สิ่งแวดล้อมกับโอกาสในเศรษฐกิจใหม่ : อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง

ช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านสำคัญปลายศตวรรษที่ 20 เข้าสู่ 21 ของโลก ที่ตื่นตัวถึงความมั่นคงโลกด้านสิ่งแวดล้อม จนได้จัดประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อม “เอิร์ธ ซัมมิต” ที่นครรีโอ เดอ จาเนโร เมื่อปี ค.ศ.1992 ซึ่งจากนั้นประชาคมโลกก็ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันจนก่อให้เกิดหลักการสำคัญในปฏิญญารีโอและแผนปฏิบัติการที่ 21 (AGENDA 21) กระตุ้นให้โลกมีส่วนร่วมดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกัน และทำให้เกิดข้อตกลงระหว่างกันหลายระดับทั้งทวิภาคี พหุภาคี รวมถึงสนธิสัญญาฉันทามติด้านสิ่งแวดล้อม-การดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมากมาย มาวันนี้ได้ปรับตัวสู่เค้าโครงเศรษฐกิจ BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่-เศรษฐกิจสีเขียว ฯลฯ ล่าสุดประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate change) ตามข้อตกลงปารีส ได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นกรอบปฏิบัติการสำคัญในการจัดการเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่โลกตะวันตกนำมาต่อกรกับจีนอย่างมีนัยสำคัญ

การรับมือความเคลื่อนไหว-การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจฐานสิ่งแวดล้อมในช่วงรอยต่อ ศตวรรษที่ 20-21 นี้ สร้างความตื่นตัวขึ้นทุกมิติ ทั้งการจัดการแรงงาน การพัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรม การผลิต-การบริการ การปรับฐานอุตสาหกรรมและการปรับมาตรฐานใหม่ทางเศรษฐกิจหลายมิติ  ที่มุ่งสร้างความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจที่มีต่อสิ่งแวดล้อม-การใช้ทรัพยากร ทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 21 ของโลกพลิกโฉมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ตามประกาศของ เวิลด์ อีโคโนมิกส์ ฟอรั่ม ที่โลกทั้งใบได้จัดปรับสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และสร้างโอกาสความเสมอภาคเท่าเทียมกันให้กับผู้คน โดยพึ่งพาความก้าวหน้าของนวัตกรรม เทคโนโลยี การสื่อสารยุคใหม่ การจัดการการผลิตการบริการ และระบบโลจิสติกส์ใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสังคมเศรษฐกิจไทยก็เป็นส่วนหนึ่งในคลื่นการปรับสร้างตัวครั้งนี้!

เมื่อพูดถึงเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราคงต้องตระหนักถึงปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากหลายภาคส่วนด้วยกัน โดยสรุปในปี 2561 ปีที่เศรษฐกิจปกติประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 263.4 ล้านตัน ปี 2563 ที่เกิดปัญหาวิกฤตการณ์โควิดระบาด เราปล่อยก๊าซเรือนกระจก 224.3 ล้านตัน เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมมากพอสมควร ผลรวมการปล่อยก๊าซมาจากการผลิตไฟฟ้าร้อยละ 40 จากการขนส่งร้อยละ 25 จากอุตสาหกรรมร้อยละ 29 และส่วนอื่นๆ ร้อยละ 6 เป็นภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยที่คล้ายกับหลายประเทศในโลกนี้ จนมีการแสวงหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าในเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจสีเขียวมากขึ้น รวมทั้งการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ในหลายกลุ่มที่เรียกว่า Circular Economy

ประเทศไทยตื่นตัวในการปรับตัวสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าจากธรรมชาติ ที่เป็นพลังงานที่หมุนเวียนไม่จบสิ้นทั้งจากพลังแสงอาทิตย์ พลังน้ำ พลังลม โดยส่วนใหญ่มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขยายตัวมากขึ้น ส่วนการจัดการด้านอุตสาหกรรมจะพบว่า เขต EEC มีทิศทางชัดเจนที่มุ่งสู่เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 4.0 ที่มุ่งประหยัดพลังงาน-ใช้พลังงานสะอาด-เพิ่มศักยภาพการผลิต รวมทั้งมีการพัฒนาในการใช้หุ่นยนต์และกลไกอัตโนมัติในงานที่อันตราย-น่าเบื่อหน่ายแทนการใช้มนุษย์ การปรับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ช่วยลดการใช้ทรัพยากรลงกว่าร้อยละ 30 หมายถึงการลดต้นทุนและการปรับระบบการผลิต-บริการให้เข้าสู่ความก้าวหน้าใหม่ ขณะเดียวกันก็แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากโลกเก่าลง พร้อมกับมีการปรับสร้างมาตรฐานใหม่ทั้งมาตรฐานการผลิต มาตรฐานสินค้า-บริการ ที่เพิ่มศักยภาพการแข่งขันอีกด้วย นี่คือการตื่นตัวสร้างความก้าวหน้าใหม่ของไทยโดยรวม

เมื่อพิจารณาถึง “อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง” (EV conversion) นับเป็นโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทยวันนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเป็นแกนนำสำคัญช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญ ประเทศไทยไม่มีกฎหมายกำหนดอายุการใช้งานของยานยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาล! เรามีรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในปัจจุบันราว 21.6 4 ล้านคัน เป็นรถส่วนบุคคลและรถกระบะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแท็กซี่ และอื่นๆ รวมกันราว 2.6 ล้านคัน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์จึงเป็นปัญหาสำคัญยิ่ง!

แน่นอนว่าการนำเข้า-การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เป็นโอกาสสำคัญของเศรษฐกิจยุคใหม่ แต่การจัดการปัญหาโลกร้อน-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงแบบเดิมจากรถกว่า 21 ล้านคันที่มีอยู่นั้นนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเป็นต้นเหตุสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงไม่ว่าจะรถ เรือ หรืออื่นๆ ล้วนเป็นโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ ที่สร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และช่วยสร้างงานให้ผู้คนในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งห่วงโซ่ ตั้งแต่อู่รถยนต์จนถึงกลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีอยู่มากมาย ให้สามารถปรับตัว-สร้างงานใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ แทนการถูกทำลายล้างจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้!

อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเป็นโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของยุคสมัย ที่แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สร้างงานให้กับผู้คน สร้างการปรับตัวครั้งใหญ่สู่โหมดเศรษฐกิจสำคัญของโลกในกลุ่ม BCG ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจทรัพยากรหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่-เศรษฐกิจสีเขียว อุตสาหกรรมกลุ่มนี้จะสร้างเศรษฐกิจใหม่ จากการลดหนี้ครัวเรือนลงได้กว่า 2-6 ล้านล้านบาท และเมื่อปรับสู่โอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ จะมีการจ้างงานนับแสนคน-สร้างเศรษฐกิจใหม่มูลค่าสูงนับล้านล้านบาท ไม่รวมผลพวงด้านสิ่งแวดล้อม และการยอมรับจากประชาคมโลกในมิติภูมิเศรษฐกิจใหม่ ในขณะเดียวกัน นี่คือมูลเหตุสำคัญที่ต้องเร่งสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตแผ่กิ่งก้านและเป็นผู้นำในอาเซียน ซึ่งทั้งนี้ต้องได้รับการดูแลใส่ใจ-สนับสนุนจากภาครัฐอย่างดี เพื่อการสร้างโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่อเลื่อนประชามติ รอแก้กฎหมาย ร่างรธน.ฉบับใหม่ ต้องไม่จุดไฟความขัดแย้ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานของ”คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ

บทธรรมดับโลกร้อน .. ที่นักปกครองต้องอ่าน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. โลกกำลังเข้าสู่ห้วงธรรมวิกฤต.. ที่มนุษยชาติประพฤติตนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภที่รุนแรงและราคะความกำหนัดที่ผิดธรรม .. เป็นส่วนใหญ่

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..