มงคลธรรม .. ในวาระขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา บัดนี้ เข้าสู่ศุภวาระขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ อย่างสมบูรณ์ ที่สามารถกล่าวได้ว่า.. เรามีอายุเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งปี และหมายถึง อายุขัยของความเป็นสัตว์โลกของเราสิ้นไปอีกหนึ่งปี

“อายุขัย” แปลตรงตัวว่า อัตรากำหนดอายุตั้งแต่เกิดจนถึงตาย.. ที่เรียกว่า สิ้นอายุขัย (end of life) ซึ่งอายุขัยของคนเรากำลังลดลงไปตามลำดับ จาก ๑๐๐ ปี เหลือ ๘๐ ปี.. และปัจจุบันคงอยู่ที่ประมาณ ๗๕ ปี อันเป็นไปตามหลักการนับอายุขัยของมนุษย์

เรื่อง อายุขัย ว่าโดยสภาวธรรม ได้แก่ ชีวิตรูป.. มีกำหนดความสิ้นสุดหรือความสิ้นไปแห่งอายุที่ว่าไปตามยุคสมัยของการกำหนดเขตแห่งการตั้งอยู่ของชีวิตรูปของสัตว์ในภาวะนั้นๆ ที่เรียกว่า อายุกัป ที่กำหนดเขตอายุขัยในแต่ละยุค.. ที่มีวงจรชีวิตที่ดำเนินไปตามการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย.. ดังในยุคปัจจุบันที่มีการคิดคำนวณกันว่า อายุขัยถอยจาก ๑๐๐ ปี ลงมาที่ ๗๕ ปีตามที่กล่าวมา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น เมื่อมีการตายในห้วงอายุ ๗๓-๗๕ ปี ก็นับว่าเป็นการตายเพราะสิ้นอายุ ที่หมายถึง การแก่ตาย.. หรือ ตายเพราะสิ้นอายุขัย..

สำหรับการตายอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ดำรงอยู่ในวงจรอายุขัย.. คือ การตายเพราะสิ้นกรรม.. ตามวิบากที่ให้ผล นำมาสู่การเกิด (ชนกกรรม) โดยมีกรรมที่เคยกระทำไว้ตามมาอุ้มชูอุปถัมภ์ (อุปถัมภกกรรม) เพื่อให้ชนกกรรมดำเนินไปอย่างสมบูรณ์ในหน้าที่.. ซึ่งหากกรรมทั้งสองประเภทนี้หมดกำลังลง.. การตายเพราะสิ้นสุดอำนาจแห่งกรรมทั้งสอง ก็ย่อมปรากฏ.. โดยมีตัวแปรที่เข้ามาสร้างผลให้กรรมทั้งสองนี้สิ้นกำลังไปได้เช่นเดียวกัน ได้แก่ กรรมบีบคั้นและกรรมตัดรอน.. ซึ่งเรียกว่า ตายเพราะกรรมตัดรอน หรืออุปัจเฉทกมรณะ!

การตายเพราะสิ้นกรรม.. กับการตายเพราะกรรมตัดรอนให้สิ้นอายุกรรมที่ทำให้เกิดมา (ชนกกรรม) นี้ แม้จะเป็นกรรมคนละตัวกัน.. แต่มีผลต่อกันด้วยอยู่ในความเป็นกรรมที่มีกิจเนื่องกัน แต่ตรงข้ามกัน อุปมาเหมือนกับการจุดเทียนให้เกิดแสงสว่าง มีเพียงดูแลป้องกันอย่างดี ในเทียน ไส้เทียนก็มีคุณภาพอย่างดี แต่กลับมีเหตุให้เกิดการดับลงอย่างฉับพลัน ไม่ว่าด้วยเหตุอันใด เช่น ลมพัดแรง มีคน สัตว์ หรือเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดการดับลงอย่างฉับพลัน.. ก็ย่อมเกิดการดับไป เฉกเช่นชีวิตของคนเราหรือสัตว์ทั้งหลาย ที่ตายไป ดับสิ้นไป ซึ่งเป็นไปได้เหมือนกัน ที่เหตุแห่งการสิ้นอายุขัยทั้งหลายมาพร้อมกันทีเดียว เช่น ทั้งสิ้นอายุขัยและอายุกรรม...

สิ่งที่น่าสนใจ.. คือ กรรมตัดรอน ที่เรียกว่า อุปฆาตกกรรม และกรรมที่บีบเค้นบีบคั้น (อุปปีฬกกรรม) ที่เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงอยู่ เพื่อการดำเนินไปของชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ที่ยังมี อายุขัย และ อายุกรรม อยู่.. ยากที่จะดำรงอยู่ได้อย่างปกติ เพราะอำนาจกรรมที่บีบเค้นและตัดรอนให้ อายุขัย และ อายุกรรม สิ้นไป..

ดังนั้น ความไม่ประมาท ในการใช้ชีวิตให้ครบสมบูรณ์อายุขัยและอายุกรรม.. จึงเป็นหลักธรรมปฏิบัติที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า “สังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา.. จงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท.. ทำประโยชน์ตน.. ประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมเถิด!”

หมายความว่า.. เกิดมาชาติหนึ่งนั้น.. ต้องเจ็บไข้ไม่สบาย แก่ ตาย แน่นอน.. ในช่วงชีวิตหนึ่งนั้นจึงควรให้ความสำคัญว่า เกิดมามีชีวิตหนึ่งเพื่ออะไร!?.. เพื่อนำไปสู่ความคิดที่ว่า อะไรคือสิ่งที่ควรกระทำ.. กระทำแล้วมีประโยชน์หรือไม่.. ประโยชน์นั้นเกิดมีสมบูรณ์ในตนหรือยัง.. ที่สำคัญ ประโยชน์นั้นเป็นประโยชน์แห่งธรรมหรือยัง.. การยังไม่ใช่ประโยชน์แห่งธรรม.. ก็เร่งรีบทำให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นที่พึ่งของตนแท้จริง...

ในระยะเวลาที่เคลื่อนไหว บ่งบอกระยะทางของการดำเนินชีวิต.. ที่ได้แจกแจงแสดงธรรมชาติของอายุขัยของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอยู่น้อยนิดนัก ภายใต้แรงกรรมที่บีบเค้นและทำลาย เพื่อให้แปรปรวนสิ้นไปในทุกขณะ จึงนำมาสู่หลักธรรมอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า อัปปมาทธรรม (ธรรมแห่งความไม่ประมาท) เพื่อการใช้ชีวิตอย่างไม่ขาด สติปัญญา จะได้รู้คุณค่าประโยชน์ในทุกขณะของการดำเนินชีวิตภายใต้ อายุขัย ที่ค่อยๆ หมดสิ้นไป.. เพื่อที่สุดต้องดับสิ้นไป.. ที่เรียกว่า  ความตาย ซึ่งสามารถตายลงได้ในทุกขณะ ทั้งที่เป็นไปตามปกติและไม่ปกติ ดังที่กล่าวมาว่า.. ตายเพราะสิ้นอายุขัย ตายเพราะสิ้นอายุกรรม.. และตายเพราะกรรมตัดรอน คือ อายุกรรมและอายุขัยของสัตว์ยังไม่สิ้น แต่สัตว์ตายไปก่อน เพราะมีกรรมอื่นที่เคยกระทำได้ติดตามมาให้ผล เพื่อบีบเค้นตัดรอน จึงเรียกการตายแบบนี้ว่า  อกาลมรณะ ดังเช่นในพวกตายโหงทั้งหลาย.. ส่วนพวกที่ตายเพราะสิ้นอายุขัย-อายุกรรม เรียกว่า.. ตายปกติ ตาม กาลมรณะ.. พวกนี้ ตายแก่ เป็นไปตามสภาพ

พระพุทธศาสนาของเรา.. รวมหลักธรรมคำสั่งสอนลงที่ ความตาย.. ความสิ้นไป.. ความดับไป.. เพื่อนำไปสู่การศึกษาที่ว่า อะไรทำให้เกิด.. และอะไรทำให้ตาย จะได้เห็นความเป็นจริงของวงจรธรรมชาติแห่งชีวิตว่า.. “ที่สุด ไม่มีอะไรเลย นอกจาก เกิด-ตาย หรือเกิด-ดับ, เกิด-ดับ, เกิด-ดับ...”

โดยสืบสาวค้นคว้าเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดชีวิต.. และเมื่อชีวิตดับไปเพราะอะไร.. อันเป็นปกติลักษณะของทุกชีวิต จึงพบกับสภาวธรรมที่ปรากฏอยู่ในวงจรชีวิต อันมีบทบาทต่อการเกิด-ดับ.. คือ วิถีจิต..

วิถีจิต.. จึงแสดงวงจรชีวิตหรือการดำเนินไปของชีวิต ที่ปรากฏ เกิด แก่ เจ็บ ตาย.. อัน ความเป็นจริงในธรรมชาติของชีวิตหรือวิถีจิตว่า.. มีปกติลักษณะการเกิด-ดับ.. ในทุกขณะจิต ที่ดำเนินไปตามกระแสให้เกิดความส่งต่อสืบเนื่อง โดยมีการอิงอาศัยในเหตุปัจจัยที่เป็นไปเพื่อการมีชีวิตในระยะเวลาหนึ่ง ที่เรียกว่า อายุขัยของชีวิต!

เมื่อแยกชีวิตออกไปเป็นรูป-นาม หรือกาย-จิต จึงเห็นชัดเจนในความสัมพันธ์ที่ประกอบกัน อิงอาศัยกัน เพื่อให้สิ่งหนึ่งดำเนินต่อไปได้ ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติที่แสดงความเกิด-ดับ แม้ตั้งอยู่ก็แปรปรวน-เสื่อมสิ้นพิบัติ... อันประกาศความเป็นจริงแท้ว่า.. ชีวิตนี้อนิจจัง!!

จึงนำมาสู่การศึกษาเรื่องของชีวิต.. ที่ลงลึกไปในธรรมชาติของชีวิต คือ ความเกิด-ดับ.. ที่ปรากฏลักษณะธรรมอันเป็นธรรมดาของธรรมชาติแห่งชีวิต.. และของทุกสรรพสิ่งที่รวมลงในความเป็น โลก ว่า ไม่เที่ยง ยากต้านทาน ไร้อัตตาเที่ยงแท้

การพิจารณาเห็นชีวิต.. ว่าสักแต่เป็นอย่างหนึ่งในธรรมชาติ.. ที่ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย.. ไร้อัตตาตัวตนบังคับบัญชา.. ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม.. จึงทำให้นำไปสู่ความเข้าใจในธรรมของชีวิตที่ปรากฏอยู่อย่างปกติในธรรมชาติ...

การศึกษาเรื่องชีวิต.. จนนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง.. ที่เป็นธรรมดา อันปรากฏมีอยู่ในธรรมชาติ.. จึงนำไปสู่การสร้าง สัมมาทิฏฐิ ให้กับสัตว์มนุษย์ที่มีวาสนาบารมี ได้โอกาสเข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา ที่มีข้อเรียนรู้ศึกษาปฏิบัติ.. เป็นไปเพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในธรรม.. เพื่อการเข้าถึงประโยชน์แห่งธรรมแท้จริง

ผู้มี สัมมาทิฏฐิ จากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงธรรม.. จึงเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกอย่างซื่อตรง แน่วแน่ ในการกระทำความเพียร.. เพื่อการพัฒนาชีวิตให้มีสติปัญญา.. ที่นำไปสู่ความรู้ชอบ ความเห็นชอบ.. เพื่อการปฏิบัติชอบ.. ใน กาย วาจา และใจ เพื่อการพัฒนาจิตให้หลุดพ้นจากอำนาจ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ.. เพื่อมุ่งสู่ความดับทุกข์ได้จริง.. ด้วยความรู้แจ้งในอริยสัจธรรม ๔ ประการ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และทรงแสดงไว้ดีแล้ว

ความไม่ประมาทในพระพุทธศาสนา จึงตรงกับความหมายของ การดำรงตนอย่างมีสติปัญญา.. และความเพียรชอบ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการถึงประโยชน์ตน สร้างประโยชน์ท่าน.. และสืบสานการเคารพประโยชน์แห่งธรรม.. ให้เป็นไปในโลกนี้สืบต่อไปตราบนานเท่านาน.. เพื่อทำหน้าที่ส่งต่อมรดกธรรมอันล้ำค่าให้กับมนุษยชาติรุ่นต่อๆ ไป.. และนี่คือ หน้าที่ของการเกิดมามีชีวิตในฐานของสัตว์ประเสริฐที่แท้จริง.. อันตรงตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาทุกประการ!!.

 

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)