน โดยมีข้างขึ้น ๑๕ ข้างแรม ๑๔

จึงเกิดปัญหาว่า ... ใน ๑ เดือน มี ๒๙.๕ วัน ไม่ลงตัว เมื่อผ่านไป ๓ ปี วันจะเลื่อนไปประมาณ ๓๓ วัน บางราศีจะไม่มีพระจันทร์เต็มดวง หากถ้าต้องการให้มีพระจันทร์เต็มดวง ต้องให้มีวันเพ็ญ ๑๓ ครั้ง ซึ่งทำให้ชดเชยวันคืนมาได้ ๒๙.๕ วัน แต่ก็ยังเหลื่อมอยู่อีก ๓.๕ วัน โดยบางราศี จะมีวันเพ็ญ ๒ ครั้ง และเมื่อเข้าสู่ปีที่ ๓ จะมีปัญหา จึงเรียก “ปีอธิกมาส” ซึ่งปราชญ์โบราณได้จัดวิธีการแก้ไขไว้โดย

๑.แก้ปัญหา ๑ เดือน มี ๒๙.๕ วัน เพื่อให้ง่ายต่อการนับ จึงจัดให้มีเดือนคู่ ๓๐ วัน แบ่งเป็นข้างขึ้น ๑๕ ข้างแรม ๑๕ และเดือนคี่มี ๒๙ วัน แบ่งเป็น ข้างขึ้น ๑๕ ข้างแรม ๑๔

๒.แก้ปัญหาเดือนขาดไป ๑ เดือน โดยกำหนดให้เป็นปีอธิกมาส ให้เพิ่มเดือนที่ ๑๓ เข้าไป เพื่อชดเชยวันที่หายไป และยังทำให้ทุกราศีได้มีวันเพ็ญ แต่จะทำให้ปีนั้นที่เป็นปีอธิกมาสมี ๓๘๔ วัน.. ดังที่กล่าวมา จึงเป็นเหตุผลการคิดคำนวณตาม หลักจันทรคติ ซึ่งมีวันน้อยกว่าหลักสุริยคติ ถึงปีละ ๑๑ วันกว่า .. พอครบ ๓ ปี จึงเหลื่อมไป ๓๓ วัน เพื่อให้ตรงกับฤดูจริงๆ ทางธรรมชาติ ไม่คลาดเคลื่อน จึงต้องเพิ่มเดือนที่ ๑๓ ในปีนั้น.. ที่เรียกว่า “ปีอธิกมาส” ที่มีเดือน ๘ สองหน ดังในปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ นี้...

จึงเป็นเหตุให้วันมาฆบูชาประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ถูกเลื่อนออกไปสู่เดือนที่ ๔.. คือเดือนมีนาคม.. ซึ่งในทุกปีจะอยู่ที่เดือนกุมภาพันธ์ ที่ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ตัวแท้จริง.. จึงเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ควรได้เรียนรู้ไว้บ้าง จะได้ตอบชาวต่างชาติได้ถูกต้องว่า.. ทำไมประเทศไทยจึงจัดวันมาฆบูชาในเดือน ๔ ที่ตรงกับเดือนมีนาคม ในปี พ.ศ.๒๕๖๖ นี้.. ในขณะที่ชาวพุทธในศรีลังกา.. พม่า.. หรือในอินเดีย จัดงานเฉลิมฉลองวันมาฆบูชาไปตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

ชาวพุทธในประเทศไทยจึงได้กำไรที่ได้จัดงานมาฆบูชา และร่วมงานมาฆบูชาประจำปีนี้ถึงสองครั้ง... โดยจัดเองในวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖ และร่วมกับชาวพุทธต่างชาติในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖.. หากคิดได้อย่างนี้ก็สบายใจสุขใจเรา...

ปกติในทุกๆ ปี.. อาตมาในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มจัดงานวันมาฆบูชา ณ เวฬุวันมหาวิหาร แห่งพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ รัฐพิหาร อินเดีย ปัจจุบัน ซึ่งจัดให้มีการเฉลิมฉลองมาฆบูชาโลกครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ โดยได้จัดขึ้น ๒ แห่งในชมพูทวีป ท่ามกลางพระสงฆ์นานาชาติและชาวพุทธในอินเดียจำนวนมากมาย ทั้งที่ดิกชภูมี นครนาคปุระ รัฐมหาราษฏระ ศูนย์รวมชาวพุทธในอินเดีย และเวฬุวันมหาวิหาร .. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา แผ่นดินเกิดวันมาฆบูชาแท้จริง ที่ปัจจุบันได้ฟื้นฟูพื้นที่ใจกลางสวนป่าเวฬุวันให้เป็นพระมหาอุโบสถเวฬุวันมหาวิหาร ที่เชื่อว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ประชุมพระอรหันตสาวก ๑,๒๕๐ รูป โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้ทรงกระทำปริสุทธิอุโบสถครั้งแรก โดยทรงประทานพระโอวาทปาติโมกข์ แด่พระสงฆ์ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิต้องนัดหมาย ในวันเพ็ญเดือน ๓ ก่อนเข้าสู่พรรษาที่ ๒ ของพระพุทธองค์.. ณ เวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ที่บัดนี้ได้กลับคืนมาเป็นของพุทธศาสนาอีกครั้ง

จึงได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันมาฆบูชาโลก ณ เวฬุวันมหาวิหาร มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ.๒๕๖๖) รวม ๑๓ ปี ที่ไม่เคยงดเว้นการจัดงานมาฆบูชาโลก แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-๑๙ ใน ๒-๓ ปีที่ผ่านมา.. ก็ยังจัดงานวันดังกล่าว

และในปีนี้ ได้มอบหมายให้ผู้ประสานงานนิมนต์พระสงฆ์นานาชาติมาร่วมปฏิบัติศาสนกิจ เจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมฉลองวันมาฆบูชาโลกในวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖.. ที่เพิ่งผ่านไป โดยอาตมาได้จัดงานวันมาฆบูชาขึ้นที่วัดป่าญาณสัมปันโนอารยาราม.. อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยมีพระสงฆ์และคณะศรัทธาสาธุชนเข้าร่วมปฏิบัติธรรมเนื่องในวันสำคัญ เป็นเวลาต่อเนื่อง ๓ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๔-๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ซึ่งมี คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี และครอบครัว เป็นเจ้าภาพหลัก ในการจัดงานเฉลิมฉลองมาฆบูชาโลกครั้งนี้ ซึ่งการประกอบศาสนกิจทั้งในสถานที่และนอกสถานที่ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสมบูรณ์ในการปฏิบัติบูชา สมตามเจตนาของการจัดงาน.. เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

สำหรับวัดป่าญาณสัมปันโนอารยารามนั้น .. เป็นสัปปายะสถานที่เหมาะควรแก่การศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง โดยมีภูมิศาสตร์ที่เกื้อกูลต่อความเป็นสถานปฏิบัติธรรม ที่ต้องการอากาศที่ดี.. สงบสงัด ห่างไกลจากชุมชน.. สะดวกสบายต่อการเดินทางเข้าพักอาศัย สมบูรณ์พร้อมด้วยน้ำไฟ ที่พัก และคณะสงฆ์ ที่ตั้งใจมาประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยความเรียบง่าย.. ตามรูปแบบพระป่าที่นิยมความเป็นสมถะ... จึงเป็นที่น่ายินดียิ่ง เมื่อมีคณะผู้ประพฤติธรรมได้เข้าไปพักอาศัย เจริญภาวนาปฏิบัติธรรม เป็นเวลา ๓ วัน ๒ คืน โดยเฉพาะในยามนี้ ที่สภาพอากาศยามเช้าริมทะเลสาบโยนกเย็นสบาย.. ส่งกลิ่นอายความชื้นลอยเข้ามาตามสายลม.. สู่วัดป่าญาณสัมปันโนอารยาราม.. ทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่น แม้ในยามที่บ้านเมืองภาคเหนือเต็มไปด้วยปัญหาฝุ่นหมอกควัน ...

บนพื้นที่ร่วม ๖๐ ไร่ ของวัดป่าญาณสัมปันโนอารยาราม จึงเป็นธรรมสถานอันเหมาะควรยิ่งต่อการศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้น.. สมดังเจตนาที่คุณหญิงนงเยาว์-อ.อรุณ ชัยเสรี ตั้งใจน้อมถวายพร้อมเสนาสนะที่สมบูรณ์ เกื้อกูลต่อความสะดวกสบายของคณะสงฆ์.. ที่ตั้งใจมุ่งมั่นมาฝึกอบรมกาย-จิต เพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม จึงนับเป็นมงคลสถานที่ควรบันทึกไว้.. เพื่อจารึกถึงคุณความดีของผู้สร้างวัดป่าญาณสัมปันโนอารยาราม ที่สมบูรณ์พร้อมถวายไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อการทำงานสืบอายุพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์.. ที่เตรียมจัดทำแผนพัฒนาวัดป่าฯ ดังกล่าว.. ให้ยกระดับขึ้นเป็น.. วัดป่านานาชาติ ในโอกาสต่อไป.. โดยจะเชื่อมสัมพันธ์กับวัดของชาวพุทธในอินเดียที่สร้างขึ้น ณ นครปูเน่ รัฐมหาราษฏระ/อินเดีย ที่ ชื่อ  Dhamma Vinaya Monastery of Pune/India ซึ่งในโอกาสต่อไปคงจะได้เห็นภาพพระสงฆ์นานาชาติ .. บนแผ่นดินดังกล่าว ที่เคยเป็นเมืองอารยธรรมโบราณทางพุทธศาสนา สืบเนื่องอารยธรรมโยนก .. เชียงแสน .. ล้านนา ส่งมาจนถึงความเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน.

 

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)

ลัทธิผีบุญ .. ภัยร้ายต่อพระศาสนา!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบันที่ยังเจริญเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ คือ การยึดถือคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรมดั้งเดิม...