ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง

การเติบโตของดิจิทัลทำให้การใช้บริการแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้า ด้านความบันเทิง ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. รายงานว่า ในปี 2564 ผู้ให้บริกา OTT หรือ Over-the-Top หรือบริการที่ให้เราสามารถรับชมภาพยนตร์, ซีรีส์, Content ต่างๆ ผ่านทางแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตมีทั้งรูปแบบที่จ่ายค่าบริการรายเดือน รายปี ทุกประเภทในไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น 8 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงแรกของการเข้ามาทำตลาดไทยปี 2557

โดยเฉพาะในกลุ่มบริการประเภท Subscription Video on Demand (SVoD) ที่เก็บค่าสมาชิก อย่างเช่น Netflix, Disney Plus, Amazon Prime Video มีสมาชิกมากถึง 13.29 ล้านบัญชี

สอดคล้องกับ Statista Advertising and Media Outlook ประเมินว่า มูลค่าตลาด OTT ของประเทศไทยจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่องและจะเพิ่มถึงประมาณ 877 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 ขณะที่จำนวนผู้ใช้บริการ OTT ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านรายในปี 2566

นอกจากนี้ ผลสำรวจทิศทางอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงทั่วโลกระหว่างปี 2562-2566 หรือ Global Entertainment and Media Outlook 2019-2023 ของ บริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ หรือ พีดับบลิวซี หรือ PwC ยังพบว่า มูลค่าการใช้จ่ายผ่านสื่อและบันเทิงในประเทศไทยจะเติบโตเฉลี่ยต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 5.05% โดยเฉพาะความต้องการเสพสื่อและบันเทิงแบบส่วนบุคคลจะยิ่งมากขึ้น ทั้งการเข้ามาของ 5G จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคหันไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น Pwc คาดว่าบริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตจะเติบโตเร็วที่สุด โดยจะโตกว่า 2 เท่าในปี 2566 เป็น 6.08 พันล้านบาท คิดเป็นการเติบโตต่อปีที่ 16.64% จากปี 2561 อยู่ที่ 2.81 พันล้านบาท

ดังนั้น ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในปัจจุบันต้องประสบภาวะที่ยากต่อการแข่งขันกับผู้เล่นดิจิทัล ซึ่งมีด้วยกัน 9 ข้อ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนต้องนำไปคิดทบทวนและหาทางออกประกอบ ด้วย 1.ค่าใบอนุญาตค่าคลื่นที่ผู้ให้บริการเดิมต้องจ่าย แต่ผู้ให้บริการในรูปแบบดิจิทัลจากต่างประเทศไม่ต้องจ่าย เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก Skype เป็นต้น 2.ผู้เล่นโทรคมนาคมในปัจจุบันต้องเสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในขณะที่ผู้ให้บริการดิจิทัลส่วนใหญ่มีสำนักงานอยู่ต่างประเทศ นอกจากไม่ต้องจ่ายภาษีแล้ว ยังไม่ต้องเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศไทย

3.การใช้งานดาต้าที่เพิ่มมากขึ้น ลูกค้าจ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าดาต้าเท่าเดิม และมี กสทช.ควบคุมราคา ในขณะที่บริษัทดิจิทัลไม่มีหน่วยงานรัฐควบคุม และไม่ต้องจ่ายค่าการใช้ดาต้าให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมเดิม 4.อุปกรณ์มือถือรุ่นใหม่รวมถึงแอปพลิเคชันไลน์ เฟซบุ๊ก มีการปิดกั้นข้อมูลผู้ใช้งาน ทำให้บริษัทโทรคมนาคมเดิมรู้จักลูกค้าน้อยลง

5.ผู้เล่นดิจิทัลจากต่างประเทศเตรียมเปิดให้บริการโทรศัพท์ไร้ซิมในอีกไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า ทำให้การโทร.ออกทั้งหมดผ่านดาต้า และทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ ทำให้ทั้งเอไอเอส ทรู และดีแทคต้องหันมาให้บริการโทร.ผ่านดาต้าแข่งกับไลน์ มิเช่นนั้นรายได้ค่าโทร.จะลดลงอย่างมาก

6.การเข้ามาของโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมซึ่งไม่ได้ใช้เครือข่ายสัญญานมือถือเดิม ล่าสุด SpaceX ได้ทดลองให้บริการสื่อสารที่ฟิลิปปินส์ โดยฟิลิปปินส์มีอัตราผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต 74 ล้านคน และมีอัตราผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยจะมีการยิงดาวเทียมจากทั่วโลก ทำให้ผู้เล่นเดิมมีโอกาสหลุดออกจากธุรกิจจากการ Disruption ดังนั้นต้องสนับสนุนให้บริษัทโทรคมนาคมไทยปรับตัว ไม่ใช่ควบคุมให้ทำธุรกิจแบบเดิม

7.โทรคมนาคมไทยมีเพียงเอไอเอสที่ทำกำไรต่อปีสูงพอที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อแข่งขันกับผู้เล่นดิจิทัล ในขณะที่ผู้เล่นที่เหลือในอุตสาหกรรมมีกำไรไม่เพียงพอที่จะลงทุนเพิ่ม ดังนั้นการควบรวมและปรับโครงสร้างจะเป็นการลดต้นทุนที่ซ้ำซ้อน เพิ่มจำนวนเครือข่ายให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีขึ้น และมีความสามารถทัดเทียมในการแข่งขัน ซึ่งจะเกิดผลดีกับลูกค้ามากกว่าการมีผู้นำเดี่ยวเพียง 1 ราย

8.ผู้เล่นดิจิทัลมีลักษณะการดำเนินธุรกิจแบบ Start Up ปรับตัวง่ายและเร็วกว่า สามารถเพิ่มทุน ลงทุน ควบรวมได้โดยไม่มีการถูกบังคับ ในขณะที่ผู้เล่นในโทรคมนาคมเดิม กฎระเบียบภาครัฐที่ขาดความชัดเจน ในขณะที่กฎหมายเดียวกัน CAT และ TOT ควบรวมกิจการเกิดเป็นบริษัท NT ทำให้ในอนาคตจะยิ่งเหลือผู้เล่นน้อยราย โดยเฉพาะหากทรูและดีแทคไม่สามารถควบรวมสำเร็จ

9.รูปแบบการให้บริการสมัยใหม่ที่จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือเป็นรายเดือน ทำให้แบรนด์โทรศัพท์มือถือจะเก็บเงินลูกค้าแบบ subscription และมีบทบาทในการดูแลลูกค้าแทนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแบบเดิม ทั้งยังมีรูปแบบธุรกิจที่หลากหลายกว่าโดยไม่ถูกควบคุม

ทั้งหมดนี้คือ 9 เหตุผลที่หากธุรกิจในอุตสาหกรรมเดิมไม่ปรับตัวก็ยากที่จะแข่งขันกับผู้เล่นดิจิทัลจากบริษัทชั้นนำระดับโลก ประเทศไทยจะเป็นเมืองขึ้นทางเทคโนโลยี ซึ่งหน่วงยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจัง หาใช่การกำกับเพื่อให้รายใดรายหนึ่งเป็นผู้นำเดี่ยวในตลาด.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา