จากปีที่ 1 ถึงปีที่ 91 ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง: ต้นแบบการสืบทอดอำนาจในรัฐธรรมนูญไทย ที่ให้ ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ตอนที่สอง)

 

จากตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นแล้วว่า รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของไทย คือ ต้นแบบของการออกแบบให้ ส.ว. (สภาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่มาจาการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี) มีอำนาจในการเลือกคณะรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่ง  แต่เริ่มต้นที่มาของสมาชิกสภาประเภทที่ 2  คือมาจากการคัดสรรโดยคณะรัฐมนตรี  และกำเนิดสมาชิกสภาประเภทที่ 2  ครั้งแรกก็มาจากการคัดสรรโดยคณะรัฐมนตรี

สมาชิกประเภทที่ 2 นี้มีวาระไม่เหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 ที่มีวาระ 4 ปีหรือหมดวาระเมื่อมีการยุบสภา เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างเวลาที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ราชกิจานุเบกษา เล่ม 49 วันที่ 21 ธันวาคม 2475 หน้า 554 กำหนดในมาตรา 47  ให้ “....สมาชิกประเภทที่ 2 นี้ ท่านให้อยู่ในตำแหน่งตลอดวาระที่ใช้บทเฉพาะกาลแห่งรัฐธรรมนูญ”   นั่นคือ ดำรงตำแหน่งนานตราบเท่าที่ยังมีการใช้บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 [1]

ในปลายปี พ.ศ. 2476 กระบวนการการสืบทอดอำนาจตามกลไกในรัฐธรรมนูญก็ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก  จะพบว่า  คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 จำนวน 13 คนได้เลือกตัวเองและบุคคลอื่นๆเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สองที่มีอำนาจในการเลือกคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ส่งผลให้ รัฐมนตรีในคณะที่ 4 จำนวน 13 คนสืบทอดอำนาจตัวเองเป็นรัฐมนตรีต่อในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ถึง 12 คน

กล่าวได้ว่า กลไกการสืบทอดอำนาจนี้ก็คือ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4  ที่เลือกตัวเองให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาประเภทที่ 2  นอกเหนือจากเลือกบุคคลอื่นๆแล้ว  และต่อมา สมาชิกสภาประเภทที่ 2 ชุดนี้ก็ได้ลงมติรับรองตัวเองให้ดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476  และสิ้นสุดลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 เพราะสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบที่รัฐบาลกับความตกลงระหว่างประเทศ เรื่องควบคุมการจำกัดยาง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะจึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง จากนั้น วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการลงมติไว้วางใจ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 อย่างเป็นเอกฉันท์ [2]

โดยบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 [3] ได้แก่

1. พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)  นายกรัฐมนตรี  2. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 3. พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 5. พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ 6. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 7. พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 8. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง 9. นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ 10. พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์) รัฐมนตรี 11. นายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) รัฐมนตรี 12. หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูทะเตมีย์) รัฐมนตรี 13. นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) รัฐมนตรี 14. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) รัฐมนตรี 15. นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส) รัฐมนตรี 16. นาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) รัฐมนตรี 17. ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอาง สุคนธวิท) รัฐมนตรี 18. พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)  รัฐมนตรี

จากรายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 ข้างต้น พบว่า แตกต่างไปจากคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5  สี่ชื่อ โดยมีการปรับออก 4 คน คือ  1. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง2. พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ   3. พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ้ย สมันตรัฐ หรือ บินอับดุลลาห์) รัฐมนตรี

โดยในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 ตัวนายกรัฐมนตรี พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ดำรงตำแหน่งกระทรวงการต่างประเทศแทนพระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) อีกตำแหน่ง และให้พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา)  ที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแทนเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) [4]

และมีการบุคคลตั้งเข้ามาใหม่ 3 คน คือ คนแรก นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)   และให้ดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการแทนพระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร ) และอีกสองคนคือ ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอาง สุคนธวิท) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีทั้งสามคนนี้ นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) เป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาประเภทที่ 2 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 [5] ส่วนขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) เป็น สมาชิกสภาประเภทที่ 1 ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 1 ได้รับเลือกตั้งทางอ้อมให้เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ส่วนขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอาง สุคนธวิท) เป็นสมาชิกสภาประเภทที่ 1 ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 1 ได้รับเลือกตั้งทางอ้อมให้เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร

หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 ได้มีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี  จนสุดท้ายก่อนคณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง มีรายนามดังต่อไปนี้ [6]    1. พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)นายกรัฐมนตรี 2. พันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 3. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ 4. นาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 5. พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 6. พันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ 7. พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ8. พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 9. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)         รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 10. พันเอก พระยาฤทธิอัคเณย์ (สละ เอมะศิริ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ 11. เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  12. นาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ 13. พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์) รัฐมนตรี 14. นาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) รัฐมนตรี  15. ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอาง สุคนธวิท) รัฐมนตรี 16. พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ้ย สมันตรัฐ หรือ บินอับดุลลาห์) รัฐมนตรี 17. หลวงโกวิทยอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) รัฐมนตรี 18. พระดุลธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์) รัฐมนตรี 19. หลวงนาถนิติธาดา (เคลือบ บุศยนาค)  รัฐมนตรี 20. นาวาเอก พระยาวิจารณจักรกิจ (บุญชัย หรือ บุญรอด สวาทะสุข) รัฐมนตรี      21. พันเอก พระยาอภัยสงคราม (จอน โชติดิลก) รัฐมนตรี  22. นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ) รัฐมนตรี 23. พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) เป็นรัฐมนตรี         

สาเหตุที่คณะรัฐมนตรีชุดนี้ต้องสิ้นสุดลง เพราะเหตุที่นายเลียง ไชยกาล ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับการขายที่ดินของพระคลังข้างที่ให้แก่บุคคลบางคน และต่อจากนั้นนายไต๋ ปาณิกบุตร ผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ก็ได้เสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปในนโยบายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้อภิปรายกันจนหมดเวลา และได้เลื่อนไปอภิปรายในวันต่อไป แต่นายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายได้สอบสวนตามความชอบธรรมและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะก็ขอลาออกด้วย  โดยลาออกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2480 [7]

จากนั้น สภาผู้แทนราษฎรได้มีการรับรองคณะรัฐมนตรีคณะใหม่ นั่นคือ คณะที่ 7 อันประกอบไปด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

1. พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ 2.  พันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 3. พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 4. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 5. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 6. นาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. (สินธุ์ กมลนาวิน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ  7. นาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ร.น. (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 8. เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  9. พันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ 10. พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ  11. หลวงนาถนิติธาดา (เคลือบ บุศยนาค) รัฐมนตรี 12. นาวาเอก พระยาวิจารณจักรกิจ (บุญชัย หรือ บุญรอด สวาทะสุข) รัฐมนตรี 13. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) รัฐมนตรี 14. นาวาเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ (มุนี มหาสันทนะ) รัฐมนตรี   15. พระยาศรีเสนา (ฮะ สมบัติศิริ) รัฐมนตรี 16. นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) รัฐมนตรี  17. พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ้ย สมันตรัฐ หรือ บินอับดุลลาห์) รัฐมนตรี 18. พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์) รัฐมนตรี 19. ขุนสุคนธวิทศึกษากร (สำอาง สุคนธวิท) รัฐมนตรี 20. พันเอก พระยาอภัยสงคราม (จอน โชติดิลก) รัฐมนตรี [8]

เมื่อเปรียบเทียบรายนามของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 และคณะที่ 7 จะพบว่ารัฐมนตรีในคณะที่ 7 จำนวน 19 คนมาจากคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 ที่มีรัฐมนตรี 20 คน  รัฐมนตรีในคณะที่ 6 ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งต่อคือ พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) และที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกคือ หลวงวิจิตรวาทการ ผู้เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่แต่งตั้งครั้งแรกในวันที่ 9 ธันวาคม 2476 และได้ ณ ขณะที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เขายังได้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2477 [9]            

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 นี้มีชื่อซ้ำกับคณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 ที่เป็นคณะรัฐมนตรีที่แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เป็นจำนวน 6 คน ได้แก่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)  พันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)  หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) นาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. (สินธุ์ กมลนาวิน)  นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) และ นาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ร.น. (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)

และในจำนวนทั้ง 6 คนนี้ มี 3 คนได้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ยุติบทบาททางการเมืองในปี พ.ศ. 2481 แล้ว คนแรก คือ พันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)  (พ.ศ. 2481-2487 และ 2491-2500) ต่อมาคือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) (24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489) และ นาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ร.น. (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) (23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)

ภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)  ได้เป็นนายกรัฐมนตรียาวนานถึง 6 ปีระหว่าง พ.ศ. 2481-2487

นอกจากสามในหกชื่อข้างต้นจะได้เป็นายกรัฐมนตรีแล้ว หนึ่งในนั้นยังได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นั่นคือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) (16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488) และภายใต้รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  มาตรา 10  การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กระทำผ่านการลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎร อันประกอบได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และประเภทที่ 1 [10]


[1] https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/529.PDF

[2] ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองประเภทแม้แต่คนเดียวที่ยกมือคัดค้านhttps://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

[3] https://www.soc.go.th/?page_id=5760

[4] https://www.soc.go.th/?page_id=5760

[5] https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

[6] https://www.soc.go.th/?page_id=5760

[7] https://www.soc.go.th/?page_id=5760

[8] https://www.soc.go.th/?page_id=5764

[9] https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=1098389

[10] https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/529.PDF

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อรรถกร' รับกรอกประวัติแล้ว แต่ไม่รู้นั่ง รมช.เกษตรฯ มั่นใจ 'ธรรมนัส' ให้คำปรึกษาได้

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เปิดเผยถึงกระแสข่าวถูกส่งชื่อเสนอเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งนี้ ว่า ตนไม่ทราบ แต่ว่าได้มีการกรอกประวัติไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมทำหน้าที่

'จุรินทร์' ชี้ดิจิทัลวอลเล็ตยังคลุมเครือ เหมือนเดินบนเส้นด้าย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะทันไตรมาส 4 ตามที่รัฐบาลประกาศหรือไม่ว่า สถานการณ์วันนี้เหมือนย้อนกลับไปในจุดที่เหมือนประกาศว่าจะ

'จุรินทร์' แขวะเห็นใจนายกฯปรับครม. ต้องให้คนนอกรัฐบาลดูก่อน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับครม.เศรษฐา 1/1ว่า เรื่องนี้ตนยังตอบไม่ได้ เพราะ