มาตรการพักชำระหนี้สิน VS อนาคตเกษตรกรไทย

รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการพักชำระหนี้เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปี เมื่อ กันยายน 2566

เป้าหมายสำคัญน่าจะเป็นเกษตรกรรายย่อยจำนวน 2690000 คน ภาระหนี้สินไม่เกิน 300000 บาทต่อคน มูลหนี้รวม 283328 ล้านบาท โดยความช่วยเหลือจะต้องได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรเช่นต้องมาลงทะเบียน ทบทวนประเมินผลสิ้นปี เพิ่มความรู้เพื่อเพิ่มรายได้พร้อมเงินเพิ่มเติมรายละไม่เกิน 100000 บาท

วงเงินที่รัฐบาลสนับสนุนเพื่อชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ในวงเงิน 11000 ล้านบาทต่อปี วงเงินอบรมให้ความรู้ 1000 ล้านบาท  การพักชำระหนี้เกษตรกรในช่วงเวลา 9 ปี ที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือพักหนี้ไปแล้ว 13 ครั้ง สังคมคงคาดหวังจากการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในครั้งนี้สูง

 ประเด็นวันนี้เป็นมุมมองเกษตรกร จากชุดข้อมูลต่าง ๆ และประสบการณ์ตรงที่มี เพื่อทราบมูลเหตุแห่งการเป็นหนี้ กลไกที่มีส่วนร่วมการแก้ไชหนี้ การสนับสนุนจากภาครัฐ หลังการใช้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไชหนี้ครั้งนี้แล้ว อนาคตของเกษตรกรไทยควรเป็นอย่างไรจะอยู่เคียงคู่สังคมชนบทได้อย่างยั่งยืนหรือไม่

เกษตรกรยืนเคียงข้างสังคมไทยตั้งแต่อดีต เป็นสังคมเรียบง่ายมีความสุข สามารถอาศัยพึงพากันและกัน มีพลังความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ ทั้งที่เป็นงานบุญตามวัดวาอารามและงานการเกษตรลงแขกเกี่ยวข้าว มีชีวิตอยู่กับธรรมชาติที่สังคมเมืองโหยหา

ความท้าทายต่อเกษตรกรในสังคมชนบท เมื่อโลกเปลี่ยนไปจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบันกครอบครัวเกษตรกรได้รับแรงกระตุ้นทางการตลาดสร้างความต้องการในสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ รถมอเตอร์ไซด์ รถกระบะ เกษตรกรจำเป็นต้องสร้างรายได้เพื่อตอบสนอง

ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มียุทธศาสตร์เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร มุ่งทำให้ไทยเป็นครัวของโลก ภาคเอกชนหลายกิจการสามารถผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปส่งออกจำหน่ายไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับคุณภาพ

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับเกษตรกรกับสังคมชนบท ฤาจะถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังยังคงเป็นหนี้เรื้อรังไม่สามารถปิดจบได้

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร มีการศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะหน่วยงานจากราชการ องค์กรสถาบันการศึกษา  ข้อมูลมีกระจัดกระจายจำนวนมาก  และปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี  จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มการบูรณาการความร่วมมือกับ 14 หน่วยงานภาครัฐ ในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566

เราขอเล่าภาพที่ได้ประมวลข้อมูล จำนวนเกษตรกรไทยรวม 9.4 ล้านคนจาก 8.1 ล้านครัวเรือน ณ.เมษายน 2563 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พื้นที่ทำการเกษตรรวม 112.8 ล้านไร่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 47 การถือครองที่ดินกว่าร้อยละ 74 เกษตรกรถือที่ดินระหว่าง 6-39 ไร่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง จำนวน 1.3 ล้านครัวเรือนในช่วงเวลา 5 ปี ( 2557-2561 )

จากจำนวนเกษตรกร 9- 10 ล้านคน มีผู้เป็นหนี้ที่ต้องเข้ามาตรการแก้ไขหนี้ของรัฐรอบนี้ 2.69 ล้านคนซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ( ธกส. ) ในวงเงินไม่เกิน 300000 บาทต่อราย 

ข้อมูลรายได้ต้นทุนของเกษตรกรจึงมีความสำคัญ  เมื่อเดือน มิถุนายน 2565 โดยนายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย  ชาวนาขายข้าวราคา 8500 บาท ต้นทุน 7144 บาทต่อตัน ผลผลิตข้าว 900 กิโลกรัมต่อไร่ ชาวนาจะมีมีกำไร 1356 บาทต่อไร่ หากมีที่นา 30 ไร่และทำนาได้ 2 ครั้งในปี  รายได้จะเป็น 82136 บาทต่อปี ( ต้นทุนรวมค่าเช่านาปีละ 1000 บาทต่อไร่ ) การรับเงินจะได้เมื่อมีการขาวข้าวซึ่งปีหนึ่งจะรับเงิน 2 ครั้งไม่มีเงินได้เข้าทุกเดือน เงินที่ได้เพื่อใช้จ่ายยังชีพในครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ ไม่ถึง 7000 บาทต่อเดือน

รายงานวิจัยองค์กรเกษตรบ้านคลองใหญ่ อ.หันคา จ.ชัยนาท  ชาวนามีรายได้รวมจากขายข้าว การรับจ้างค่าแรง เงินรับจากลูกหลาน รวมถึงเงินช่วยเหลือสงเคราะห์จากรัฐ รวม 210139 บาท  มีต้นทุนในการปลูก 110396 บาท ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 123309 บาท รวมค่าใช้จ่าย 233706 บาท ชาวนาจะมีเงินสดติดลบในแต่ละปี 23567 บาท

จากสองตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่ารายได้ของเกษตรกร 82000-210000บาทต่อปี หลังหักต้นทุนการปลูกครัวเรือนจะเหลือเงินเฉลี่ยเดือนละ7000-10000 บาทซึ่งเงินรับจะไม่ได้เข้ามาทุกเดือน เงินจะเข้ามาเป็นก้อนจากการขายข้าวปีหนึ่งประมาณ 1-3 ครั้ง ชาวนาจะไม่สามารถบริหารเงินสดได้เพียงพอต่อการยังชีพโดยเฉพาะเมื่อครอบครับมีลูกที่ต้องให้การศึกษา เลี้ยงดูให้เติบโตเป็นพลเมืองดีของประเทศ การเป็นอยู่น่าจะอึดอัดเลยทีเดียว

จึงเกิดมีคนกลางเข้ามาช่วยสภาพคล่องด้วยการขายเชื่อปัจจัยการผลิต เช่นปุ๋ยยาเมล็ดพันธ์ เงินสดเพื่อเตรียมดินบำรุงข้าวระหว่างการปลูกหลังเก็บเกี่ยวก็นำเงินมาคืน  ปีไหนข้าวราคาตกเงินไม่พอชาวนาก็เป็นหนี้คนกลาง นานเข้าก็ต้องเอาที่นาจำนองขายฝาก  จึงมีค่าเช่านา ค่าจ้างแรงงานเกิดตามมา เช่นเดียวกับเรื่องเช็คเกี้ยวอ้อย

จากโรงงานน้ำตาลให้ชาวไร่อ้อย ต่างที่ระบบทำงานผ่านกลธนาคารและโรงงานน้ำตาล

นี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อหนี้ของเกษตรกร โดย ธกส. ก็จะเข้ามาทำให้หนี้เกษตรกรอยู่ในระบบสถาบันการเงิน  เกษตรกรจึงเริ่มเข้าสู่โหมดการเป็นหนี้

สินเชื่อเพื่อการเกษตร มีความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ ตัวอย่างเช่นสภาพดินฟ้าอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้งภัยธรรมชาติความเสี่ยงจากระดับราคาสินค้าการเกษตร ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดหนี้เสีย

ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญต่อเกษตรกร มีการใช้งบประมาณสนับสนุน ช่วยเหลือทุกปี ตัวอย่างการใช้เงินอุดหนุน การประกันราคา การจำนำ พืชผลทางการเกษตร เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

รัฐบาลชุดก่อนได้ใช้วงเงินประกันราคาในช่วง 3 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยประมาณปีละ 150000 ล้านบาท หรือรัฐบาลก่อนหน้านั้นใช้โครงการจำนำข้าว  ทุกวันนี้เกษตรกรก็ยังคงเป็นหนี้ให้แก้ไข  ประหนึ่งดูเสมือนว่าการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตรซึ่งทำเป็นการเฉพาะรายปี อาจทำให้เกษตรกรมีเม็ดเงินเพิ่ม แต่ก็ยังไม่ทำให้เกษตรกรปลดหนี้สินไปได้

การแก้ไขหนี้สินและฟื้นฟูเกษตรกรอย่างน้อย 3 องค์กรที่เป็นผู้ขับเคลื่อน

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ( ธกส. ) เป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐในการเข้าสนับสนุนเกษตรกรโดยผ่านการอำนวยสินเชื่อ  และร่วมมือรัฐบาลในการเป็นกลไกในการดำเนินการตามนโยบายที่สนับสนุนการเกษตรเช่นโครงการประกันราคา โครงการอุดหนุนการเกษตร ต่าง ๆ

  ธกส. มีความแข็งแรงทางการเงินระดับดีมาก ผลประกอบการล่าสุดในปี2565 มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 68394 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิ 8232 ล้านบาท เนื่องจากเป็นเครื่องมือรัฐบาลในการขับเคลื่อนภาคเกษตร จึงมีรายการทางบัญชี ลูกหนี้รอการชดเชยจากรัฐบาลตามธุรกรรมนโยบายรัฐ  646895 ล้านบาท รัฐบาลตั้งงบทยอยชำระคืนเป็นรายปี ธกส.ได้รับการประเมินความน่าเชื่อถือระยะยาว AAA โดยบริษัทฟิทซ์เรทติ้งค์

ด้วยประสบการณ์ของทีมงานเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธกส. ได้รับความเชื่อถือจากเกษตรกรทุกภูมิภาค การแนะนำเรื่องความรู้ในการบริหารเงินสดแก่เกษตรกรโดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรการใช้จ่ายเงินส่วนหนึ่งมาชำระหนี้ตามโปรแกรมแก้หนี้ครั้งนี้ เป็นการให้เกษตรกรมีความรับชอบต่อหนี้  ( character หนึ่ง c สำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ )

 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ถูกจัดตั้งโดย พรบ. กองทุนฟื้นฟู พศ.2542  ภารกิจหลักเพื่อแก้ไชปัญหาหนี้สินเกษตรกรรวมถึงการสร้างรายได้เพิ่ม การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้เกษตรกร

กองทุนสามารถเข้าแก้ไขหนี้เกษตรกร ได้กว่า 32646 ราย หนี้รวมกว่า 9157 ล้านบาท   เมื่อเกษตรกรกลับมามีกำลังชำระคืนเงินให้กองทุนจำนวน 2227 ล้านบาท ปัจจุบันกองทุนมีสินทรัพย์รวม 9025 ล้านบาท จากงบมีรายได้สูงกว่า ค่าจ่าย 5900 ล้านบาท

หนึ่งในแนวทางแก้ไขหนี้ให้เกษตรกร  เริ่มจากการตั้งพักเงินต้นดอกเบี้ยค้างชำระ  ให้เวลาในการชำระคืนดอกเบี้ยและเงินต้นเป็นเวลา 15 ปี  เมื่อชำระครบให้ยกเงินต้นและดอกเบี้ยที่ตั้งพักไว้  แผนงานแก้หนี้ต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล จึงเป็นที่น่าติดตามผลงานของกองทุนฟื้นฟูต่อไป

เราคำนึงถึงการใช้งบประมาณเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของเกษตรกรไทย หลังชำระเงินให้กองทุนแล้ว

จะไม่ก่อหนี้สินเรื้อรัง อีกในอนาคต

เป็นที่น่าสังเกตว่าจากขอมูล บริษัทเครดิตบูโร มีการประเมินว่าสัดส่วนเกษตรกรที่เป็นหนี้ในระบบที่อายุเกิน 50 ปีมีอยู่ถึงร้อยละ 72  ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากและคาดการณ์ต่อว่าการชำระหนี้จะเสร็จสิ้นเมื่อเกษตรกรมีอายุเกิน 80 ปี จำนวนถึง ร้อยละ 56 ( เครดิตหนี้ข้ามรุ่น 10 พค. 2566 )  ช่วงเวลานี้น่าจะเหมาะสำหรับการเปลี่ยนผ่านอาชีพเกษตรกรสู่คนรุ่นใหม่ที่มีพลังในการขับเคลื่อน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นแม่ทัพหลักของภาครัฐในการพัฒนาเกษตรกรไทยให้เข็มแข็งมีอนาคต

ปี 2567 ได้รับงบประมาณ  123000 ล้านบาท  

 ที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำเกษตร การที่มีข่าวจะปรับเปลี่ยน สปก . เป็นโฉนดเพื่อเป็นของขวัญให้เกษตรกรในวาระปีใหม่  หากข้อมูลการถือครองที่ดินของเกษตรกรยังไม่ชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ แทนที่จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรกลับจะนำสู่ประเด็นทางการเมืองเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต

อนึ่งสองวันก่อนไทยได้ส่งดาวเทียมสำรวจ THEOS-2  ขึ้นไปโคจรในอวกาศเป็นที่เรียบร้อย 

เพื่อประโยชน์การดูแลทรัพยากรของประเทศ ใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ น่าจะรอข้อมูลจากการสำรวจมาประกอบการใช้ช่วยเหลือเกษตรกร

การนำเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเกษตรไม่ว่าจะใช้โดรนเพื่อการเกษตร  การนำระบบสมาร์ทดิจิทัลเข้ามาใช้เป็นสมาร์ทฟาร์มมิ่ง การใช้ดาวเทียมสำรวจประมวลผล   จะเหมาะสมกับเกษตรกรรุ่นใหม่ สามารถเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี่มากกว่า 

มีตัวอย่างให้เห็นในการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยที่ประสบความสำเร็จเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน

เช่น กรณี นาง อารี ทองทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปลูกข้าวสายพันธ์ ไรซ์เบอร์รี่ หอมนิล                              การลดต้นทุนโดยการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก  สามารถผลิตข้าวปลอดสารเคมี มีการแปรรูปข้าวเปลือกผ่านโรงสีชุมชน และนำมาบรรจุขายถุงขนาดเล็กเพิ่มมูลค่าเป็น  33000 บาทต่อตัน  รายได้ปีละ 400000 บาท   ซึ่งจะสอดคล้องเรื่อง capacity  ( c ที่สองของการพิจารณาสินเชื่อ )ความสามารถในการหารายได้เพิ่มความสามารถในการชำระหนี้

สรุปการช่วยเหลือเกษตรกรจากมาตรการพักชำระหนี้ครั้งนี้เป็นโอกาสดีหากมีการกำหนดทิศทางอนาคตเกษตรกรไทย การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบโจทย์อนาคตเกษตรกรไทย

ประการแรกต้องหลุดพ้นสถานะหนี้เรื้อรังปิดจบได้ในเกษตรกรรุ่นนี้ การเปลี่ยนผ่านรุ่นเกษตรกรซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่เริ่มเช้าสู่วัยสูงอายุ ให้คนรุ่นใหม่พร้อมใช้เทคโนโลยี่ยุคดิจิทัลเข้ามารับไม้แทน รวมถึงการดูแลสังคมชนบทให้อยู่คู่กับเกษตรกรไทยซึ่งมีทั้งผู้อาวุโส  และคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ขับเคลื่อนการเกษตรของไทยเพื่อครัวโลก

ท้ายที่สุดขอเป็นกำลังใจให้แรงงานไทย 7500 คนที่ไปทำการเกษตรประเทศอิสราเอลและกำลังเดินทางกลับสู่มาตุภูมิจากการหนีสภาวะสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสกับประเทศอิสราเอล  จะเข้ามาเป็นเกษตร new gen เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรของไทยต่อไป

วงศกร พิธุพันธ์

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

มาตรการพักชำระหนี้สิน VS อนาคตเกษตรกรไทย

รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการพักชำระหนี้เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปี เมื่อ กันยายน 2566

เป้าหมายสำคัญน่าจะเป็นเกษตรกรรายย่อยจำนวน 2690000 คน ภาระหนี้สินไม่เกิน 300000 บาทต่อคน มูลหนี้รวม 283328 ล้านบาท โดยความช่วยเหลือจะต้องได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรเช่นต้องมาลงทะเบียน ทบทวนประเมินผลสิ้นปี เพิ่มความรู้เพื่อเพิ่มรายได้พร้อมเงินเพิ่มเติมรายละไม่เกิน 100000 บาท

วงเงินที่รัฐบาลสนับสนุนเพื่อชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 ในวงเงิน 11000 ล้านบาทต่อปี วงเงินอบรมให้ความรู้ 1000 ล้านบาท  การพักชำระหนี้เกษตรกรในช่วงเวลา 9 ปี ที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือพักหนี้ไปแล้ว 13 ครั้ง สังคมคงคาดหวังจากการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในครั้งนี้สูง

 ประเด็นวันนี้เป็นมุมมองเกษตรกร จากชุดข้อมูลต่าง ๆ และประสบการณ์ตรงที่มี เพื่อทราบมูลเหตุแห่งการเป็นหนี้ กลไกที่มีส่วนร่วมการแก้ไชหนี้ การสนับสนุนจากภาครัฐ หลังการใช้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไชหนี้ครั้งนี้แล้ว อนาคตของเกษตรกรไทยควรเป็นอย่างไรจะอยู่เคียงคู่สังคมชนบทได้อย่างยั่งยืนหรือไม่

เกษตรกรยืนเคียงข้างสังคมไทยตั้งแต่อดีต เป็นสังคมเรียบง่ายมีความสุข สามารถอาศัยพึงพากันและกัน มีพลังความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ ทั้งที่เป็นงานบุญตามวัดวาอารามและงานการเกษตรลงแขกเกี่ยวข้าว มีชีวิตอยู่กับธรรมชาติที่สังคมเมืองโหยหา

ความท้าทายต่อเกษตรกรในสังคมชนบท เมื่อโลกเปลี่ยนไปจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบันกครอบครัวเกษตรกรได้รับแรงกระตุ้นทางการตลาดสร้างความต้องการในสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ รถมอเตอร์ไซด์ รถกระบะ เกษตรกรจำเป็นต้องสร้างรายได้เพื่อตอบสนอง

ในขณะเดียวก้นประเทศไทยก็มียุทธศาสตร์เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร มุ่งทำให้ไทยเป็นครัวของโลก ภาคเอกชนหลายกิจการสามารถผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปส่งออกจำหน่ายไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับคุณภาพ

แล้วเกิดอะไรขึ้นกับเกษตรกรกับสังคมชนบท ฤาจะถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังยังคงเป็นหนี้เรื้อรังไม่สามารถปิดจบได้

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร มีการศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะหน่วยงานจากราชการ องค์กรสถาบันการศึกษา  ข้อมูลมีกระจัดกระจายจำนวนมาก  และปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี  จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มการบูรณาการความร่วมมือกับ 14 หน่วยงานภาครัฐ ในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566

เราขอเล่าภาพที่ได้ประมวลข้อมูล จำนวนเกษตรกรไทยรวม 9.4 ล้านคนจาก 8.1 ล้านครัวเรือน ณ.เมษายน 2563 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พื้นที่ทำการเกษตรรวม 112.8 ล้านไร่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 47 การถือครองที่ดินกว่าร้อยละ 74 เกษตรกรถือที่ดินระหว่าง 6-39 ไร่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง จำนวน 1.3 ล้านครัวเรือนในช่วงเวลา 5 ปี ( 2557-2561 )

จากจำนวนเกษตรกร 9- 10 ล้านคน มีผู้เป็นหนี้ที่ต้องเข้ามาตรการแก้ไขหนี้ของรัฐรอบนี้ 2.69 ล้านคน

ซึ่งเป็นลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ( ธกส. ) ในวงเงินไม่เกิน 300000 บาทต่อราย 

ข้อมูลรายได้ต้นทุนของเกษตรกรจึงมีความสำคัญ  เมื่อเดือน มิถุนายน 2565 โดยนายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย  ชาวนาขายข้าวราคา 8500 บาท ต้นทุน 7144 บาทต่อตัน ผลผลิตข้าว 900 กิโลกรัมต่อไร่ ชาวนาจะมีมีกำไร 1356 บาทต่อไร่ หากมีที่นา 30 ไร่และทำนาได้ 2 ครั้งในปี  รายได้จะเป็น 82136 บาทต่อปี ( ต้นทุนรวมค่าเช่านาปีละ 1000 บาทต่อไร่ ) การรับเงินจะได้เมื่อมีการขาวข้าวซึ่งปีหนึ่งจะรับเงิน 2 ครั้งไม่มีเงินได้เข้าทุกเดือน เงินที่ได้เพื่อใช้จ่ายยังชีพในครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ ไม่ถึง 7000 บาทต่อเดือน

รายงานวิจัยองค์กรเกษตรบ้านคลองใหญ่ อ.หันคา จ.ชัยนาท  ชาวนามีรายได้รวมจากขายข้าว การรับจ้างค่าแรง เงินรับจากลูกหลาน รวมถึงเงินช่วยเหลือสงเคราะห์จากรัฐ รวม 210139 บาท  มีต้นทุนในการปลูก 110396 บาท ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 123309 บาท รวมค่าใช้จ่าย 233706 บาท ชาวนาจะมีเงินสดติดลบในแต่ละปี 23567 บาท

จากสองตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่ารายได้ของเกษตรกร 82000-210000บาทต่อปี หลังหักต้นทุนการปลูกครัวเรือนจะเหลือเงินเฉลี่ยเดือนละ7000-10000 บาทซึ่งเงินรับจะไม่ได้เข้ามาทุกเดือน เงินจะเข้ามาเป็นก้อนจากการขายข้าวปีหนึ่งประมาณ 1-3 ครั้ง ชาวนาจะไม่สามารถบริหารเงินสดได้เพียงพอต่อการยังชีพโดยเฉพาะเมื่อครอบครับมีลูกที่ต้องให้การศึกษา เลี้ยงดูให้เติบโตเป็นพลเมืองดีของประเทศ การเป็นอยู่น่าจะอึดอัดเลยทีเดียว

จึงเกิดมีคนกลางเข้ามาช่วยสภาพคล่องด้วยการขายเชื่อปัจจัยการผลิต เช่นปุ๋ยยาเมล็ดพันธ์ เงินสดเพื่อเตรียมดินบำรุงข้าวระหว่างการปลูกหลังเก็บเกี่ยวก็นำเงินมาคืน  ปีไหนข้าวราคาตกเงินไม่พอชาวนาก็เป็นหนี้คนกลาง นานเข้าก็ต้องเอาที่นาจำนองขายฝาก  จึงมีค่าเช่านา ค่าจ้างแรงงานเกิดตามมา เช่นเดียวกับเรื่องเช็คเกี้ยวอ้อย

จากโรงงานน้ำตาลให้ชาวไร่อ้อย ต่างที่ระบบทำงานผ่านกลธนาคารและโรงงานน้ำตาล

นี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อหนี้ของเกษตรกร โดย ธกส. ก็จะเข้ามาทำให้หนี้เกษตรกรอยู่ในระบบสถาบันการเงิน  เกษตรกรจึงเริ่มเข้าสู่โหมดการเป็นหนี้

สินเชื่อเพื่อการเกษตร มีความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ ตัวอย่างเช่นสภาพดินฟ้าอากาศ น้ำท่วม น้ำแล้งภัยธรรมชาติความเสี่ยงจากระดับราคาสินค้าการเกษตร ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดหนี้เสีย

ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญต่อเกษตรกร มีการใช้งบประมาณสนับสนุน ช่วยเหลือทุกปี ตัวอย่างการใช้เงินอุดหนุน การประกันราคา การจำนำ พืชผลทางการเกษตร เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

รัฐบาลชุดก่อนได้ใช้วงเงินประกันราคาในช่วง 3 ปีย้อนหลัง เฉลี่ยประมาณปีละ 150000 ล้านบาท หรือรัฐบาลก่อนหน้านั้นใช้โครงการจำนำข้าว  ทุกวันนี้เกษตรกรก็ยังคงเป็นหนี้ให้แก้ไข  ประหนึ่งดูเสมือนว่าการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตรซึ่งทำเป็นการเฉพาะรายปี อาจทำให้เกษตรกรมีเม็ดเงินเพิ่ม แต่ก็ยังไม่ทำให้เกษตรกรปลดหนี้สินไปได้

การแก้ไขหนี้สินและฟื้นฟูเกษตรกรอย่างน้อย 3 องค์กรที่เป็นผู้ขับเคลื่อน

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ( ธกส. ) เป็นธนาคารเฉพาะกิจของรัฐในการเข้าสนับสนุนเกษตรกรโดยผ่านการอำนวยสินเชื่อ  และร่วมมือรัฐบาลในการเป็นกลไกในการดำเนินการตามนโยบายที่สนับสนุนการเกษตรเช่นโครงการประกันราคา โครงการอุดหนุนการเกษตร ต่าง ๆ

  ธกส. มีความแข็งแรงทางการเงินระดับดีมาก ผลประกอบการล่าสุดในปี2565 มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 68394 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิ 8232 ล้านบาท เนื่องจากเป็นเครื่องมือรัฐบาลในการขับเคลื่อนภาคเกษตร จึงมีรายการทางบัญชี ลูกหนี้รอการชดเชยจากรัฐบาลตามธุรกรรมนโยบายรัฐ  646895 ล้านบาท รัฐบาลตั้งงบทยอยชำระคืนเป็นรายปี ธกส.ได้รับการประเมินความน่าเชื่อถือระยะยาว AAA โดยบริษัทฟิทซ์เรทติ้งค์

ด้วยประสบการณ์ของทีมงานเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธกส. ได้รับความเชื่อถือจากเกษตรกรทุกภูมิภาค การแนะนำเรื่องความรู้ในการบริหารเงินสดแก่เกษตรกรโดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรการใช้จ่ายเงินส่วนหนึ่งมาชำระหนี้ตามโปรแกรมแก้หนี้ครั้งนี้ เป็นการให้เกษตรกรมีความรับชอบต่อหนี้  ( character หนึ่ง c สำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ )

 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ถูกจัดตั้งโดย พรบ. กองทุนฟื้นฟู พศ.2542  ภารกิจหลักเพื่อแก้ไชปัญหาหนี้สินเกษตรกรรวมถึงการสร้างรายได้เพิ่ม การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้เกษตรกร

กองทุนสามารถเข้าแก้ไขหนี้เกษตรกร ได้กว่า 32646 ราย หนี้รวมกว่า 9157 ล้านบาท   เมื่อเกษตรกรกลับมามีกำลังชำระคืนเงินให้กองทุนจำนวน 2227 ล้านบาท ปัจจุบันกองทุนมีสินทรัพย์รวม 9025 ล้านบาท จากงบมีรายได้สูงกว่า ค่าจ่าย 5900 ล้านบาท

หนึ่งในแนวทางแก้ไขหนี้ให้เกษตรกร  เริ่มจากการตั้งพักเงินต้นดอกเบี้ยค้างชำระ  ให้เวลาในการชำระคืนดอกเบี้ยและเงินต้นเป็นเวลา 15 ปี  เมื่อชำระครบให้ยกเงินต้นและดอกเบี้ยที่ตั้งพักไว้  แผนงานแก้หนี้ต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล จึงเป็นที่น่าติดตามผลงานของกองทุนฟื้นฟูต่อไป

เราคำนึงถึงการใช้งบประมาณเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของเกษตรกรไทย หลังชำระเงินให้กองทุนแล้ว

จะไม่ก่อหนี้สินเรื้อรัง อีกในอนาคต

เป็นที่น่าสังเกตว่าจากขอมูล บริษัทเครดิตบูโร มีการประเมินว่าสัดส่วนเกษตรกรที่เป็นหนี้ในระบบที่อายุเกิน 50 ปีมีอยู่ถึงร้อยละ 72  ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากและคาดการณ์ต่อว่าการชำระหนี้จะเสร็จสิ้นเมื่อเกษตรกรมีอายุเกิน 80 ปี จำนวนถึง ร้อยละ 56 ( เครดิตหนี้ข้ามรุ่น 10 พค. 2566 )  ช่วงเวลานี้น่าจะเหมาะสำหรับการเปลี่ยนผ่านอาชีพเกษตรกรสู่คนรุ่นใหม่ที่มีพลังในการขับเคลื่อน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นแม่ทัพหลักของภาครัฐในการพัฒนาเกษตรกรไทยให้เข็มแข็งมีอนาคต

ปี 2567 ได้รับงบประมาณ  123000 ล้านบาท  

 ที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำเกษตร การที่มีข่าวจะปรับเปลี่ยน สปก . เป็นโฉนดเพื่อเป็นของขวัญให้เกษตรกรในวาระปีใหม่  หากข้อมูลการถือครองที่ดินของเกษตรกรยังไม่ชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ แทนที่จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรกลับจะนำสู่ประเด็นทางการเมืองเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต

อนึ่งสองวันก่อนไทยได้ส่งดาวเทียมสำรวจ THEOS-2  ขึ้นไปโคจรในอวกาศเป็นที่เรียบร้อย 

เพื่อประโยชน์การดูแลทรัพยากรของประเทศ ใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ น่าจะรอข้อมูลจากการสำรวจมาประกอบการใช้ช่วยเหลือเกษตรกร

การนำเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับการพัฒนาการเกษตรไม่ว่าจะใช้โดรนเพื่อการเกษตร  การนำระบบสมาร์ทดิจิทัลเข้ามาใช้เป็นสมาร์ทฟาร์มมิ่ง การใช้ดาวเทียมสำรวจประมวลผล   จะเหมาะสมกับเกษตรกรรุ่นใหม่ สามารถเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี่มากกว่า 

มีตัวอย่างให้เห็นในการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยที่ประสบความสำเร็จเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน

เช่น กรณี นาง อารี ทองทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปลูกข้าวสายพันธ์ ไรซ์เบอร์รี่ หอมนิล                              การลดต้นทุนโดยการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก  สามารถผลิตข้าวปลอดสารเคมี มีการแปรรูปข้าวเปลือกผ่านโรงสีชุมชน และนำมาบรรจุขายถุงขนาดเล็กเพิ่มมูลค่าเป็น  33000 บาทต่อตัน  รายได้ปีละ 400000 บาท   ซึ่งจะสอดคล้องเรื่อง capacity  ( c ที่สองของการพิจารณาสินเชื่อ )ความสามารถในการหารายได้เพิ่มความสามารถในการชำระหนี้

สรุปการช่วยเหลือเกษตรกรจากมาตรการพักชำระหนี้ครั้งนี้เป็นโอกาสดีหากมีการกำหนดทิศทางอนาคตเกษตรกรไทย การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบโจทย์อนาคตเกษตรกรไทย

ประการแรกต้องหลุดพ้นสถานะหนี้เรื้อรังปิดจบได้ในเกษตรกรรุ่นนี้ การเปลี่ยนผ่านรุ่นเกษตรกรซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่เริ่มเช้าสู่วัยสูงอายุ ให้คนรุ่นใหม่พร้อมใช้เทคโนโลยี่ยุคดิจิทัลเข้ามารับไม้แทน รวมถึงการดูแลสังคมชนบทให้อยู่คู่กับเกษตรกรไทยซึ่งมีทั้งผู้อาวุโส  และคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ขับเคลื่อนการเกษตรของไทยเพื่อครัวโลก

ท้ายที่สุดขอเป็นกำลังใจให้แรงงานไทย 7500 คนที่ไปทำการเกษตรประเทศอิสราเอลและกำลังเดินทางกลับสู่มาตุภูมิจากการหนีสภาวะสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสกับประเทศอิสราเอล  จะเข้ามาเป็นเกษตร new gen เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรของไทยต่อไป

ส่งบทความคอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

วงศกร พิธุพันธ์

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดิจิทัลวอลเล็ตส่อขัดรธน.! อดีตรมว.คลังแนะกฤษฎีกาตีความ รัฐบาลล้วงงบฯจากปี67ด้วย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์

มือปราบโกงจำนำข้าว ปล่อยคลิปเตือน 'ผู้บริหาร ธ.ก.ส.' เสี่ยงคุกเซ่นดิจิทัลวอลเล็ต!

ผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

'ธ.ก.ส.' ขยับ! ประกาศชี้แจง แหล่งที่มางบประมาณ 'โครงการดิจิทัลวอลเล็ต'

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกคำประกาศชี้แจงว่า ธ.ก.ส. เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ มีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร ภายใต้กรอบ พ.ร.บ. ธ.ก.ส.