โต้คลื่นเทคโนโลยี

การเปลี่ยนแปลงของชีวิต-การงานวันนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีเทคโนโลยีเป็นระบบนิเวศและพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งมันได้เชื่อมถึงชีวิตและการงานทั้งในโลกการพัฒนาคุณภาพชีวิต การดูแลสิ่งแวดล้อม และการแข่งขันธุรกิจการค้า ฯลฯ ทุกความเคลื่อนไหวล้วนมีเทคโนโลยีเข้ากำกับขับเคลื่อน-สร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีพลังในเกือบทุกมิติ!

การสนับสนุน-การบริหารจัดการ-การกำกับขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจ และการดูแลตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นนั้น จึงไม่อาจใช้แต่ความสามารถโดดๆ ดิบๆ ของผู้คนแต่อย่างเดียว เฉกเช่นวิถีสังคมพึ่งพาแรงงาน-แรงสมองมนุษย์อย่างเข้มข้น (Laboure intensive) แบบยุคที่ผ่านมาได้อีกต่อไป!

ในกระแสการเปลี่ยนผ่านของภาครัฐและเอกชนที่ปฏิสัมพันธ์กับสังคม เศรษฐกิจยุคใหม่วันนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการเติบโตก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีประเด็นที่น่าพิจารณาว่า ในขณะที่บ้านเมืองและผู้คนกำลังโต้คลื่นเทคโนโลยีอยู่ทุกวันนี้นั้น ผู้คน-สังคมกำลังถูกกลืนกลายเป็นผู้บริโภค-ผู้ใช้-ผู้เสพสมาทานเทคโนโลยีแต่ฝ่ายเดียว-ไม่ก็เป็นแรงงานในโรงงานผลิตสินค้าและบริการ-ที่ยกระดับจากผู้ใช้แรงงานมาเป็นคนทำงานบนแพลตฟอร์มของเทคโนโลยีเท่านั้นหรือ? เราควรต้องพิจารณาจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของผู้คนและบ้านเมืองที่กำลังโต้คลื่นเทคโนโลยีในทิศทางใหม่หรือไม่?!?

กรณีนี้ หากศึกษาประสบการณ์การปรับตัวเปลี่ยนแปลงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ผ่านการบริการสาธารณะ การก่อรูปของเมืองยุคใหม่ การปรับตัวของท้องถิ่นเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ในมิติของอุตสาหกรรม 4.0 ที่เคลื่อนไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะพบว่าการปรับตัวเข้าสู่โลกของอุตสาหกรรม 4.0 นั้นสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เปี่ยมด้วยศักยภาพและพลังทั้งในการผลิต-การบริการ ระบบปฏิบัติการ รวมถึงการปรับสร้างระบบนิเวศแวดล้อมใหม่ในกระบวนการทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนไปบนฐานของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ซึ่งชี้บอกถึงศักยภาพใหม่-ประสิทธิภาพใหม่-คุณภาพใหม่ ที่พึ่งพาการขับเคลื่อนของเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง ตั้งแต่การออกแบบพื้นฐาน-การจัดวาง-การนำใช้เทคโนโลยีในมิติต่างๆ ด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่-การประมวลผลจากปัญญาประดิษฐ์-และการนำสู่การผลิต-บริการที่มีความจำเพาะได้อย่างดี ฯลฯ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ถูกเรียกว่า “ระบบอัจฉริยะ” ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ระบบการจัดการอัจฉริยะ และระบบการผลิตอัจฉริยะ ฯลฯ เป็นต้น

ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ระบบการบริหารท้องถิ่น-ระบบการบริหารจัดการของรัฐ รวมถึงภาคเอกชนที่ปฏิสัมพันธ์กับความก้าวหน้าใหม่ จำเป็นต้องปรับตัวพัฒนาบุคลากร-ยกระดับศักยภาพคนให้สามารถทำงานผสานกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี-สามารถสร้าง-คิดค้นนวัตกรรมจากเทคโนโลยี เพื่อก้าวออกจากระบบงานแบบเดิมๆ ที่ใช้ความสามารถของคนเล็ก-คนน้อยที่อยู่ตามที่ว่าการอำเภอ เทศบาล ท่าเรือ สนามบิน หรือหน่วยบริการของรัฐ ฯลฯ ที่เคยชินกันมา!

ตัวอย่างที่อาจทำให้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลง-การปรับฐานการบริหารให้ชัดเจนขึ้นบ้าง คือตัวอย่างจากการทำงานของเทศบาลบ้านฉาง จากที่มีการติดตั้งระบบการสื่อสาร 5g เต็มพื้นที่ มีกล้อง-เสาอัจฉริยะ มีการออกแบบจัดเก็บข้อมูล-ประมวลผลเพื่อใช้ในการบริหารท้องถิ่น การดำเนินการที่ปรับเปลี่ยนใหม่นี้ได้ช่วยรักษาความสงบความปลอดภัยในชุมชน ช่วยให้ตำรวจสามารถปิดเคสที่เกิดเหตุต่างๆ ในพื้นที่-จากที่เคยใช้เวลาหลายอาทิตย์-เป็นเดือน มาเหลือเพียง 2-3 ชั่วโมงในทุกกรณี หรือการนำใช้ระบบ AI ปัญญาประดิษฐ์ประมวลผลการจัดระบบจราจรช่วงวันหยุดที่มีการเดินทางหนาแน่น ก็มีการจัดการที่ประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ตำรวจไปยืนเป่านกหวีดฝ่าเปลวแดดอยู่ตามสี่แยก ที่มองเห็นแค่สุดลูกหูลูกตาตำรวจเท่านั้น! รวมถึงการประมวลผลเตือนภัยพิบัติ-อุบัติภัยต่างๆ ทำให้การบริหารจัดการเทศบาลยกระดับจากระบบเดิมสู่แพลตฟอร์มดิจิตอล ใช้ข้อมูลประมวลผลเพื่อการบริหารจัดการและบริการท้องถิ่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความปลอดภัยทางสังคม มีการดูแลสุขภาพที่ดีในทุกกลุ่มคนในพื้นที่ เป็นต้น

กรณีตัวอย่างนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ระบบการคิด-การจัดการ-การพัฒนาต้นน้ำของเทคโนโลยีนั้น เรามีผู้คนที่มีศักยภาพอยู่พอสมควร-แต่กระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่ม ด้วยเงื่อนไขนี้ EEC HDC ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงประสานสร้างเครือข่ายที่ดึงเอานักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและวิศวกรรมหลากสาขาที่มีผลงาน เชื่อมขึ้นเป็นเครือข่ายเชื่อมจับกับภาคเอกชน-เขตนวัตกรรมบ้านฉาง-ซิลิคอน เทคปาร์ค และอุทยานวิทยาศาสตร์ตะวันออก รวมทั้งบริษัท-องค์กรที่เป็นต้นน้ำด้านเทคโนโลยีมิติต่างๆ เข้าร่วมพัฒนา-ผลิตบุคลากรและพัฒนาต้นน้ำด้านเทคโนโลยี ตลอดจนถึงพัฒนาส่งเสริมระบบนิเวศและระบบปฏิบัติการยุคใหม่ บนเป้าหมาย 3 ประการสำคัญ คือ

1) มุ่งยกระดับปรับฐานท้องถิ่นสู่การบริหารจัดการด้วยระบบข้อมูลบนดิจิตอลแพลตฟอร์ม เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) มุ่งยกระดับการพัฒนาบุคลากรและปรับฐานการพัฒนาประเทศจากการเป็นผู้บริโภคสู่การเป็นผู้ผลิต-ผู้นำนวัตกรรม และ 3) ขับเคลื่อนสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ที่ยกระดับระบบสนับสนุนและระบบปฏิบัติการบนดิจิตอลแพลตฟอร์ม ที่มีมูลค่าสูงกว่าเศรษฐกิจระดับเดิมๆ ซึ่งวนอยู่ในกลุ่มการผลิตและการบริการยุคเก่า

ทั้งหมดนี้เป็นภารกิจที่สำคัญที่ต้องพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือชุดใหม่ เพื่อประกอบส่วน-เชื่อมประสานสร้างความก้าวหน้าทุกรูปแบบ เพื่อปรับฐาน-ยกระดับความรู้-ทักษะ-ความเข้าใจ-ตลอดจนระบบการปฏิบัติการ ที่มุ่งตอบโจทย์โลกใบใหม่ด้วยกระบวนการความเคลื่อนไหวใหม่ที่ศักยภาพสูงพอจะโต้คลื่นเทคโนโลยีของโลกวันนี้!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่อเลื่อนประชามติ รอแก้กฎหมาย ร่างรธน.ฉบับใหม่ ต้องไม่จุดไฟความขัดแย้ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานของ”คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ

บทธรรมดับโลกร้อน .. ที่นักปกครองต้องอ่าน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. โลกกำลังเข้าสู่ห้วงธรรมวิกฤต.. ที่มนุษยชาติประพฤติตนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภที่รุนแรงและราคะความกำหนัดที่ผิดธรรม .. เป็นส่วนใหญ่

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..