“เงินเฟ้อพุ่ง”ดันสินค้าขึ้นยกแผง

 “ค่าครองชีพ” เป็นปัญหาที่กำลังส่งผลกระทบกับประชาชนอยู่ในขณะนี้ หลังจากราคาสินค้าส่วนใหญ่มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งปัญหานี้ซ้ำเติมประชาชนที่ยังคงบอบช้ำจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อยาวนานมาตั้งแต่ปี 2563 ทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชนยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

 “กระทรวงพาณิชย์” ได้รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย หรือเงินเฟ้อทั่วไป ในเดือน มี.ค.2565 อยู่ที่ 104.79 สูงขึ้น 5.73% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากสินค้าและบริการในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุน ทั้งราคาพลังงาน วัตถุดิบที่นำเข้า และค่าขนส่ง ส่วนหนึ่งมาจากการคว่ำบาตรของสหรัฐและพันธมิตร ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบรุนแรง เพราะต้นทุนทางเศรษฐกิจมีความเปราะบาง

 “ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้ออยู่ที่ 5.73% ยังคงเป็นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่สูงขึ้น 32.43% โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้น 31.43% และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 39.95% ซึ่งเป็นไปตามราคาพลังงานในตลาดโลก สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ ทั้งหมูและไก่สด ไข่ไก่ ผักสดบางชนิด เครื่องประกอบอาหารและอาหารสำเร็จรูป ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ รวมทั้งฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับต่ำมีส่วนทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น”

ขณะที่ “ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)” ก่อนหน้านี้ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง เพื่อชี้แจงการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าสูงกว่าขอบบนของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2565 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า (ไตรมาส 2/2565 ถึงไตรมาส 1/2566) จะอยู่ที่ 4.1% ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงินในปัจจุบัน โดยในปี 2565 ได้กำหนดกรอบอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง 1-3%

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงกว่า 5% ในช่วงไตรมาส 2 และ 3/2565 ก่อนจะปรับลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และกลับมาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเป้าหมายตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566 โดยการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาส 2 และ 3 นั้น สะท้อนจากฐานที่ต่ำของราคาน้ำมันและมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของภาครัฐในปี 2564 ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีสูงขึ้น แม้ระดับราคาไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากก็ตาม โดยอัตราเงินเฟ้อจะทยอยลดลงในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และแม้ว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อจะยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีโอกาสสูงกว่าที่ประเมินไว้ แต่โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 จะสูงกว่ากรอบเป้าหมายมีไม่มาก

ด้าน “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ระบุว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือน มี.ค.2565 ขยับลงมาอยู่ที่ 33.4 จาก 33.9 ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา สะท้อนว่าครัวเรือนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับระดับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงราคาพลังงาน สาธารณูปโภค และบริการพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซ ไฟฟ้า น้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าโดยสาร ซึ่งสะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค. ที่พุ่งสูงต่อเนื่องที่ระดับ 5.73%

ซึ่งจากราคาสินค้าที่มีแนวโน้มจะอยู่ระดับสูงต่อเนื่อง แต่สถานการณ์การจ้างงานยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ครัวเรือนส่วนใหญ่ต้องการมาตรการตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาระการครองชีพที่เกิดขึ้น

โดยในระยะข้างหน้า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากสถานการณ์สินค้าาราคาสูง โดยภาครัฐจะสิ้นสุดมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลหลังสิ้นเดือน เม.ย.2565 ขณะที่ราคาก๊าซและค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากนี้จึงอาจจะเริ่มเห็นการส่งผ่านต้นทุนจากผู้ประกอบการสู่ผู้บริโภคมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มพุ่งสูงเหนือระดับ 25,000 รายต่อวัน (ไม่รวม ATK) ขณะที่ยังต้องติดตามในช่วงหลังเทศกาลที่กระทรวงสาธารณสุขคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อมีโอกาสเพิ่มขึ้นราว 50,000-100,000 รายต่อวัน.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

อวดชาวโลกสีสันสงกรานต์2567

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ประชาชนส่วนใหญ่นิยมเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด และเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่กรุงเทพมหานครก็ได้จัดกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมเชิญชวนชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567” บริเวณถนนราชดำเนินกลางและท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 11–15 เมษายนนี้

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด